EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

EIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องส่งภายในเดือนกรกฎาคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน) และครั้งที 2 ต้องส่งภายในเดือนมกราคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมของปีก่อน)

EIA Monitoring

วัตถุประสงค์ของการจัดทำ EIA Monitoring

  1. เพื่อให้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมตามที่มีกำหนดเอาไว้ในรายงาน EIA ของแต่ละโครงการ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนั้นจึงนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อติดตามและประเมินแนวโน้มถึงสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากที่โครงการพัฒนาหรือดำเนินการ
  3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับนำไ ปใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
  4. เพื่อป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการต่อผู้ใช้บริการภายในโครงการ หรือชุมชนในบริเวณใกล้เคียงได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
  5. เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของโครงการเพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากดำเนินโครงการที่มีต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งปัญหาการร้องเรียนต่าง ๆ

กรณีไม่ปฏิบัติหรือไม่ส่งรายงาน EIA Monitoring จะเป็นอย่างไร

  1. การกระทำที่ผิดกฎหมาย (มีบทลงโทษตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด)
  2. อาจมีผลต่อการพิจารณาเมื่อยื่นขอขยายโครงการหรือขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการต่อหน่วยงานที่มีอำนาจพิจารณาอนุญาต
  3. ส่งผลต่อการพิจารณาคดีของศาล หากเกิดกรณีที่ถูกฟ้องร้อง
  4. การไม่ยอมรับ หรือโครงการถูกต่อต้านจากกิจกรรมของชุมชน
  5. มีโอกาสไม่ได้รับการส่งเสริม หรือไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้รับรางวัล ในกรณีที่ส่งโครงการเข้าประกวดสถานประกอบการดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น EIA Monitoring Awards
  6. มีผลต่อการให้เงินลงทุนของสถาบันการเงินต่อโครงการนั้น ๆ
  7. ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียงของโครงการที่ดำเนินการ รวมถึงโครงการอื่น ๆ ของเจ้าของโครงการ

ขั้นตอนการยื่น EIA Monitoring ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. การลงทะเบียน / Log In เข้าสู่ระบบ
  2. การเลือกโครงการที่ต้องการส่งรายงานผล EIA Monitoring
  3. การกรอกข้อมูลรายงานผล Monitor ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย ได้แก่
  4. กรอกประเภทโครงการที่จะยื่นรายงาน
  5. กรอกข้อมูลหนังสือแจ้งผลการพิจารณาเห็นชอบ EIA Monitoring
  6. กรอกชื่อผู้จัดทำรายงาน
  7. กรอกข้อมูลหน่วยงานที่ขออนุญาต/หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล
  8. กรอกข้อมูลรายงาน
  9. กรอกแนบไฟล์รายงาน (ต้องเป็นไฟล์ PDF)
  10. การพิจารณาตรวจสอบข้อมูล
  11. การยืนยัน พิมพ์เอกสารคำขอยื่นพร้อมเอกสารปกติ

การทำรายงาน EIA Monitoring ต้องวิเคราะห์เรื่องอะไรบ้าง

การจัดทำ EIA ประกอบด้วย ต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ด้านคือ

  1. ทรัพยากรชีวภาพ ต้องมีผลการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ แนวปะการัง เป็นต้น
  2. ทรัพยกรกายภาพ ผลการศึกษาถึงผลกระทบทางกายภาพทั้งต่อสภาพดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
  3. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เป็นผลการศึกษาผลกระทบที่เกิดต่อมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนียภาพ คุณค่าของชีวิต และความสวยงามต่าง ๆ
  4. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์

EIA Monitoring จึงมีความสำคัญต่อการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์และศึกษาผลต่าง ๆ ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุม ทั้งด้านทรัพยากรชีวภาพ กายภาพ คุณค่าต่อคุณภาพขีวิต หรือคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพ โครงการใดฝ่าฝืนไม่ทำตามข้อกำหนดที่กฎหมายกำหนด หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบก็จะมีสิทธิลงโทษตามระเบียบได้ทันที โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อไปนี้

กรณีเป็นพื้นที่อับอากาศ ให้พิจารณาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ เพราะพื้นที่อับอากาศเป็นสถานที่ทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกมักคับแคบ เกิดปัญหาการระบายความร้อน และอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ มักเกิดการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษ สารไวไฟ หรือมีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงต้องทำ EIA Monitoring รายงานผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน

บ่อบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียคือน้ำที่ผ่านกระบวนการใช้งานโดยมนุษย์จนกลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพไม่เหมาะสม หรือส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม กระบวนการที่เกิดในกิจวัตรประจำวันทั้งการประกอบอาหาร การอาบน้ำ หรือการทำความสะอาด กระบวนการภาคเกษตรกรรม รวมถึงกระบวนการภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้เกิดปริมาณน้ำเสียจำนวนมาก และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง ลักษณะและที่มาของน้ำเสียคือตัวกำหนดว่าบ่อบำบัดน้ำเสียควรเป็นอย่างไร โดยการบำบัดน้ำเสียคือการนำน้ำเสียมาผ่านกระบวนการเพื่อขจัดสิ่งสกปรก และสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่ดีต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด หรือสามารถนำน้ำกลับไปใช้งานได้ใหม่โดยไม่ทำให้เกิดอันตายต่อสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งแวดล้อม

น้ำใต้ดิน คือน้ำที่ถูกกักเก็บเอาไว้ในชั้นดินระหว่างช่องว่างของเม็ดแร่ ดินและหิน น้ำอาจไม่ลักษณะไม่อิ่มตัว หากช่องว่างที่กักเก็บเอาไว้มีการเคลื่อนผ่านระหว่างน้ำและอากาศ อาจเรียกว่าน้ำในดิน หรือ Soil Water แต่กรณีที่น้ำอยู่ลึกลงไปใต้ดินจนอยู่ระหว่างช่องว่าง รอยแตกหรือโพรงของชั้นหิน น้ำในบริเวณนี้มักเรียกว่าน้ำบาดาล หรือ Ground Water โดยหินที่โอบอุ้มน้ำเอาไว้ใต้ดิน มักมีลักษณะเป็นหินอุ้มน้ำทำให้สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ น้ำใต้ดินมักเกิดการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้งคุณภาพของน้ำและการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ จึงจำเป็นต้องทำ EIA Monitoring แสดงถึงผลกระทบ

คุณภาพอากาศ สิ่งปนเปื้อนในอากาศอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง การขับขี่ยวดยานพาหนะ การสูบบุหรี่ หรือการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม พิจารณาได้จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างฝุ่น PM 2.5 หรือปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องมีการศึกษาและทำรายงานถึงผลกระทบด้วย

EIA Monitoring Environmental Impact Assessment คือ

การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องส่งภายในเดือนกรกฎาคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน) และครั้งที 2 ต้องส่งภายในเดือนมกราคม (รวบรวมผลการติดตามตรวจสอบระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมของปีก่อน)

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

ขยะอันตราย

การจัดการขยะอันตรายสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineขยะอันตราย หรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security