ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ PRTR

ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสารมลพิษหรือสารเคมีในการประกอบกิจการโรงงาน มีใครบ้างลองมาดูกันค่ะ

วันนี้แอดมิน หยิบมาฝากจากราชกิจจานุเบกษา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกกฎหมายฉบับใหม่ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสารมลพิษหรือสารเคมีในการประกอบกิจการโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องของโรงงานให้เป็นไปตามกฎหมาย  อีกไม่นานจะมีประกาศกระทรวงที่ออกตามมา ลองเข้าไปทดลองกรอกรายละเอียดที่เวบไซต์ดูนะคะ http://www2.diw.go.th/prtr/Home.aspx หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม หรือเสนอแนะได้ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เลยจ้า

“แนวคิดในการจัดทำ Pollutant Release and Transfer Registers : PRTR เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นที่โรงงานยูเนี่ยนคาร์ไบด์ที่เมืองโบพาล ประเทศอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2527 และต่อมาได้เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลในรัฐเวสท์-เวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้คนงานและชุมชนที่มีโรงงานตั้งอยู่ใกล้เคียงต่างเรียกร้องให้โรงงานเปิดเผยข้อมูลการใช้สารเคมีอันตรายให้กับสาธารณชนได้รับทราบ”

  • PRTR ต่างจากระบบการรายงานข้อมูลอื่นอย่างไร

ข้อมูล PRTR รายงานในหน่วยของ “ปริมาณ”ต่อระยะเวลา อาทิ กิโลกรัม/ปี ไม่กำหนดปริมาณขั้นต่ำ และ ไม่ใช่มาตรฐาน ซึ่งรายงานข้อมูลในหน่วยของความเข้มข้น ตัวอย่างเช่น มิลลิกรัม/ลิตร ในกรณีของมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง หรือ มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในกรณีของมาตรฐานการระบายอากาศเสีย เป็นการรายงานข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษสู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อมที่รองรับมลพิษนั้น คือ อากาศ ดิน น้ำ (แต่ไม่ได้บอกถึงระดับของการตกค้างของมลพิษนั้นในสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก สารเคมีหรือมลพิษมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน บางประเภทอาจสลายตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากการปลดปล่อยและไม่มีการตกค้างในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น) ข้อมูลดังกล่าวจะมีการเผยแพร่สู่สาธารณชนได้รับทราบ

  • นิยามที่ควรรู้เกี่ยวกับทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ

“ทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR) หมายถึง ระบบฐานข้อมูลที่เผยแพร่สู่สาธารณชนเกี่ยวกับชนิดและปริมาณของมลพิษเป้าหมายที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกำเนิดเป้าหมายประเภทต่างๆ สู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงข้อมูลการนำน้ำเสียและของเสียออกจากแหล่งกำเนิดไปบำบัดหรือกำจัด

แหล่งกำเนิดมลพิษเป้าหมาย (target sources) หมายถึง แหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อย และเคลื่อนย้ายมลพิษให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษเป้าหมายที่เข้าข่ายต้องรายงานข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษให้กับหน่วยงานราชการ และ แหล่งกำเนิดที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการคาดประมาณการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ

แหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องรายงาน ข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR) มี 9 ประเภท ดังนี้

  • อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
  • อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ
  • กิจการเกี่ยวกับการจัดการของเสีย การบำบัดน้ำเสีย
  • กิจการเกี่ยวกับการจัดการของเสีย รีไซเคิลน้ำมันใช้แล้ว

มลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) หมายถึง รายชื่อสารเคมี กลุ่มสารเคมี หรือ มลพิษ ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ

สารเคมีหรือมลพิษภายใต้ระบบ PRTR  จำแนกได้ 3 กลุ่ม

  • สารเคมี เช่น benzene, toluene, formaldehyde
  • กลุ่มสารเคมี เช่น ตะกั่วและสารประกอบตะกั่ว
  • มลพิษ เช่น NOx, SOx
  • สารเคมี/มลพิษนอกเหนือจากบัญชีที่ PRTR กำหนด ไม่ต้องมีการรายงานข้อมูล

การปลดปล่อย (release) หมายถึง การปล่อย ระบาย ทิ้ง หก รด รั่วไหล ของสารเคมี มลพิษ อากาศเสีย น้ำเสีย หรือ ของเสีย จากแหล่งกำเนิด ออกสู่สิ่งแวดล้อมทั้งโดยจงใจ หรือไม่จงใจ

 การเคลื่อนย้าย (transfer) หมายถึง การนำน้ำเสียหรือของเสียที่มีมลพิษเป้าหมายเป็นองค์ประกอบ ออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษเป้าหมาย ไปบำบัด หรือกำจัดยังสถานที่บำบัดหรือกำจัด

  • ข้อมูลที่เผยแพร่มีอะไรบ้าง ข้อมูลที่เผยแพร่ประกอบด้วย
  1. รายชื่อของ สารเคมี, กลุ่มของสารเคมี และ/หรือ มลพิษอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีการปล่อย ระบาย ออกสู่สิ่งแวดล้อม หรือ การนำน้ำเสียหรือของเสียที่มีสารเคมีหรือมลพิษเป้าหมายออกจากจากโรงงานอุตสาหกรรมไปบำบัดหรือกำจัด
  2. ปริมาณ ของสารเคมี กลุ่มสารเคมี และ/หรือ มลพิษ (หน่วยเป็นน้ำหนัก เช่น กิโลกรัม ต่อระยะเวลาที่ปลดปล่อย เช่น กิโลกรัม/ปี)
  3. ชื่อตัวกลางสิ่งแวดล้อมที่รองรับมลพิษ (อากาศ น้ำ หรือ ดิน)
  4. ข้อมูลของแหล่งกำเนิด ที่มีการปลดปล่อยหรือเคลื่อนย้าย สารเคมี หรือ มลพิษ นั้น (ข้อมูลของแหล่งกำเนิด หมายถึง รายชื่อ ที่อยู่ ของแหล่งกำเนิด (โรงงาน) หรือ เฉพาะชื่อประเภทของแหล่งกำเนิด (เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก บ้านเรือน การเกษตร ยานพาหนะ เป็นต้น) แล้วแต่ความเหมาะสม มีการรายงานตามรอบเวลา (ทุกปี)
  5. มีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ เช่น ผ่านทางอินเตอร์เน็ต (interactive ) สิ่งพิมพ์ หรือ CD

 

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security