พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ

สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย เห็นได้ว่า พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined Apace ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ปิดเท่านั้น แต่จะคำนึงถึงสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปเป็นสำคัญ ซึ่งหากพื้นที่ไหนที่พิจารณาแล้วว่าเป็นพื้นที่อับอากาศก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน เพราะถ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศที่ทางเข้าออกมีจำกัดมักส่งผลให้การช่วยเหลือทำได้ยากและลำบาก

พื้นที่ทำงาน

สิ่งที่ควรรู้ของอันตรายในพื้นที่อับอากาศ มีอะไรบ้าง

อันตรายทั้งหมดที่พบในพื้นที่ทำงานปกติสามารถพบได้ในพื้นที่อับอากาศ แต่ก็สามารถอาจเป็นอันตรายได้มากกว่าหากเกิดในพื้นที่อับอากาศเมื่อเทียบกับสถานที่ในการทำงานทั่วไป ซึ่งอันตรายในพื้นที่อับอากาศอาจรวมถึง

*คุณภาพอากาศที่ไม่ดี มีออกซิเจนไม่เพียงพอให้คนทำงานหายใจไม่สะดวก และบรรยากาศอาจมีสารพิษที่ทำให้ป่วย หมดสติได้

*อันตรายจากสารที่ทำให้หายใจไม่ออก คือก๊าซที่มีความเข้มข้นมากจนเคลื่อนย้ายออกซิเจนไปในอากาศ ทำให้ระดับออกซิเจนต่ำลง ซึ่งส่งผลให้คนทำงานหัวใจเต้นเร็ว อ่อนล้า เหนื่อยง่าย คลื่นไส้ อาเจียนและอาจหมดสติในที่สุด

*การสัมผัสสารเคมีทางผิวหนังหรือการสูดดมอากาศที่ไม่ดีเข้าไป

*อันตรายจากไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดจากของเหลวและฝุ่นที่ติดไฟง่าย ทำให้เกิดการระเบิดได้

*อันตรายที่เกิดจากสารเคมีตกค้างในกระบวนการผลิต

แต่อย่างไรก็ตามการล้างพื้นที่อับอากาศแม้จะทำได้ยาก แต่การล้างพื้นที่อับอากาศก็ยังมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงให้ความสำคัญในการดูแลและทำการล้างพื้นที่อับอากาศอย่างสม่ำเสมอ

เหตุผลที่ทำให้งานล้างพื้นที่อับอากาศมีความจำเป็นนั้นมีดังนี้

1.เพื่อสุขอนามัยที่ดี ถึงแม้จะเป็นพื้นที่อับอากาศที่เข้าออกได้ยาก ก็ยังมีโอกาสที่ฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกต่างๆ ก๊าซหรือไอเสียที่เข้าไปสะสมทำให้สกปรก จนเกิดเป็นความจำเป็นที่ต้องเข้าไปล้างทำความสะอาดพื้นที่อับอากาศดังกล่าว

2.เนื่องจากพื้นที่อับอากาศมักเกิดจากความเสี่ยงที่จะมีการสะสมของเศษวัสดุต่างๆอยู่ภายในได้ง่าย เพราะช่องทางการเคลื่อนไหวมีจำกัด ซึ่งเมื่อวัสดุเหล่านี้สะสมไปนานๆ ก็จะส่งผลให้กลายเป็นสิ่งกีดขวางกระบวนการภายในพื้นที่อับอากาศได้

3.เพื่อรักษาคุณภาพของวัตุดิบที่ต้องเก็บในพื้นที่อับอากาศ ให้อยู่ในสภาวะที่ไม่เป็นพิษ และรักษาคุณภาพให้ ควบคุมอุณหภูมิให้ดีอยู่เสมอ จึงจำเป็นที่ต้องล้างพื้นที่อับอากาศ

4.ช่วยยืดอายุการใช้งานภายในพื้นที่อับอากาศ ช่วยให้เครื่องจักรใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร

5.ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เพราะถ้าไม่มีการล้างทำความสะอาดพื้นที่อับอากาศดังกล่าวอาจส่งผลให้พื้นที่ภายในเกิดการสะสมของตะไคร่ หรือก๊าซอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอันตรายในพื้นที่อับอากาศ

*เนื่องจากพื้นที่อับอากาศเป็นพื้นที่ยากต่อการเคลื่อนไหว อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่มีทักษะ และความชำนาญ รวมถึงควรผ่านการอบรมมาด้วย

*ในพื้นที่อับอากาศการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศมักทำได้จำกัด สารทำความสะอาดมักมีกลิ่นแรงและมีความเข้มข้นสูงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและทางเดินหายใจ จึงต้องระมัดระวังในการทำความสะอาด

*การย้ายเครื่องจักรในพื้นที่อับอากาศค่อนข้างย้ายลำบาก เกิดแรงกระแทกได้ง่ายอาจก่อให้เกิดไฟฟ้ารั่ว และเกิดประกายไฟ ดังนั้นการใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี ควรเพิ่มความระมัดระวังสูง โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในงานล้างพื้นที่อับอากาศ

*ออกซิเจนในพื้นที่อับอากาศนั้นมีจำกัด ทำให้ออกซิเจนมีน้อยซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้นจึงต้องจำกัดและควบคุมคนที่จะเข้าไปทำความสะอาดในพื้นที่อับอากาศ และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดซึ่งจะส่งผลอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

*อุบัติเหตุในพื้นที่อับอากาศอาจเกิดจากการมีเศษวัสดุตกหล่น หรือโครงสร้างยุบตัว พังทลายลงมาได้ ดังนั้นผู้เข้าไปปฏิบัติงานล้างพื้นที่อับอากาศจึงจำเป็นต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม

เมื่อทราบถึงอันตรายในการเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรปฏิบัติตัวให้เหมาะสมดังนี้

            1.ตรวจความพร้อมของร่างกายให้พร้อมในการปฏิบัติงาน ควรมีสุขาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่กลัวความสูงและความแคบ

            2.ตรวจเช็คอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้อยู่สภาพที่สมบูรณ์ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมใช้ในภาวะฉุกเฉิน

            3.ควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเข้าปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยและมีค่าออกซิเจนที่มากกว่า 19.5% หรือไม่เกิน 23.5% ผู้ปฏิบัติงานควรมีอุปกรณ์วัดค่าออกซิเจนที่สามารถพกพาเข้าไปยังพื้นที่งานล้างพื้นที่อับอากาศด้วย

            4.ควรตรวจสอบพื้นที่อับอากาศว่ามีสารเคมีรั่วไหลหรือไม่ เพื่อเตรียมการป้องกันและรับมือก่อนทำงานล้างพื้นที่อับอากาศให้ถูกต้อง

            5.เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ควรรีบช่วยเหลือผู้บาดเจ็บด้วยการนำตัวออกมาให้เร็วที่สุด และควรมีเครืองมือหรืออุปกรณ์การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเข้าไปในงานล้างพื้นที่อับอากาศด้วย

            6.ผู้ปฏิบัติงานควรแต่งกายด้วยชุด Safety เช่น แว่นตากันสารเคมี หมวกนิรภัย ถังอากาศ ถุงมือป้องกันสารเคมี และเข็มขัดป้องกันการตกจากที่สูง

            7.ผู้ปฏิบัติงานต้องรู้ภาษามือเพื่อใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ตลอดเวลา เช่น ชูนิ้วขึ้นแสดงว่าปลอดภัย ชูนิ้วลง แสดงถึงภาวะไม่ปลอดภัยหรืออันตราย และควรมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการสื่อสารที่สามารถใช้ได้ในพื้นที่อับอากาศ

            ถึงแม้ว่างานภายในพื้นที่อับอากาศจะอันตราย แต่งานล้างพื้นที่อับอากาศก็มีความจำเป็นที่ต้องทำให้งานมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นแล้วผู้ที่เขาไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจึงจำเป็นต้องมีความรู้ผ่านการฝึกอบรม และมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานล้างพื้นที่อับอากาศ


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย และ งานใน พื้นที่อับอากาศ โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ

พื้นที่อับอากาศ

สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย เห็นได้ว่า พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined Apace ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ปิดเท่านั้น แต่จะคำนึงถึงสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปเป็นสำคัญ ซึ่งหากพื้นที่ไหนที่พิจารณาแล้วว่าเป็นพื้นที่อับอากาศก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน เพราะถ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศที่ทางเข้าออกมีจำกัดมักส่งผลให้การช่วยเหลือทำได้ยากและลำบาก

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

ขยะอันตราย

การจัดการขยะอันตรายสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineขยะอันตราย หรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security