มาถึงข้อมูลพื้นฐานที่หลายๆ คนทราบแล้วนั้น แอดมินก็อยากจะนำเสนอให้ทราบกันอยู่ดีนะคะ เผื่อว่าจะได้เป็นความรู้ที่พื้นฐาน จนอาจจะลืมบางประเด็นไปนะคะ

การวิเคราะห์หาความสกปรกของน้ำ

บีโอดี (BOD) เป็นการวัดความสกปรกของน้ำเสียในเทอมของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน

สาเหตุที่อาจทำให้การวิเคราะห์บีโอดีผิดพลาด

  1. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิไม่คงที่ (20 0C) เพิ่มขึ้นหรือลดลงตลอดเวลา 5 วัน
  2. ส่วนประกอบของน้ำเจือจาง ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เช่น ค่า pH อยู่ในช่วงระหว่าง 5 – 8.5 มีสารอาหารที่จำเป็น ไม่มีสารพิษต่อแบคทีเรีย เป็นต้น
  3. การเลือกเจือจางปริมาณตัวอย่าง ถ้าเลือกไม่เหมาะอาจทำให้ค่าผิดพลาดได้ ควรเลือกให้แบคทีเรียมีการใช้ออกซิเจนละลายภายในเวลา 5 วัน ประมาณ 50%
  4. สารยั้บยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เช่น โลหะหนักและสารพิษจะไประงับการเจริญเติบโตหรือฆ่าแบคทีเรีย
  5. การเกิดไนตริฟิเคชัน น้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วหลายชนิดที่มีไนตริฟิเคชั่นเกิดขึ้น จะทำให้ค่า บีโอดีสูงกว่าความเป็นจริง เพราะออกซิเจจนถูกใช้ไปในการออกซิไดซ์สารอนินทรีย์ไนโตรเจน
  6. น้ำที่มาจากแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำหรือไม่มีเลย จะมีแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนน้อย บีโอดีจึงต่ำกว่าปกติ ต้องให้เวลาในการปรับตัว 2 – 3 วัน

ซีโอดี (COD) เป็นการวัดปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ใช้ในการออกซิไดซ์สารอินทรีย์ของน้ำเสียเพื่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำเป็นปฏิกิริยาสุดท้าย นอกจากนี้พวกกรดอะมิโนไนโตรเจน จะถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียไนโตรเจน เงื่อนไขสำคัญคือ ปฏิกิริยาออกซิเดชันต้องเกิดขึ้นโดย Oxidizing Agent อย่างแรง ภายใต้สภาวะที่เป็นกรดเข้มข้นและมีอุณหภูมิสูง ซีโอดีไม่สามารถบอกได้ถึงความยากง่ายในการย่อยสลายทางชีวภาพได้เนื่องจากสารอินทรีย์จะถูกออกซิไดซ์ได้หมดหรือเกือบหมด ไม่ว่าจะสามารถออกซิไดซ์ได้ทางชีวภาพหรือไม่ ข้อดีของ ซีโอดี คือ ใช้เวลาหาเพียงแค่ 3 ชั่วโมง ในขณะที่ บีโอดี ใช้เวลาถึง 5 วัน อัตราส่วนระหว่าง BOD : COD อาจเป็นไปได้ตั้งแต่ 0.1 – 0.8 แต่จะไม่เกิน 1 และบีโอดีมีโอกาสน้อยมากที่จะมากกว่าซีโอดี

ตัวอย่างการวิเคราะห์ COD

ประโยชน์ของ COD มีดังนี้

  • ถ้าใช้พิจารณาร่วมกับค่าบีโอดี ทำให้บอกได้ว่าน้ำเสียมีแนวโน้มในการย่อยสลายโดยทางชีววิทยายากหรือง่ายเพียงใด
  • ใช้ในการประมาณค่าบีโอดีอย่างคร่าวๆ ถ้ารู้แหล่งกำเนิดหรือที่มาของตัวอย่างน้ำ
  • เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการคำนวณออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย
  • เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ใช้บอกความสกปรกของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือจากบ้านเรือนได้
  • ผลการวิเคราะห์ค่าซีโอดี ร่วมกับ ค่าบีโอดี สามารถบอกได้ว่าน้ำนั้นมีสารเป็นพิษหรือไม่

ทีเคเอ็น ไนโตรเจน (TKN) Total Kjeldahl Nitrogen หมายถึง ผลรวมของแอมโมเนียและสารอินทรีย์ไนโตรเจน การหาทีเคเอ็นมักทำโดยเปลี่ยนสารอินทรีย์ไนโตรเจนให้มาอยู่ในรูปของแอมโมเนียก่อน แล้วจึงวัดปริมาณแอมโมเนียทั้งหมด เมื่อเก็บตัวอย่างน้ำควรวิเคราะห์ทันที หรือถ้ายังไม่วิเคราะห์ให้เก็บรักษาตัวอย่างโดยการเติมกรดซัลฟูริคเข้มข้น 0.8 มล.ต่อตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร แล้วนำไปแช่เย็น

ข้อควรระวัง !  ในระหว่างที่วิเคราะห์ ควรระมัดระวังอย่าให้มีการปนเปื้อนแอมโมเนีย ไม่ควรใช้สารแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ในการวิเคราะห์

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security