ขั้นตอนตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ดี
กิจกรรมของมนุษย์นั้นสามารถสร้างมลพิษน้ำเสียออกมาได้เกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการทำงาน รวมถึงน้ำเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดเป็นความจตำเป็นที่จะต้องบำบัดแก้ไขให้น้ำเสียเหล่านั้นมีคุณภาพดีหรือเหมาะสมก่อนปลดปล่อยลงสู่สภาพแวดล้อม แต่ในบางครั้งลักษณะทางกายภาพระหว่างน้ำดีและน้ำเสียนั้นก็แทบไม่มีความแตกต่างกัน เกิดความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์น้ำเพื่อให้ทราบว่าน้ำเสียนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง และการบำบัดที่ดำเนินการไปเพียงพอหรือไม่ โดยขั้นตอนการตรวจคุณภาพน้ำที่ดีจะต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจวิเคราะห์ ตามรายละเอียดดังนี้
- การสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำเสียและน้ำทิ้ง
เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเพราะส่งผลต่อความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์น้ำเป็นอย่างมาก เมื่อจะสุ่มเก็บตัวอย่าง ควรเลือกสุ่มตัวอย่างน้ำที่เกิดจากทุกระบบของกระบวนการของการบำบัดน้ำเสีย เพื่อตรวจสอบว่าระบบบำบัดเหล่านั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยเฉพาะจุดรวบรวมน้ำเสียก่อยปล่อยออกสู่สาธารณะ - วิธีการเก็บตัวอย่าง
เมื่อเลือกสถานที่สุ่มตัวอย่างน้ำแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างน้ำ ควรเลือกระดับที่ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ความลึกประมาณครึ่งหนึ่งของบ่อ หรือสถานที่สุ่มเก็บตัวอย่าง โดยเลือกจากส่วนต่าง ๆ หลายๆ จุด แล้วนำมารวมกันเอาไว้ในถัง ก่อนใส่ขวดสำหรับส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์น้ำต่อไป - ปริมาณของน้ำตัวอย่าง
เมื่อน้ำตัวอย่างถูกส่งเข้าสู่ห้องปฏิบัติการหรือห้องที่ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำจะถูกนำไปทำละลายกับสารเคมีและผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้ค่าคุณภาพต่าง ๆ ทำให้ปริมาณน้ำที่ต้องใช้วิเคราะห์น้ำค่าต่าง ๆ ต้องมีอย่างเพียงพอ ดังนี้
• ค่าทางเคมี – กายภาพ อย่างค่าความขุ่นของน้ำ หรือค่าความเป็นกรดเป็นด่าง จะต้องใช้ขวดพลาสติก (PE) ในการเก็บตัวอย่าง ปริมาณของน้ำไม่น้อยกว่า 2 ลิตร และเพื่อให้ค่าที่เชื่อถือได้ควรแช่เย็นเอาไว้ที่อุณหภูมิ 4องศาเซนเซียส
• ค่าซัลไฟด์ ถือเป็นค่าที่แสดงถึงคุณภาพของน้ำเสียเป็นอย่างมาก ดังนั้นการเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์น้ำจึงควรเก็บไว้ในขวดแก้ว หรือ พลาสติก (PE) ปริมาณของตัวอย่างไม่น้อยกว่า 500 มิลลิลิตร และแช่เย็นเอาไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซนเซียส
• ค่าไขมันและน้ำมัน มักมาจากกิจวัตรประจำวันหรือภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ โดยควรเก็บตัวอย่างเอาไว้ในขวดแก้วสีชาเพื่อป้องกันไม่ให้ทำปฏิกิริยากับแสง และเก็บตัวอย่างน้ำไม่น้อยกว่า 500 มิลลิลิตร นำไปแช่เย็นเอาไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซนเซียส
• ค่าโลหะหนักเป็นค่าสำคัญที่บ่งบอกว่าคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดเหมาะสมจะออกไปสู่สภาพแวดล้อมหรือไม่ ดังนั้นควรเก็บตัวอย่างเอาไว้ในขวดพลาสติก (PE) ที่ปริมาณไม่น้อยกว่า 500 มิลลิลิตร และเก็บแช่เย็นเอาไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซนเซียส
• เชื้อจุลินทรีย์ เพราะน้ำเสียมักมีการปนปเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์มากกว่าปกติ ดังนั้นการวิเคราะห์น้ำเพื่อหาปริมาณจุลินทรีย์จึงเป็นดัชนีชี้วัดค่าน้ำเสียที่สำคัญ จึงขวดเก็บเอาไว้ในขวดแก้วพร้อมฝาที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว เมื่อเก็บตัวอย่างจนได้ปริมาณไม่น้อยกว่า 500 มิลลิลิตร จึงมีความสำคัญมาก และเพื่อให้ค่าที่ถูกต้องควรนำน้ำตัวอย่างไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4องศาเซนเซียส - การส่งตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์
เมื่อเก็บตัวอย่างแล้ว ควรจัดเก็บตัวอย่างในลังโฟมหรือภาชนะที่สามารถควบคุมอุณหภูมิตามที่กำหนดได้ และส่งไปทำการวิเคราะห์น้ำภายใน 24 ชม. เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
คุณลักษณะของน้ำเสีย เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าลักษณะของน้ำประเภทใดที่จัดว่าเป็นแหล่งน้ำเสียนั้นสามารถแบ่งลักษณะออกได้เป็น 3 ประเภทคือ - ลักษณะทางกายภาพ
ซึ่งเป็นลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยสายตา ได้แก่
• ปริมาณของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำ เมื่อจะตรวจวิเคราะห์จะต้องมีการใช้กระดาษกรองละเอียดมาก ๆ มากรองของแข็งออกมาก่อนนำน้ำที่ได้ไปอบให้แห้งจนได้เป็นปริมาณของแข็งทั้งหมด
• ปริมาณของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ เป็นของแข็งที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ จึงตกค้างอยู่บนกระดาษกรอง ซึ่งต้องนำกระดาษนั้นไปอบแห้งเพื่อวิเคราะห์น้ำหาปริมาณของแข็งทั้งหมด
• ความขุ่น เป็นค่าที่ได้จากการตรวจสอบการหักเหของแสงที่ตกกระทบผ่านน้ำ ซึ่งค่าความขุ่นมักเกิดจากดินหรือตะกอนที่ลอยอยู่บนน้ำนั่นเอง - ลักษณะทางเคมี
ต้องใช้การวิเคราะห์น้ำให้ห้องปฏิบัติการ หรือเครื่องมือสำหรับการตรวจวิเคราะห์โดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งมีค่าต่าง ๆ ดังนี้
• ค่าออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ
• ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ถือเป็นค่าที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำโดยตรง ดังนั้นค่าน้ำที่ดีควรอยู่ในช่วงค่า pH 5 – 8
• ค่า BOD คือค่าออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
• ค่า COD คือค่าออกซิเจนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการออกซิเดชั่นสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ
• ค่าไนโตรเจน คือสารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำชนิดต่าง ๆ
• การตกค้างของโลหะหนักชนิดต่าง ๆ - ลักษณะทางชีวภาพ
เชื้อจุลินทรีย์ที่มีปริมาณมากเกินไปในน้ำเสียจะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในน้ำไม่สามารถใช้ออกซิเจน หรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เพราะจุลินทรีย์ได้เข้ามาขัดขวางหรือแย่งสารที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตไปหมดแล้ว โดยการวิเคราะห์น้ำเพื่อหาค่าทางชีวภาพที่สำคัญนั้นได้แก่
• แบคทีเรีย
• เชื้อรา