ลักษณะของสารพิษที่ใช้ในขบวนการผลิต หรือสารพิษที่เกิดจากขบวนการผลิต

ลักษณะสารพิษ หรือวัตถุอันตรายที่ใช้ในขบวนการผลิต หรือสารพิษที่เกิดจากขบวนการผลิต พิจารณาทางด้านฟิสิกส์ แล้วอาจแบ่งได้เป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

ตรวจสอบสารเคมี

1.ของแข็งแขวนลอยในอากาศ Dust

ฝุ่นผงดินทราย Quartz และฝุ่นใยหิน Asbestos  เมื่อมนุษย์ปฏิบัติงานในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นผง และใยหิน เวลาหายใจเข้าไป สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปฝังในเนื้อเยื่อปอด นานเข้าจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจขัด เป็นสาเหตุให้เกิดโรคปอดที่เกิดฝุ่นผงดินทราย เรียก ซิลิโคซีส Silicosis หากเกิดจากเส้นใยหิน เรียก แอสเลสโตซีส Asbestosis และอาจทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ อันตรายของฝุ่นขึ้นอยู่กับขนาดของมวลฝุ่นผง และเส้นใยที่แขวนลอยในอากาศ และรูปแบบของโครงสร้าง ปริมาณมวลสารที่แขวนลอยและระยะเวลาที่ได้รับฝุ่น

อุตสาหกรรมที่มีการใช้เส้นใยหิน หรือแอสเบสตอส ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องปูพื้นกระเบื้องปูหลังคา อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรม ผลิตผ้าเบรคผ้าคลัช เป็นต้น  ในประเทศไทย อนุญาตให้นำเข้า แอสเบสตอสชนิด Chrysotile  หรือเรียกว่า White asbestos ส่วน Blue asbestos ไม่อนุญาตให้นำเข้า เนื่องจากเป็นแร่ใยหินที่มีอันตรายสูง

2. แก๊สต่าง ๆ แก๊สและไอของสารแบ่งเป็น 2 จำพวกคือ

สารพิษ
ลักษณะสารพิษ

2.1 แก๊สที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง Irritant และกัดกร่อน Crrosive หากในบรรยากาศมีแก๊สเหล่านี้ในปริมาณสูงจะก่อให้เกิดการกัดกร่อนเนื้อเยื่อปอด ดวงตา ผวิหนังได้ หรือแก๊สบางชนิดเกิดจากการเผาไหม้ของสารทำละลายได้

2.2 แก๊สที่เมื่อสูดดมเข้าไปแล้วทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ได้จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ต่าง ๆ เช่น ระยนต์ แก๊สนี้สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วกว่าออกซิเจนถึง 400 เท่า แล้วทำให้ร่างกายมีอาการคล้ายกับขาดออกซิเจน หน้ามืด อาเจียน

3.ของเหลว Liquids ไอของเหลว Vapour และละออง Mist

ของเหลวที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

3.1 ตัวทำละลาย Solvents คือสารที่มีความสามารถละลายสารอื่นได้ โดยเฉพาะพวกไขมันหรือน้ำมัน เช่นจารบี ดังนั้นจึงนำมาใช้งานในด้านทำความสะอาดโบหะและอุปกรณ์โลหะ สารเหล่านี้มีคุณสมบัติที่สามารถระเหยได้ในอุณหภูมิปรกติ จึงก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอยู่เสมอได้ เช่น ศุดดมเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แล้วส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับและสมอง หรือหน้ามือ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ความจำเสื่อม และเฉื่อยชาได้

3.2 กรด Acids และด่าง Bases

กรดและด่างมีคุณสมบัติในการกัดกร่อน สามารถทำลายผิวหนัง เนื้อ เยื่อนัยน์ตา เมื่ออยู่ในสภาพไอ มีคุณสมบัติกัดกร่อน ระบบหายใจ และ ปิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดโครมิก  กรดไนตริก และกรดไฮโดรฟลูออริก ต่างใช้ในการกำจัดไขมันออกจากโลหะ

อุตสาหกรรมที่ใช้กรดซัลฟูริก ได้แก่ผลิตแบบเตอรี่ ผลิตโลหะสังกะสี งานชุบโลหะกรดไฮโดรคลอริกใช้ในอุตสาหกรรมรีดและชุบ

อุตสาหกรรมที่ใช้ในด่าง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตเชือก ผลิตใยสังเคราะห์ เรยอน โรงานหลอมโลหะ อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security