การปรับอากาศ และระบายอากาศ สำหรับสถานพยาบาล

สถานการณ์ในช่วงปัจจุบัน ยังคงน่ากังวลต่อไป โดยเฉพาะสถานพยาบาลที่เป็นแหล่งรวบรวมเชื้อโรค การให้ความสำคัญในเรื่องระบบการปรับอากาศและระบายอากาศ จึงจำเป็นอย่างมากถึงมากที่สุด มาทบทวน อัตราการนำเข้าของอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในและความดันสัมพันธ์ กันเถอะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบปรับอากาศในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสถานการณ์ในช่วงปัจจุบัน มาทบทวน อัตราการนำเข้าของอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในและความดันสัมพันธ์ กันเถอะ

อัตราการนำเข้าของอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายและความดันสัมพันธ์

ลำดับ สถานที่ อัตราการนำเข้าอากาศภายนอก ไม่น้อยกว่า จำนวนเท่าของปริมาตรห้อง ต่อ ชั่วโมง  อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในห้อง ไม่น้อยกว่า จำนวนเท่าของปริมาตรห้อง ต่อ ชั่วโมง ความดันสัมพันธ์ กับพื้นที่ข้างเคียง
1 ห้องผ่าตัด 5 25 สูงกว่า
2 ห้องคลอด 5 25 สูงกว่า
3 ห้อง Nursery 5 12 สูงกว่า
4 ห้องอภิบาลผู้ป่วยพนัก (ICU) 2 6 สูงกว่า
5 ห้องตรวจรักษาผู้ป่วย 2 6 สูงกว่า
6 ห้องฉุกเฉิน (Trauma Room) 5 12 สูงกว่า
7 บริเวณพักคอย สำหรับแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉิน 2 12 ต่ำกว่า
8 ห้องพักผู้ป่วย 2 6 สูงกว่า
9 ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ 2 12 ต่ำกว่า
10 ห้องแยกผู้ป่วยปลอดเชื้อ 2 12 สูงกว่า
11 ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) 2 6 ต่ำกว่า
12 ห้องชันสูตรศพ 2 12 ต่ำกว่า

แหล่งที่มา : วสท.031001-59 : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

 

เพิ่มเติมสำหรับห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ดังนี้

  • ระบบด้านลมปรับอากาศและระบายอากาศห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ต้องแยกอิสระโดยเด็ดขาด จากส่วนอื่นๆ ของอาคาร
  • ห้ามต่อท่อลมระบายอากศทิ้งจากห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศกับท่อลมอื่นๆ ของอาคาร
  • การควบคุมการไหลของอากาศ
 
    1. เพื่อให้อากาศไหลเข้าห้อง เมื่อมีรอยรั่ว ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ต้องมีความดันภายในห้องเป็นลบ หรือต่ำกว่าบริเวณข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.5 ปาสกาล และต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบความดัน ที่ประตูทางเข้าห้อง
    2. ห้ามออกแบบห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ที่สามารถปรับความดันให้เป็นบวกได้ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
    3. ประตูห้องต้องเป็นแบบที่ปะเก็นโดยรอบ เพื่อลดการรั่วซึมขณะปิดประตู
    4. เพื่อช่วยสนับสนุนห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ประตุห้องควรมี 2 ชั้น เพื่อสร้างให้เกิดโถงขนาดเล็กกับห้องผู้ป่วย ต้องเปิดเข้าห้องผู้ป่วย

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security