วิธีการตรวจสอบการทำงานของระบบ Activated Sludge เบื้องต้น

แอดมินขอเสนอข้อสังเกตในการปฏิบัติงานการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย แบบ Activated Sludge ผู้ควบคุมดูแลระบบจะต้องติดตามและตรวจสอบ หากเกิดความผิดปกติขึ้นในระบบ จำเป็นต้องแก้ไขโดยผู้มีความรู้และประสบการณ์

ระบบบำบัดน้ำเสียมีหลายชนิด และมักที่นิยมใช้กัน คือ  ระบบ Activated Sludge : AS เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพประเภทให้อากาศในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากระบบนี้มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายมลพิษในน้ำเสียให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

วิธีการตรวจสอบการทำงานของระบบ Activated Sludge เบื้องต้น อุปกรณ์ในการตรวจสอบการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย

DO Meter ซึ่งค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l

pH Meter ซึ่งค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 8-8.2

กรวยอิมฮอฟฟ์ ซึ่งค่า SV30 ควรอยู่ระหว่าง 400-600 ml/l

เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว ตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ ดังนี้

  • ค่า MLSS ควรอยู่ระหว่าง 1,500-3,000 mg/l
  • ค่า SVI ควรอยู่ระหว่าง 80-120 ml/g
  • ค่า DO ไม่ควรต่ำกว่า 2 mg/l
  • ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 8-8.2
  • ค่า SV30 ควรอยู่ระหว่าง 400-600 ml/l
  • ค่า DO ควรตรวจวัดโดยเก็บจาหลายตำแหน่งที่ระดับต่างกัน
  • ค่า SV30 ได้จากการนำน้ำจากบ่อเติมอากาศมาตกตะกอนในกรวยอิมฮอฟฟ์ ขนาด 1,000 มล. เป็นเวลา 30 นาที
  • ค่า MLSS ปริมาณน้ำหนักแห้งของตะกอนที่นำมาวัดค่า SV30 อาจจะมีขั้นตอนในการหาค่ายุ่งยาก

ข้อควรจำ 

  • ไม่มีกลิ่นเหม็นของไฮโดรเจนซัลไฟล์
  • สีของสลัดจ์ในถังเติมอากาศควรมีสีน้ำตาล หากพบเป็นสีดำคล้ำแสดงว่าขาดออกซิเจน ต้องเพิ่มการเติมอากาศ

  • ไม่ควรเกิดฟองอากาศ หรือสลัดจ์ลอยฝนถังตกตะกอน หากเกิดปัญหาตะกอนไม่จมตัวในถังตกตะกอน และตะกอนลอย เกิดจากการที่มีจุลินทรีย์เส้นใยมากเกินไป การควบคุมทำได้หลายวิธี เช่น ควบคุมสภาวะการทำงานให้เหมาะสม เติมสารอาหารให้พอเหมาะ เป็นต้น
  • หากเกิดฟองอากาศในถังตกตะกอน เกิดจากสลัดจ์มากเกินไป ต้องเพิ่มอัตราการสูบสลัดจ์กลับ หรือสูบส่วนเกินทิ้งไป


ซึ่งการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องเข้าตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพประเภทให้อากาศในกระบวนการบำบัดน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากระบบนี้มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายมลพิษในน้ำเสียให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security