การจัดการขยะอันตรายสำคัญอย่างไร

ขยะอันตราย

ขยะอันตราย หรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ

ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม

วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะใดที่ถือเป็นขยะอันตราย

  1. สังเกตฉลาก หรือภาพสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ เช่นสารไวไฟ จะแสดงบนภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ ผงกำมะถัน ข้อความว่าสารมีพิษ จะแสดงบนภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำยาล้างห้องน้ำ สารฆ่าแมลง สารปรอทที่อยู่ในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ข้อความสารกัดกร่อน จะแสดงบนภาชนะบรรจุน้ำกรดสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ หรือภาชนะบรรจุน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
  2. สังเกตคำเตือน สินค้าสารเคมีหลายชนิดที่ระบุเอาไว้ข้างภาชนะบรรจุ เช่นห้ามรับประทาน ห้ามเผา สารอันตราย เป็นต้น

ตัวอย่างขยะอันตรายในชีวิตประจำวัน

  • ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุ กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี
    • น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เป็นสารกัดกร่อนและมีความเป็นพิษ
    • นํ้ายาขัดกระจก มีฤทธิ์เป็นสารกัดกร่อน และสารพิษ
    • สารกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมงสาบและยาฆ่ามด ซึ่งล้วนเป็นสารพิษต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
    • นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง เป็นสารพิษที่บำบัดได้ยาก
    • ยาขัดรองเท้า เป็นสารไวไฟและพิษต่อสิ่งแวดล้อม
    • แบตเตอรี่ เนื่องจากแบตเตอร์รี่ทำขึ้นมาจากสารสังกะสีและคาร์บอน หรือโลหะอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเก็บอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงไม่ให้อยู่ใกล้กับความร้อน
    • ถ่านไฟฉายเก่า และหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ เป็นของใช้ที่มีส่วนประกอบของสารโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว และปรอทที่บรรจุอยู่ภายใน หากแพร่กระจายไปสู่ดิน น้ำ อากาศ ก็จะทำให้เกิดมลพิษต่อผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึงคนเก็บขยะด้วย

ขยะอันตรายที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งบ้านเรือน ร้านค้าต่าง ๆ

ปีปริมาณประมาณ 300,000 ตันต่อไป ซึ่งมักถูกทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี หากของเสียเหล่านี้ไม่ได้รับการการจัดอย่างถูกวิธี อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และคุณภาพของสภาพแวดล้อมได้

วิธีการจัดการขยะอันตรายในบ้านเรือน

  1. เลือกซื้อ หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นการทำความสะอาดห้องน้ำด้วยนํ้าสบู่หรือน้ำส้มสายชูผสมน้ำแทนน้ำยาทำความสะอาดที่เป็นขยะอันตราย หรือการเช็ดกระจกด้วยนํ้าผสมนํ้าส้มสายชู แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ดทดแทนน้ำยาเช็ดกระจก การลดแมลงสัตว์รบกวนด้วยการดูแลบ้านให้สะอาด ไม่มีกลิ่น หรือเศษอาหาร แทนการใช้ยาฆ่าแมลง
  2. ซื้อหรือใช้สิ่งของต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น
  3. ซื้อหรือใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าที่มีฉลากสีเขียว ซึ่งมีทั้งถ่านไฟฉายแบบไร้สารปรอท ตู้เย็นฉลากเขียว หรือสีอีมัลชันแบบลดสารพิษ
  4. ซื้อหรือใช้ สารสกัดจากธรรมชาติหรือสมุนไพรทดแทน ตัวอย่างเช่นการขัดเครื่องเงินด้วยโซดาไฟผสมกับเกลือและน้ำอุ่น หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมเกลือแทนการใช้สารเคมี หรือใช้วาสลีนขัดถูแทนน้ำยาขัดรองเท้าก็จะทำให้รองเท้าเงางามได้เช่นกัน
  5. เลือกซื้อหรือใช้ สินค้าที่สามารถใช้ซ้ำใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ชาร์จใหม่ได้ หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดชนิดเติม เพื่อลดปริมาณภาชนะบรรจุ หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้แบตเตอรี่ เป้นต้น
  6. ไม่ทิ้งขยะอันตรายปนกับขยะทั่วไป
  7. ไม่ทิ้งสารเคมีลงพื้น ท่อระบายน้ำ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ
  8. แยกการจัดเก็บสารเคมีไว้ในภาชนะที่ไม่รั่วซึม แล้วรอหน่วยงานท้องถิ่น มาเก็บไปจัดการตามวันที่กำหนด
  9. การนำไปส่งคืนร้านค้า ตัวแทนจำหน่าย เพื่อรับส่วนลด และแลกซื้อผลิตภัณฑ์ใหม

กรณีโรงงานอุตสาหกรรมมีข้อกำหนดกฎหมายขยะอันตราย ดังนี้

  1. โรงงานขนาดกลาง ที่มีขยะอันตราย 100 กก. / เดือน แต่ไม่ถึง 1000 กก. / เดือน เก็บในโรงงานได้ไม่เกิน 180 วัน
  2. โรงงานขนาดใหญ่ ที่มีขยะอันตราย 1000 กก. / เดือน ขึ้นไป เก็บในโรงงานได้ไม่เกิน 90 วัน

               ดังนั้นภาคอุตสหกรรมจะต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทเอกชนที่ให้บริการจัดการของเสียอันตรายเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมเกินปริมารและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ขยะอันตรายที่พบมาในโรงงานอุตสาหกรรม

  1. บรรจุภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนสารพิษ
  2. วัสดุหรือเศษผ้าที่ปนเปื้อนสารพิษ
  3. น้ำเสียที่มีสารอันตราย
  4. กากตะกอนที่ได้จากระบบบำบัดน้ำเสีย
  5. ฝุ่นที่เกิดจากระบบบำบัดอากาศ
  6. ตะกรันอลูมิเนียม
  7. น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้งานแล้ว
  8. กรดที่เสื่อมสภาพแล้ว จากการใช้เพื่อปรับสภาพผิว
  9. สาร COOLANT
  10. กรดที่เสื่อมสภาพที่ถูกใช้ในการขจัดคราบสกปรก

วิธีการกำจัดขยะอันตรายภาคอุตสาหกรรม

               การใช้บริษัทที่ให้บริการกำจัดขยะอันตราย ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภท โดยการขนย้ายของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม จะต้องขนส่งโดยรถขนขยะสำหรับของเสียอันตรายโดยเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าขยะของเสียอันตรายเหล่านั้นจะไม่เกิดการหกรั่วไหลในระหว่างการเคลื่อนย้ายได้อย่างแน่นอน

การจัดการขยะอันตรายมีความสำคัญอย่างไร

               ขยะอันตรายคือขยะของเสียที่สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ในลักษณะเป็นวงกว้าง และเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการแพร่กระจยแล้วจะยากต่อการจัดการ ดังนั้ความร่วมมือของทุกภาพส่วนในการจัดการของเสียอันตรายจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก โดยเฉพาะการคิดถึงความจำเป็นก่อนใช้งาน การคัดแยกของเสียอันตรายออกจากขยะอื่น ๆ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เพื่อลดปริมาณขยะ และลดการปนเปื้อนของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดการขยะอันตราย

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

ขยะอันตรายหรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ

ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security