การกำจัดสารเคมีอย่างไรให้ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การกำจัดสารเคมีอย่างไรให้ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทุก ๆ โรงงานอุตสาหกรรมควรหาวิธีการกำจัดสารเคมีให้ถูกต้องตามขั้นตอน และ ให้ได้อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ การกำจัดสารเคมีที่ต้องทำลาย อาจจะเป็นสารเคมีที่เก็บไว้นานแล้ว และไม่ต้องการใช้อีก หรือ เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นจากขบวนการของโรงงานอุตสาหกรรม จากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรืออาจเป็นสารเคมีที่หกเลอะโดยบังเอิญ และในการกำจัดสารเคมี แต่ละครั้งจะมีวิธีการปฏิบัติไม่เหมือนกัน และในแต่ละครั้งก็อาจเกิดอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นกับคุณสมบัติของสารเคมีที่ต้องการกำจัด วิธีการทั่ว ๆ ไปสำหรับการกำจัดสารเคมี ได้แก่ การเผาทิ้ง การฝัง การทิ้งลงน้ำ หรือ การเปลี่ยนให้เป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายก่อนทิ้งการเผาทิ้ง เป็นวิธีที่ดีและใช้กันมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไว้ให้มากสำหรับวิธีนี้ คือ อันตรายจากไฟที่ต้องนำไปเผาในที่ห่างไกลชุมชน ห่างจากตัวอาคาร และ ควรจะขุดหลุมใหญ่ และ ลึก จึงนำเอาสิ่งที่ต้องการเผาไปไว้ในหลุมนี้ พร้อมทั้งเชื้อเพลิง เวลาจุดไฟเผาก็ใช้วิธีต่อสายยาวไปจุดในที่ที่ไกลจากหลุมนี้ และ ปลอดภัย พอการฝังเป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัยนัก เพราะสารอาจสลายตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เช่น น้ำฝน อาจจะชะล้างลงสู่บ่อน้ำ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อไป การทิ้งลงแม่น้ำ เป็นวิธีที่ใช้ต่อเมื่อ สารที่จะทิ้งนั้นได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ รวมทั้งจะไม่ก่อให้เกิดสารแขวนลอยอยู่ในน้ำด้วย การเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่มีอันตราย […]

การแยกประเภทของสารเคมี

สารเคมี สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่อสุขภาพแล้ว สามารถแบ่งประเภทของสารเคมีได้เป็น 1.สารเคมีที่ไวไฟ Flammable and Combustible วัตถุไวไฟ หมายถึง  วัตถุที่ง่ายต่อการติดไฟ และ เผาไหม้ ในที่ที่มีอากาศ ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 37.8 องศาเซลเซียส  ส่วนของเหลวติดไฟได้ หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า หรือ เท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส  บางกรณีมีการแยกประเภทสารไวไฟ ออกเป็นของแข็งและแก๊ส ตัวอย่างของแก๊สไวไฟ เช่น acetylene, ethylene oxide และ hydrogen  ในกลุ่มของสารเคมีที่ไวไฟ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้ 1.1สารเคมีที่ระเบิดได้  สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระเบิด เมื่อได้รับความร้อน แสง ตัวเร่งได้ ที่พบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สารประกอบในกลุ่ม nitrate chlorate perchlorates  นอกจากนั้น สารประกอบของโลหะ เช่น ผงแมกนีเซียม ผงสังกะสี เมื่อผสมกับอากาศจะสามารถระเบิดได้ […]

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security