ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายที่ควรเรียนรู้ไว้

โรงงานอุตสาหกรรมควรมีระบบหรือขั้นตอนการจัดการสารเคมีอันตรายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันและไม่ทำให้ประชาชนผู้อาศัยต้องได้รับสารพิษ หรือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

สารเคมีอันตราย
Chemical plant

อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนทั่วไปที่จะต้องเสี่ยงกับการสัมผัสสารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็อาจจะต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตรายเหล่านี้ได้ หากโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีความรับผิดชอบในการกำจัดสารเคมีอันตรายเหล่านี้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน ฉะนั้นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต้องรับผิดชอบต่อการกำจัดสารเคมีและทำให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535

สารเคมีอันตราย คืออะไร

หมายถึง สารหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพโดยตัวของมันเอง เมื่อสัมผัสกับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ต่อทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม

สารเคมีอันตราย ตามพรบ.วัตถุอันตราย 2535 มี 9 ประเภทได้แก่

1.วัตถุระเบิดได้

2.ก๊าซไวไฟและไม่ไวไฟ

3.ของเหลวไวไฟ

4.ของแข็งไวไฟ

5.วัตถุออกซิไดซ์และออร์แกนนิคเปอร์ออกไซด์

6.วัตถุมีพิษ ติดเชื้อ

7.วัตถุกัมมันตรังสี

8.วัตถุกัดกร่อน

9.วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย

10.วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

โรงงานสารเคมี
โรงงานที่มีสารเคมี

สารเคมีอันตรายในโรงงานอุตสาหกรรม

เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุดิบในขบวนการผลิตมากกว่า 3,000 โรงงาน ซึ่งโรงงานบางแห่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา การผลิต การใช้ หรือการขนส่ง ซึ่งยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ประเทศไทยจึงได้มีกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลในเรื่องโรงงานและเรื่องสารเคมีอันตรายต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535

สำหรับอันตรายของสารพิษภายในโรงงาน หากไม่มีมาตรฐานในการป้องกันอันตรายที่ดีพอ หรือขาดสำนึกในเรื่องอันตรายของสารพิษ สารเคมี ละเลยข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่วางไว้ ผลที่ตามมาจะทำให้คนงานเกิดการเจ็บป่วย เป็นโรงแพ้สารพิษ โรคหัวใจ หรือ โรคมะเร็ง

สารพิษและสารเคมีอันตรายต่าง ๆ ที่อยู่ในโรงงานนั้นได้แก่ วัตถุดิบที่นำมาใช้เมื่อผ่านการผลิตแล้วจะได้กากสารพิษ หากถูกออกสู่สภาวะแวดล้อมภายนอกโดยไม่ผ่านขบวนการจัดการที่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดปัญหานานานัปการ

ในบทความถัดไปเราจะมาเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะของสารพิษหรือวัตถุอันตรายที่ใช้ในขบวนการผลิตที่เกิดจากขบวนการผลิตแบ่งได้เป็นลักษณะต่าง ๆ มีอะไรบ้าง เช่น ของแข็งแขวนลอยในอากาศ, แก๊สต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือ แก๊สที่เมื่อสูดดมเข้าไปแล้วทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน หรือแม้แต่ ของเหลว ไอของเหลว โลหะหนัก และการป้องกันสารพิษภายในโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม.

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security