มาเรียนรู้กับพื้นที่อับอากาศ EP.2

พื้นที่อับอากาศ สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด และการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ส่งผลให้อากาศภายในไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

3. การตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ

3.1 Stel (Short-term ExposureLimit) หมายถึง ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะสัมผัสได้อย่างต่อเนื่องในเวลาสั้น โดยไม่ได้รับอันตรายใด ๆ

3.2 TWA (Time-Weight Average) หมายถึง ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงใน 1 วัน หรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3.3 Peak หมายถึง ค่าวิกฤตที่วัดได้ในระหว่างช่วงเวลา

3.4 LEL (Lower Exposure Limit) หมายถึง ขีดจำกัดต่ำสุดของปริมาณสารที่อาจเกิดการระเบิดได้

3.5 TLV (Threshold Limit Values) หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศและสภาพแวดล้อม เชื่อว่าผู้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดสามารถทำงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยปราศจากผลเสียต่อสุขภาพ

3.6 Ceiling หมายถึง ค่าส่วนผสมสูงสุดของสารพิษ หากคนงานที่ไม่มีเครื่องป้องกันอาจสัมผัสสารพิษได้ ไม่ควรเข้าไปในพื้นที่อับอากาศ

3.7 เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร/ปริมาตร หมายถึง ปริมาตรของแก๊สคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปริมาตรอากาศ

3.8 ppm. Part per million หมายถึงส่วนในล้านส่วน

3.9 ANSI หมายถึง American National Safety Institute

3.10 NIOSH หมายถึง National Institute for Occupational Safety and Health

3.11 OSHA หมายถึง Occupational Safety and Health Administration

3.12 ACGIH  หมายถึง A committee of American Conference of Government Industrial Hygienists.

ตรวจวัดสภาพอากาศ

3.2 วิธีการตรวจวัดสภาพอากาศ

3.3 ชนิดของแก๊สที่ตรวจวัด โดยทั่วไปชนิดของแก๊สที่จะตรวจวัดขึ้นอยู่กับพื้นที่อับอากาศที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ ซึ่งแต่ละแห่งแตกต่างกันออกไปแต่แก๊สที่ตรวจสอบมี แก๊สออกซิเจน, แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์, แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ และ แก๊สติดไฟได้

4.ค่ามาตรฐาน ที่กำหนดไว้ว่า ค่าออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 18%  ค่าไฮโดรเจนซัลไฟต์ 50 ppm. ในเวลา 10 นาที ค่าแก๊สที่ติดไฟได้ต้องมีความเข้มข้นได้ไม่เกิน 20% ของค่า LEL ของแต่ละชนิด

5.ในการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดจากข้อมูลข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้จากค่าออกซิเจน ค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ ค่าแก็สที่ติดไฟได้ และค่าไฮโดรเจนซัลไฟต์

6.การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศด้วยความปลอดภัย เช่น ก่อนเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศควรตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมี และแก๊ส เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการขาดออกซิเจน, จัดให้มีใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ, จะต้องทำการระบายอากาศจนกว่าจะอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย  ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ทำงานอย่างดี การวางแผนการทำงานต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทุกคนเข้าใจ.

7.ชั้นของพื้นที่อับอากาศ หมายถึง พื้นที่อับอากาศกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอย่างน้อยสองแห่ง โดยมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นรูปร่างลักษณะ อันตรายในการเข้าออกและการทำงานข้างในทั้งนี้ ให้ใช้จุดเด่นของพื้นที่อับอากาศ โดยพิจารณาจัดกลุ่มของรูปร่าง ลักษณะคล้ายคลึงกัน และ ภายในติดตั้งเครื่องจักร ภายในมีอันตรายคล้ายคลึงกัน และ ทางเข้า และหรือกระบวนการในภาวะฉุกเฉิน ที่สามารถนำมาใช้ได้กับพื้นที่อับอากาศได้ทุกแห่ง

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security