ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายที่ควรเรียนรู้ไว้

โรงงานอุตสาหกรรมควรมีระบบหรือขั้นตอนการจัดการสารเคมีอันตรายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันและไม่ทำให้ประชาชนผู้อาศัยต้องได้รับสารพิษ หรือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนทั่วไปที่จะต้องเสี่ยงกับการสัมผัสสารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็อาจจะต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตรายเหล่านี้ได้ หากโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีความรับผิดชอบในการกำจัดสารเคมีอันตรายเหล่านี้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน ฉะนั้นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต้องรับผิดชอบต่อการกำจัดสารเคมีและทำให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สารเคมีอันตราย คืออะไร หมายถึง สารหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพโดยตัวของมันเอง เมื่อสัมผัสกับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ต่อทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม สารเคมีอันตราย ตามพรบ.วัตถุอันตราย 2535 มี 9 ประเภทได้แก่ 1.วัตถุระเบิดได้ 2.ก๊าซไวไฟและไม่ไวไฟ 3.ของเหลวไวไฟ 4.ของแข็งไวไฟ 5.วัตถุออกซิไดซ์และออร์แกนนิคเปอร์ออกไซด์ 6.วัตถุมีพิษ ติดเชื้อ 7.วัตถุกัมมันตรังสี 8.วัตถุกัดกร่อน 9.วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย 10.วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง สารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุดิบในขบวนการผลิตมากกว่า 3,000 โรงงาน ซึ่งโรงงานบางแห่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา การผลิต การใช้ หรือการขนส่ง ซึ่งยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประเทศไทยจึงได้มีกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลในเรื่องโรงงานและเรื่องสารเคมีอันตรายต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน […]