สารบัญ
การป้องกันสารพิษอันตราย
เป็นหน้าที่อันสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะต้องมีวิธีการจัดการและควบคุมป้องกันอันตรายจากสารพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทมีขบวนการผลิตที่ไม่เหมือนกัน ใช้สารพิษต่างกัน ดังนั้น การป้องกันสารพิษอันตรายแต่ละโรงงาน จึงต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยคำนึงถึงความจำเป็นและพื้นฐานความแตกต่างดังกล่าว แต่โดยหลักการทั่วไป เราต้องพิจารณาควบคุมป้องกันอันตรายจากสารพิษ ดังนี้
1.การควบคุมที่ต้นตอของสารพิษ Source
เป็นวิธีแรกที่ควรเลือก และจะได้ผลโดยตรงในการป้องกันพิษจากสาร วิธีการคือ
- เลือกใช้สารอื่นทดแทน โดยการห้ามใช้สารพิษที่มีพิษมาก เมื่อมีสารอื่นที่มีพิษน้อยกว่า สามารถใช้ทดแทนในการผลิตแม้จะมีราคาแพงกว่าก็ตาม เช่น ใช้โทลูอีนเป็นตัวทำละลายแทนเบนซิน
- มีการเปลี่ยนแปลงเคมีภัณฑ์ให้คงรูปที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ เช่น เคมีภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเป็นฝุ่นผง สามารถฟุ้งกระจายเป็นสารแขวนลอยในอากาศก็เปลี่ยนเป็นก้อน เม็ด เกล้ด หรือ แผ่น เพื่อลดการฟุ้งกระจาย และยังมีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เคมีภัณฑ์ที่มีอันตรายเป็นใช้เคมีภัณฑ์ที่มีอันตรายน้อย เช่น สิวานิช กาว เป็นต้น
2.การควบคุมที่ขบวนการผลิต Process
เลือกขบวนการผลิตที่ทำให้เกิดความปลอดภัย เช่น
2.1 เปลี่ยนแปลงขบวนการผลิตใหม่ โดยเลือกใช้ขบวนการผลิตที่ปลอดภัยกว่า เช่น การผลิตโซดาไฟควรหลีกเลี่ยง เลี่ยงขบวนการผลิตที่มีการใช้ เซลล์ปรอท เปลี่ยนไปใช้ระบบ Diaphram ของ Graphite แทน
2.2 ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้ดีขึ้น เช่น การผลิตที่ใช้แรงงานที่เป็นอันตรายก็เปลี่ยนไปใช้หุ่นยนต์แทน การพ่นสีรถยนต์เปลี่ยนเป็นการชุบสีด้วยกระแสไฟฟ้าแทน
2.3 แยกขบวนการผลิตที่เป็นอันตรายออก Isolation
2.4 เลือกระบบปิด Enclosure system
2.5 ใช้วิธีการทำให้เปียกชื้น Wet methods
2.6 มีการระบายอากาศเฉพาะที่ Local Exhaust Ventilation
2.7 มีการบำรุงรักษาอย่างเพียงพอ Adequeous maintainance
3.ไม่มีการตรวจสุขภาพคนงานอย่างต่อเนื่อง
หรือ มีการตรวจแต่ไม่ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เช่น พบว่าเป็นโรคปอด ก็ควรเจาะลึกถึงสาเหตุที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการเกิดโรคจากพิษของแมงกานีส หากคนงานที่เคยทำงานในโรงงานแมงกานีสได้รับพิษแล้วเปลี่ยนงานไปทำโรงงานอื่น ๆ ดังนั้น โรงงานควรจัดทำสมุดประวัติของคนงาน ซึ่งอาจใช้บังคับโดยกฎหมายแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องการรักษาของคนงานเอง
4.การทำลายขยะและกากสารพิษยังไม่เป็นระบบที่ดี
ขาดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ โดยไม่แยกแยะขยะธรรมดาออกจากการสารพิษ หรือ การกของเสียของโรงงาน ทำให้สารพิษถูกปล่อยออกไปปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก
5.ควรมีข้อกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมอย่างชัดเจน
รวมทั้งควรห้ามนำภาชนะบรรจุสารพิษทำความสะอาดเพื่อนำไปใช่ต่อด้วย
6.การหลีกเลี่ยงละเลยการสร้างระบบขจัดทำลายสารพิษ
ทั้งในน้ำทิ้ง การปล่อยสารพิษ หรือการที่มีระบบอยู่แล้ว แต่ละเลยไม่ใช้ ซึ่งแก้ไขได้โดยการตรวจอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีหน้าที่กำกับดูแล เรื่องวัตถุอันตรายภายในประเทศ ใช้กฎหมายอยู่ 2 ฉบับที่ออกใหม่ ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535.