บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 และ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 เรื่องของการกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการและจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาต มีหน้าที่ให้บริการระบบบำบัดน้ำเสีย โดยการออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ได้คุณภาพน้ำเสียตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงแก้ไขปัญหาระบบน้ำเสียทีมีอยู่เดิม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้ตามมาตรฐานรวมถึงการให้คำปรึกษาและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการน้ำเสียโดยเฉพาะ มีหน้าที่บริการระบบบำบัดกำจัดมลพิษทางอากาศ ออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดอากาศ ท่ออากาศ เพื่อบำบัดฝุ่น โลหะหนัก สารอินทรีย์ระเหยง่าย กลิ่นกากจากอุตสาหกรรมอาหาร กลิ่นเหม็นต่างๆ ควันจากการเผาไหม้ ในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการอื่นๆ โดยออกแบบตามความเหมาะสมของมลภาวะอากาศนั้นๆ มีหน้าที่ให้บริการระบบน้ำใช้ภายในโรงงานและระบบน้ำดื่ม ด้วยการออกแบบและติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น […]

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย เห็นได้ว่า พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined Apace ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ปิดเท่านั้น แต่จะคำนึงถึงสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปเป็นสำคัญ ซึ่งหากพื้นที่ไหนที่พิจารณาแล้วว่าเป็นพื้นที่อับอากาศก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน เพราะถ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศที่ทางเข้าออกมีจำกัดมักส่งผลให้การช่วยเหลือทำได้ยากและลำบาก สิ่งที่ควรรู้ของอันตรายในพื้นที่อับอากาศ มีอะไรบ้าง อันตรายทั้งหมดที่พบในพื้นที่ทำงานปกติสามารถพบได้ในพื้นที่อับอากาศ แต่ก็สามารถอาจเป็นอันตรายได้มากกว่าหากเกิดในพื้นที่อับอากาศเมื่อเทียบกับสถานที่ในการทำงานทั่วไป ซึ่งอันตรายในพื้นที่อับอากาศอาจรวมถึง *คุณภาพอากาศที่ไม่ดี มีออกซิเจนไม่เพียงพอให้คนทำงานหายใจไม่สะดวก และบรรยากาศอาจมีสารพิษที่ทำให้ป่วย หมดสติได้ *อันตรายจากสารที่ทำให้หายใจไม่ออก คือก๊าซที่มีความเข้มข้นมากจนเคลื่อนย้ายออกซิเจนไปในอากาศ ทำให้ระดับออกซิเจนต่ำลง ซึ่งส่งผลให้คนทำงานหัวใจเต้นเร็ว อ่อนล้า เหนื่อยง่าย คลื่นไส้ อาเจียนและอาจหมดสติในที่สุด *การสัมผัสสารเคมีทางผิวหนังหรือการสูดดมอากาศที่ไม่ดีเข้าไป *อันตรายจากไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดจากของเหลวและฝุ่นที่ติดไฟง่าย ทำให้เกิดการระเบิดได้ […]

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ 3 ปี นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม อาจไม่พิจารณาต่อทะเบียนให้ ถ้าตรวจสอบพบข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขอต่อใบอายุใบทะเบียน 5. ผู้ที่สอบไม่ผ่านสามารถสมัครสอบได้ในครั้งต่อไป 6. ขั้นตอนของผู้ที่สอบผ่านการสอบมาตรฐานประเภทนั้นๆ สามารถขึ้นทะเบียนได้ตามขั้นตอนดังนี้             *เข้าไปที่ เว็ปไซด์  ประกาศรับสมัครสอบ http://nsers.diw.go.th/Nsers             *เลือกสมัครสอบทาง Internet และ Print ใบสมัครสอบ             *ส่งหลักฐานการสมัครสอบ และสำเนาเอกสารการชำระเงิน จากทางธนาคารส่งไปยัง  “ ตู้ ปณ.101 ที่ทำการไปรษณีย์เขตจตุจักร […]

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

EIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องส่งภายในเดือนกรกฎาคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน) และครั้งที 2 ต้องส่งภายในเดือนมกราคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมของปีก่อน) วัตถุประสงค์ของการจัดทำ EIA Monitoring เพื่อให้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมตามที่มีกำหนดเอาไว้ในรายงาน EIA ของแต่ละโครงการ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนั้นจึงนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ เพื่อติดตามและประเมินแนวโน้มถึงสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากที่โครงการพัฒนาหรือดำเนินการ เพื่อประเมินความเหมาะสมของมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับนำไ ปใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการต่อผู้ใช้บริการภายในโครงการ หรือชุมชนในบริเวณใกล้เคียงได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของโครงการเพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากดำเนินโครงการที่มีต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งปัญหาการร้องเรียนต่าง ๆ กรณีไม่ปฏิบัติหรือไม่ส่งรายงาน EIA Monitoring จะเป็นอย่างไร […]

การจัดการขยะอันตรายสำคัญอย่างไร

ขยะอันตราย

ขยะอันตราย หรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะใดที่ถือเป็นขยะอันตราย สังเกตฉลาก หรือภาพสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ เช่นสารไวไฟ จะแสดงบนภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ ผงกำมะถัน ข้อความว่าสารมีพิษ จะแสดงบนภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำยาล้างห้องน้ำ สารฆ่าแมลง สารปรอทที่อยู่ในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ข้อความสารกัดกร่อน จะแสดงบนภาชนะบรรจุน้ำกรดสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ หรือภาชนะบรรจุน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สังเกตคำเตือน สินค้าสารเคมีหลายชนิดที่ระบุเอาไว้ข้างภาชนะบรรจุ เช่นห้ามรับประทาน ห้ามเผา สารอันตราย เป็นต้น ตัวอย่างขยะอันตรายในชีวิตประจำวัน ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุ กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เป็นสารกัดกร่อนและมีความเป็นพิษ […]

การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำที่จำเป็นตามกฎหมาย

วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ                น้ำคือองค์ประกอบสำคัญที่มนุษย์ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการดื่มกินเพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งต้องมีความสะอาดและปลอดภัยต่อมนุษย์ในการดื่มโดยไม่ทำให้เกิดโรค หรือทำให้ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณภาพน้ำดื่มที่ดียังต้องไม่มีสี กลิ่น หรือรส และน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าวัฎจักรของน้ำในโลกจะสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่บางครั้งน้ำก็เกิดการปนเปื้อนจากโลหะ สิ่งสกปรก หรือมีออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ จำเป็นต้องผ่านการบำบัดอย่างเหมาะสมทั้งการเติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน หรือการกระตุ้นให้เกิดการตกตะกอนของสิ่งสกปรก เป็นต้น จำเป็นต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำก่อนนำมาใช้งานเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเกิดความเชื้อมั่นว่าน้ำที่นำมาบริโภคหรือใช้งานมีคุณภาพที่ดีเพียงพอ ซึ่งนอกจากน้ำใช้และน้ำบริโภคแล้ว น้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ และกิจกรรมต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อกำหนดมาตรการการบำบัดที่เหมาะสมเอาไว้ด้วย การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ มีประโยชน์ที่สำคัญ คือ การตรวจสอบจะช่วยบ่งบอกถึงความเหมาะสม และความปลอดภัยของการนำน้ำมาใช้งาน และบริโภค ทั้งสี ความขุ่น ค่าความกระด้าง ค่า pH ค่าออกซิเจน ค่าความเค็ม เหล็ก แมงกานีส คลอรีน หรือสารที่มีความเป็นพิษต่ำ ตรวจเพื่อบ่งบอกถึงการปนเปื้อนของมลพิษชนิดต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย สารแอมโมเนีย […]

ความสำคัญในการกำจัดกากอุตสาหกรรม

กำจัดกากอุตสาหกรรม

กากอุตสาหกรรมมีหลายประเภททั้งชนิดที่ไม่มีอันตรายอย่างกากอาหาร หรือเศษไม้ต่างๆ ซึ่งสามารถจัดการด้วยวิธีการทั่วไป แต่ชนิดที่ต้องได้รับการจัดการเป็นพิเศษคือกากอุตสาหกรรมอันตราย (Hazardous waste) หรือของเสียที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสารที่ทำให้เกิดอันตราย หรือมีลักษณะเป็นสารเคมีอันตราย จำเป็นต้องดำเนินการกำจัดกากอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างเหมาะสม ได้แก่ การกำจัดกากอุตสาหกรรม สารไวไฟ หรือน้ำมันประเภทต่าง ๆ (Ignitable substances) เป็นกากอุตสาหกรรมที่มีน้ำมันเตา กากน้ำมัน น้ำมันปนเปื้อน น้ำมันที่ใช้งานแล้ว น้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้ว สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive Substances) เช่น กรดที่ผ่านการใช้งานแล้ว กรดที่เสื่อมสภาพ น้ำมันผสมกรด สารที่ทำปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive Substances) เช่นกากปูนขาว ของเสียที่มีลักษณะเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ สารพิษ (Toxic Substances) เช่นสีย้อมที่มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ ของเสียที่มีสารประกอบซัลไฟด์ สารที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่นของเสียที่มีส่วนประกอบของสารละลายจากโลหะหนัก แบตเตอร์รี่ชนิดที่ใช้ตะกั่ว นิเกิล แคดเมียม และอุปกรณ์ที่มีปรอทเป็นส่วนประกอบ การกำจัดกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย                กากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย เช่น กระดาษ, เศษเหล็ก ของเสียที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่ากากของเสียอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม แต่หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง จนเกิดการสะสมเป็นปริมาณมาก ๆ […]

ทำความรู้จักกับผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียคือ ผู้ได้รับอนุญาตในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแล ดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ อากาศ รวมถึงกากอุตสาหกรรมด้วย หรือควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้สำหรับการควบคุม บำบัด หรือกำจัดมลพิษชนิดต่าง ๆ ที่ติดตั้งสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษภายในโรงงาน คุณสมบัติของผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย คุณสมบัติตามประกาศของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การจะเป็นผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตรงตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ดังนี้ค่ะ วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือคณะวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) สาขาสิ่งแวดล้อม หรือ วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) สาขาที่มีวิชาเรียนด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต (หรือตามที่กรมโรงงานเห็นชอบ) หรือ วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) สาขาที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษจากหน่วยงานฝึกอบรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้การรับรอง การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย สมัครผ่านเว็บไซต์ระบบการขึ้นทะเบียนและแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ที่เว็บไซต์http://nsers.diw.go.th/DIW/Default.aspx ทำการ […]

บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบใดบ้าง

บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบใดบ้าง

บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมคือ บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้บริษัทและผู้ประกอบการต่าง ๆ สามารถปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมสามารถให้ความช่วยเหลือ บริษัท และผู้ประกอบการในการประเมินการปนเปื้อนของน้ำ อากาศ และพื้นดิน ที่ปรึกษาจะช่วยประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะ และทำการสำรวจภาคสนามเพื่อรวบรวม และประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้บริษัท และผู้ประกอบการสามารถกำหนดผลกระทบที่โครงการหรือกิจกรรมที่กำลังดำเนินการว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร                การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมและกิจการแต่ละประเภท อาจต้องทำการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ซึ่งบริษัทและผู้ประกอบการยังขาดประสบการณ์หรือความเข้าใจในวิธีการศึกษาผลกระทบเหล่านี้ บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการฝึกฝนวิธีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีความพร้อมในการทำความเข้าใจกับโครงการและกิจกรรมต่างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ที่ปรึกษาจึงสามารถสืบค้นข้อมูลที่จำเป็น เพื่อยื่นแสดงให้กับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม                บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นผู้ช่วยให้บริษัทและผู้ประกอบการสามารถดำเนินการอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องตามกฎหมาย สามารถพัฒนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนด บริการของบริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย จัดทำแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resource and Environmental Planning) ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination หรือ IEE) ตรวจประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Auditing and Monitoring) ประชาสัมพันธ์ […]

หลักการเลือกโรงงานบำบัดน้ำเสีย

               โรงงานบำบัดน้ำเสียคือผู้ให้บริการบำบัดน้ำเสียแทนผู้ประกอบการที่อาจมีปัญหาหรือข้อจำกัดในการบำบัดน้ำเสียด้วยตนเอง รวมถึงการจัดการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยผู้ประกอบกิจการที่จะสามารถดำเนินการบำบัดน้ำเสียได้นั้นจะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมควบคุมมลพิษ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถดำเนินการบำบัดน้ำเสียได้ตรงตามมาตรฐานน้ำที่กฎหมายกำหนด ลดโอกาสการก่อมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม และลดโอกาสที่น้ำเสียเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย รูปแบบการให้บริการของโรงงานบำบัดน้ำเสีย รองรับการบำบัดน้ำเสียภาคอุตสาหกรรมหรือชุมชนแหล่งอุตสาหกรรมอย่างนิคมอุตสาหกรรมมักมีผู้ประกอบการที่หลากหลาย และมีข้อจำกัดในการบำบัดน้ำเสียบางประเภท โดยเฉพาะน้ำเสียที่มีค่าเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในปริมาณมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูง หรือน้ำเสียที่มีค่า pH สูง หรือต่ำจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการบำบัดลักษณะพิเศษ เพื่อให้มีความปลอดภัยกับสภาพแวดล้อมในอนาคต หรือตามแหล่งชุมชนที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนเหล่านี้ มักสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก จำเป็นต้องได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสมก่อนส่งออกไปยังสภาพแวดล้อม การให้บริการติดตั้งและจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานบำบัดน้ำเสียนอกจากให้บริการบำบัดน้ำเสียตามแหล่งน้ำเสียต่าง ๆ แล้ว ยังให้บริการติดตั้ง หรือจัดวางระบบบำบัดน้ำเสียให้กับภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ หรือแหล่งชุมชนต่าง ๆ แล้ว ยังมักให้บริการติดตั้ง หรืออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้กับผู้สนใจได้อีกด้วย โดยเป็นการนำประสบการณ์ในการบำบัดน้ำเสียมาแนะนำ และจัดวางให้การบำบัดน้ำเสียของผู้สนใจมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น การให้บริการตรวจวิเคราะห์น้ำเสียตามโรงงานบำบัดน้ำเสียจะต้องมีการตรวจวิเคราะห์น้ำและทำรายงานให้กับกรมควบคุมมลพาตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นผู้สนใจที่มีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้ ก็สามารถใช้บริการตรวจวิเคราะห์จากโรงงานที่ให้บริการบำบัดน้ำเสียได้ และผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้ยังสามารถใช้ยื่นให้กรมควบคุมมลพิษ หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบได้อีกด้วย การจัดการกากอุตสาหกรรมที่เกิดจากน้ำเสียขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียหนึ่งที่มีความสำคัญนั้นก็คือการทำให้ของเสียในน้ำรวมตัวกันเป็นกากตะกอน ก่อนจะตกตะกอนออกมาเป็นของแข็ง ซึ่งของแข็งเหล่านี้มักมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก จุลินทรีย์ และสารพิษต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องได้รับการจัดการกากอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ให้บริการบำบัดน้ำเสียส่วนมากจะมีบริการการจัดการกากอุตสาหกรรมรองรับเอาไว้อยู่แล้ว การให้บริการปรึกษาแนะนำระบบบำบัดน้ำเสียบางครั้งแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีปัญหาติดขัดบางประการอย่างระบบหมุนเวียนน้ำเสียที่ไม่สม่ำเสมอ หรือค่าคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเป็นต้องหาจุดบกพร่องของระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป […]

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security