การควบคุม NOx ในโรงงานอุตสาหกรรม

การเกิด NOx ในอุตสาหกรรม มีแหล่งกำเนิดหลักเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ และบางโรงงานอุตสาหกรรมได้พบปัญหานี้ และต้องการควบคุม NOx ให้การปล่อยออกจากปล่องระบายอากาศผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด มาดูวิธีการควบคุมเล็กๆ น้อยๆ แต่ยาวมากๆ กันค่ะ

การเกิด NOx ในอุตสาหกรรม มีแหล่งกำเนิดหลักจากกระบวนการเผาไหม้ โดยเฉพาะหม้อไอน้ำที่มีการใช้งานเกือบทุกโรงงาน บางครั้งก็เป็นปัญหาชวนปวดหัวในการควบคุมให้การปล่อยออกจากปล่องระบายอากาศผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เรามาดูกันสิว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยควบคุมการเกิด  NOx

  1. เลือกเชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนน้อย
  2. ควบคุมปริมาณออกซิเจนในบริเวณที่เกิดการเผาไหม้ ไม่ให้มากจนเกินไป
  3. ควบคุมระยะเวลาการคงอยู่ของก๊าซจากการเผาไหม้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงให้ สั้นลง
  4. ลดอุณหภูมิการเผาไหม้ลง และควบคุมไม่ให้มีบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเฉพาะบางจุด

การเลือกเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดี มีไนโตรเจนต่ำเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่ถ้าไม่ใช่เจ้าของโรงงานก็ต้อง ลองใช้วิธี ปรับปรุงการเผาไหม้ ดูนะคะ

           การปรับปรุงการเผาไหม้ มี 3 วิธี หลัก ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการเผาไหม้
  1. การเผาไหม้โดยใช้อัตราอากาศต่ำ ทำให้ปริมาณอากาศส่วนเกินน้อยลง (เผาไหม้ด้วยปริมาณอากาศใกล้เคียงทฤษฎี) ได้ผลดีในเชิงประหยัดพลังงานด้วย แต่!! ต้องระวังนะคะ ถ้าลดอากาศต่ำจนเกินไปก็จะทำให้เกิดเขม่าได้ง่าย
  2. การลดโหลดความร้อนในห้องเผาไหม้ โดยการลดอุณหภูมิภายในเตาและอุณหภูมิเปลวไฟ แต่!!! ก็อาจจะทำให้ผลผลิตของเตาและหม้อไอน้ำลดลง
  3. ลดอุณหภูมิการอุ่นอากาศ ถ้าลดอุณหภูมิก็สามารถลดปริมาณ NOx ได้ แต่!!! ก็อาจจะทำให้ผลผลิตของเตาและหม้อไอน้ำลดลง เช่นกัน
  • วิธีการปรับปรุงอุปกรณ์เผาไหม้ วิธีนี้อาจต้องปรับโครงสร้างซึ่งยุ่งยากพอสมควร แต่ก็ยั่งยืนนะคะ
  1. การเผาไหม้แบบสองขั้นตอน อากาศสำหรับการเผาไหม้จะถูกแยกจ่ายเข้าไปสองครั้ง ครั้งแรกจ่ายอากาศปริมาณเพียง 80 – 90 % ของปริมาณอากาศตามทฤษฎี จากนั้นจึงจ่ายส่วนที่ไม่เพียงพอในขั้นตอนที่สอง เพื่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของทั้งระบบ วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ แต่!!! ต้องระวังการเกิดการเผาไหม้ไม่สม่ำเสมอเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
  2. การเผาไหม้แบบหมุนเวียนไอเสียกลับ ไอเสียจากการเผาไหม้บางส่วนจะถูกนำไปใช้ในการเผาไหม้ วิธีนี้จะใช้ได้ผลกับ Thermal NOx และต้องติดตั้งพัดลมเป่าไอเสียกลับหรือท่อต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
  3. การเผาไหม้แบบ Concentration การเผาไหม้แบบนี้จะมี Burner หลายอัน วัตถุประสงค์เดียวกับการเผาไหม้สองขั้นตอน ข้อเสียของวิธีนี้ คือ การควบคุมการเผาไหม้จะซับซ้อนและยุ่งยาก ยากต่อการนำไปใช้จริง
  4. การพ่นน้ำหรือไอน้ำเข้าไปในเปลวไฟจาการการเผาไหม้ จะทำให้ความร้อนแฝง และSensible heat ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทำให้ปริมาณความร้อนกลับเพิ่มขึ้นมาอีก วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพในการลด Thermal NOx ได้ดีเทียบเท่ากับปริมาณการฉีดน้ำเข้าไป แต่ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำก็ลดลงเนื่องจากสูญเสียความร้อนไปกับความชื้นในไอเสีย และใช้ไม่ได้ผลกับการลด NOx  ในการใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง
  5. Low NOx  Burner  เป็นการพัฒนาและนำกลไกวิธีการต่าง ๆ ตามทฤษฎี มาใช้จริง เช่น การลดความเข้มข้นของออกซิเจน การลดอุณหภูมิสูงสุดของเปลวไฟ การลดระยะเวลาที่ก๊าซตกค้างอยู่ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงให้สั้นลง เหล่านี้นำมาผสมผสานผลิต Burner เพื่อลด NOx
  6. วิธีกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนภายในเตา ใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยา Reduction ของ NO วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับเชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหินละเอียด วิธีนี้เป็นการเผาไหม้ถึงสามครั้ง
  • เทคโนโลยีในการกำจัดกำมะถัน และออกไซด์ของไนโตรเจนพร้อมกัน
  1. วิธีใช้ Activated Carbon วิธีนี้จำกัดออกไซด์กำมะถัน และออกไซด์ของไนโตรเจนพร้อมกัน โดย SOx จะถูกดูดซับด้วย Activated Carbon ส่วน NOจะเกิดปฏิกิริยา Reduction กลายเป็นไนโตรเจนด้วย NH3 โดยมี Activated Carbon เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
  2. วิธีฉายลำอิเลคตรอน กำจัดออกไซด์กำมะถัน และออกไซด์ของไนโตรเจน โดยการเติม NH3 ลงไปในไอเสีย แล้วฉายลำอิเล็ตรอนลงไปเพื่อให้ SOx  กลายเป็นแอมโมเนียมซัลเฟต และ  NOx  กลายเป็นแอมโมเนียมไนเตรต

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security