สุขภาพกับการทำงานใน “พื้นที่อับอากาศ”

พื้นที่อับอากาศ

               สุขภาพกับการทำงานในการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในพื้นที่อับอากาศ ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกคับแคบ จึงเกิดการระบายความร้อน และอากาศที่ไม่เพียงพอ จนเกิดการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษ สารไวไฟ ปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ตัวอย่างพื้นที่ลักษณะนี้ได้แก่ถังน้ำมัน ถังสำหรับหมักดอง ไซโล ท่อขนาดใหญ่ ถังน้ำ ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา หรือห้องใต้ดิน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้แก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถระบายไปได้ ผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวอาจสูดดมเอาแก๊สพิษต่าง ๆ เข้าไปในร่างกาย หรืออาจมีแก๊สที่ติดไฟสะสมจนเป็นอันตรายได้ และยิ่งเป็นอันตราย เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในขณะที่กำลังเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ การที่ผู้อื่นจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้นั้นถือเป็นเรื่องยาก และอาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติ นอกจากนี้การทำงานในพื้นที่จำกัดอย่างสถานที่อับอากาศมักส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานต้องอยู่ในท่าทางหรือลักษณะที่ผิดปกติ การรับสารพิษทีละน้อยแต่สะสมครั้งละนาน หรือได้รับออกซิเจนในปริมาณน้อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างมาก                ดังนั้นสุขภาพร่างกายของผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จึงควรมีความสมบูรณ์ และไม่มีความเสี่ยงของโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจถูกกระตุ้นให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ซึ่งได้แก่ อาการกำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ มักส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกที่เป็นอันตราย เป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เกิดเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะขาดเลือดไปบางขณะในขณะที่เข้าไปทํางานในสถานที่อับอากาศที่มีสภาวะออกซิเจนต่ำ และจัยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นหากผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเคยเจ็บหน้าอกโดยไม่ทราบสาเหตุอยู่แล้ว จึงควรหลักเลี่ยงไม่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากหลอดลมอักเสบและตีบแคบลงกว่าปกติ ทําให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบได้ง่าย หายใจเร็ว […]

สิ่งที่จะพิจารณาเมื่อต้องการทำบ่อบำบัดน้ำเสีย

บ่อบำบัดน้ำเสีย

               น้ำเสีย คือน้ำที่ผ่านกระบวนการใช้งานของมนุษย์จนมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่เกิดในกิจวัตรประจำวันอย่างการประกอบอาหาร การอาบน้ำชำระร่างกาย หรือการซักทำความสะอาดเสื้อผ้า กระบวนการภาคการเกษตร รวมถึงกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมที่มักส่งผลให้เกิดปริมาณน้ำเสียในปริมาณมาก ๆ และเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมค่อนข้างสูง ซึ่งลักษณะและที่มาของน้ำเสียเหล่านี้คือตัวกำหนดว่าบ่อบำบัดน้ำเสียควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง                การบำบัดน้ำเสียคือการนำน้ำเสียมาผ่านกระบวนการขจัดสิ่งสกปรก และสารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่ดีควรปรับให้คุณภาพของน้ำเสียให้ได้มาตรฐานตรงตามกับที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ หรือสามารถนำกลับไปใช้งานได้ใหม่โดยไม่ก่อให้เกิดอันตายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อกำหนดขนาดและลักษณะของบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ปริมาณของน้ำเสีย แน่นอนว่าปริมาณน้ำเสียในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์นั้นมีขนาดและปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งบ่อน้ำเสียที่ดีควรสามารถรองรับปริมาณน้ำเสียในระดับที่มากที่สุดได้อย่างเพียงพอ ป้องกันปัญหาน้ำเสียล้นออกมานอกบ่อ หรือขนาดของบ่อไม่เพียงพอกับการบำบัดน้ำที่เกิดขึ้นในกระบวนการของมนุษย์ได้ทั้งหมด การพิจารณาปริมาณน้ำเสียควรพิจารณาโอกาสการเกิดน้ำเวียที่มากที่สุด เช่นจำนวนคนทั้งหมดที่สามารถเข้าพักอาศัยอยู่ในอาคารสถานที่ต่าง ๆ หรือกระบวนการผลิตแบบเต็มกำลังในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ขนาดพื้นที่สำหรับติดตั้งบ่อบำบัดน้ำเสีย นอกจากปัจจัยเรื่องปริมาณน้ำเสียจะมีความสำคัญแล้ว ขนาดพื้นที่สำหรับบำบัดน้ำเสียก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้สามารถออกแบบรูปแบบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัด รีวมถึงกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้พื้นที่สำหรับติดตั้งบ่อน้ำเสียควรอยู่ในตำแหน่งที่สามารถรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่ต้องการบำบัดได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย ตัวอย่างตำแหน่งของบ่ำเสียที่พอจะเป็นตัวอย่างได้ก็คือบ่อดักไขมันที่ต้องอยู่ใต้อ่างล้างจานเพื่อรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างการประกอบอาหารนั่นเอง คุณสมบัติของผิวดินที่รองรับบ่อน้ำเสีย เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อย่ำน้ำเสียมีขนาดใหญ่ อาจเพื่อรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอาคารสำนักงาน หรือรองรับน้ำเวียในกระบวนการภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เพราะน้ำคือสสารที่มีน้ำหนักมาก หากคุณสมบัติของผิวดินที่รองรับบ่อมีลักษณะไม่แข็งแรงก็ย่อมเสี่ยงที่จะเกิดการยุบตัวได้ง่าย ก่อนการก่อสร้างบ่อบัดน้ำเสียมีควมมจำเป็นที่จะต้องวางพื้นที่ฐานรากให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง คุณลักษณะของน้ำเสีย อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการต่าง ๆ นั้นมีลักษณะของสิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนต่าง ๆ แตกต่างกัน อย่างน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารมักมีไขมัน […]

รูปแบบระบบเติมน้ำใต้ดินมีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไร

น้ำใต้ดิน

               น้ำใต้ดิน คือ น้ำที่ถูกกักเก็บเอาไว้ระหว่างช่องว่างของเม็ดแร่ ดินและหิน ซึ่งน้ำอาจไม่ลักษณะไม่อิ่มตัวหากช่องว่างที่กักเก็บไว้มีการเคลื่อนไหวระหว่างน้ำและอากาศมักเรียกว่าน้ำในดิน หรือ Soil Water แต่หากน้ำที่อยู่ใต้ดินอยู่ลึกลงไปมากจนอยู่ระหว่างช่องว่าง รอยแตกหรือโพรงของชั้นหินมักเรียกว่าน้ำบาดาล หรือ Ground Water ซึ่งหินที่โอบอุ้มน้ำที่อยู่ภายใต้ดินในลักษณะนี้มักมีลักษณะเป็นหินอุ้มน้ำเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ น้ำในบริเวณลักษณะอิ่มตัว แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมโดยรอบ หรือที่เรียกว่าวัฎจักรของน้ำระหว่างไอน้ำ น้ำบนดิน และน้ำที่อยู่ใต้ดินนั่นเอง                อย่างไรก็ดีบางครั้งน้ำใต้ดินอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างผิดปกติ อาจเนื่องมาจากมีการดึงไปใช้งานมากผิดปกติ หรือเกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่องนานหลายปี เกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องนำระบบเติมน้ำใต้ดินมาใช้แก้ไขปัญหาน้ำที่อยู่ใต้ดิน โดยวัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเติมน้ำที่ชั้นใต้ดินนั้นได้แก่ ฟื้นฟูและแก้ไขระดับน้ำที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาระดับน้ำที่อยู่ใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือเกิดภัยแล้งยาวนานมาหลายปี บรรเทาปัญหาอุทกภัย เป็นวิธีการแก้ปัญหาวิกฤ๖น้ำหลากในช่วงฤดูมรสุม โดยกักเก็บน้ำที่ท่วมล้นในช่วงที่เกิดอุทกภัยมากักเก็บเอาไว้ที่ชั้นใต้ดินแทน เพื่อให้กลายเป็นแหล่งน้ำทดแทนในช่วงที่น้ำเกิดปัญหาขาดแคลน ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม เป็นปัญหาที่พบได้ในบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล เมื่อน้ำใต้ดินที่เป็นน้ำจืดมีน้อยมากกว่าน้ำเค็ม ก็อาจจะถูกน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามา ส่งผลให้น้ำในบริเวณดังกล่าวกลายสภาพเป็นน้ำกร่อย ซึ่งส่งผลเสียร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว จำเป็นต้องมีการเติมน้ำเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว รักษาสมดุลน้ำในพื้นที่บริเวณต่าง ๆ การที่น้ำที่อยู่ใต้ดินลดระดับลงนอกจากจะส่งผลเสียต่อการใช้น้ำของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แล้ว ยังส่งผลต่อแรงดันที่อยู่ภายใต้ชั้นดิน และระดับของชั้นผิวดินโดยตรง จึงต้องเติมน้ำเพื่อรักษาสมดุลระหว่างน้ำและดินให้คงอยู่ตลอดไป                อย่างไรก็ดีการเติมน้ำลงไปที่ชั้นใต้ดิน จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนมาเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถรักษาระดับน้ำได้อย่างพอดี มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องยาวนาน […]

พื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คืออะไร

พื้นที่อับอากาศ

               พื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คือสถานที่ทำงานซึ่งมีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกมักคับแคบ จึงส่งผลให้ความร้อนและอากาศระบายได้ไม่เพียงพอ จนเกิดการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หรือเป็นสารไวไฟ หรือมีระดับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ลักษระของพื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าวได้แก่ถังบรรจุน้ำมัน ถังหมักด้วยจุลินทรีย์ ไซโลเก็บของแห้ง ท่อขนาดใหญ่ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตาขนาดใหญ่ หรือห้องใต้ดิน เมื่อแก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่อับอากาศไม่สามารถระบายออกไปได้ ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายในอาจสูดดมแก๊สพิษที่สะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าวเข้าไปในร่างกาย ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ หรือหากเกิดการสะสมของแก๊สที่ติดไฟได้ง่าย ก็อาจส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ หรือระเบิดที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศได้ นอกจากนี้ความคับแคบของสถานที่ปฏิบัติงานเมื่อเกิดอุปกรณ์หรือวัสดุตกหล่นลงมาก็จะหลีกเลี่ยงได้ยาก รวมทั้งสถานที่อับอากาศมักมีแสงสว่างจำกัดเกิดความเสี่ยงที่จะสะดุดหกล้ม หรือชนสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดเหตุที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานี้ การเข้าไปให้ความช่วยเหลือก็ยังทำได้ยากด้วยความจำกัดของพื้นที่เข้าออก เกิดเป็นความจำเป็นที่การปฏิบัติงานในพื้นที่ Confined Space จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ                อย่างไรก็ดีเมื่อทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าพื้นที่ Confined Space มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายก็สามารถกำหนดมาตรการป้องกัน เพื่อลดโอกาสการเกิดอันตรายต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนี้ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศ เพื่อให้มั่นใจว่าอากาศที่อยู่ภายในบริเวณ Confined Space มีความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง ทั้งตรวจสอบปริมาณออกซิเจนในพื้นที่ดังกล่าว […]

ความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศ

               การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานในออฟฟิส การทำงานก่อสร้าง หรือการทำงานใด ๆ ก็ล้วนมีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งเป็นการทำงานในพื้นที่พิเศษมีลักษณะเฉพาะอย่างการทำงานในพื้นที่อับอากาศก็ยิ่งมีข้อควรระวังและใส่ใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยลักษณะของสถานที่อับอากาศมักยากต่อการเข้าถึง มีขนาดพื้นที่จำกัดทำให้การให้ความช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก และอันตรายหลายประเภทในสถานที่อับอากาศยังยากต่อการมองเห็นหรือสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่น้อยจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต การสะสมของก๊าซพิษหรือก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตรายโดยที่ไม่สามารถมองเห็นหรือได้กลิ่น กว่าจะรับรู้ถุงอันตรายก็เมื่อร่างกายเกิดอาการ อาจหน้ามืด เป็นลม หรือระบบทางเดินหายใจเกิดความเสียหายได้                ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นทำให้อันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่อับอากาศมีความรุนแรงต่อชีวิตเป้นอย่างมาก การจัดการและบริหารความปลอดภัยในพื้นที่ลักษณะนี้จึงมีการกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย หรืออันตรายในระดับที่สามารถควบคุมและจัดการได้ ขอยกตัวอย่างประเภทของอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศและมาตรการในการจัดการอย่างเหมาะสมดังนี้ อันตรายจากปริมาณออกซิเจนที่น้อยหรือมากเกินไป เมื่อสถานที่อับอากาศเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีการถ่ายเทของอากาศที่ดี ย่อมส่งผลให้ระดับออกซิเจนในพื้นที่มีน้อยจนเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หรือโดยทั่วไปจะมีน้อยกว่า 19.5 Vol.% แต่บางกรณีอาจสะสมจนมีมากกว่า 23.5 Vol.% ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้ง่ายเป็นอย่างมาก โดยปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 20.9 Vol.% ซึ่งมาตรการสำหรับป้องกันระดับออกซิเจนที่ไม่ปกตินี้คือการวัดระดับออกซิเจนก่อนการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศทุกครั้ง และผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องพกเครื่องวัดระดับออกซิเจนแบบพกพาเข้าไปในสถานที่อับอากาศทุกครั้ง เพื่อคอยตรวจสอบว่าปริมาณออกซิเจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ ซึ่งหากระดับออกซิเจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย ผู้ปฏิบัติงานต้องอพยพออกจากพื้นที่เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทันที อันตรายจากแรงตกกระแทก เนื่องจากในสถานที่อับอากาศมักมีแสงสว่างน้อย เพราะมีช่องให้แสงสว่างตามธรรมชาติเขาถึงได้น้อย และหลายพื้นที่มักมีลักษณะไม่เรียบสม่ำเสมอ อาจเป็นหลุมเป็นบ่อหรือมีความคับแคบจนเคลื่อนตัวได้ลำบาก ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงที่ได้รับแรงกระแทกในระหว่างที่เคลื่อนตัวหรือปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศได้ง่าย ซึ่งแนวทางการป้องกันให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศคือการเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอกับการทำงาน โดยต้องเป็นแสงสว่างที่ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ หรือมีการเดินสายไฟอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วไหลที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคลอย่างหมวกนิรภัย หรือเข็มขัดนิรภัยให้พร้อมก่อนเข้าปฏิบัติงาน และหากมีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรใด ๆ ในสถานที่อับอากาศ […]

ข้อดีข้อเสียของการใช้ถังเก็บน้ำใต้ดิน

น้ำใต้ดิน

               ถังเก็บน้ำใต้ดิน ถือเป็นวิธีการจัดการน้ำรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างเป็นอย่างมาก เพราะน้ำคือทรัพยากรสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพราะเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกประเภท รวมทั้งมนุษย์ด้วย ซึ่งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการกักเก็บน้ำสมัยใหม่ ทำให้ภาวะคลาดแคลนน้ำเกิดขึ้นได้ยากขึ้น แต่ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งปัญหาการขาดแคลนน้ำก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ จึงเกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น ซึ่งการใช้ถังสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ใต้ดินก้เป็นอีกวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประเภทของถังเก็บน้ำใต้ดินโดยทั่วไปมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ถังเก็บน้ำแบบคอนกรีต มักมีรูปแบบไม่แน่นอนสามารถปรับขึ้นรูปได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีความแข็งแรงทนทาน สามารถกักเก็บน้ำได้ในปริมาณมาก ๆ ถังเก็บน้ำแบบพลาสติก มักประกอบขึ้นจากพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความคงทน แข็งแรง ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย ตัวถังสามารถรองรับแรงกด และแรงกระแทกได้ดี ข้อดีของถังเก็บน้ำใต้ดิน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก เพราะเมื่อถังบรรจุน้ำถูกนำไปเก็บเอาไว้บริเวณใต้ดินย่อมส่งผลให้พื้นที่หน้าดินยังว่าง สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี อุณหภูมิน้ำในถังเก็บค่อนข้างคงที่ ในกรณีของถังเก็บน้ำที่อยู่บนผิวดินมักต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด สภาพอากาศที่แปรปรวน เผชิญพายุฝนฟ้าคะนอง หรือลมแรง ๆ ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำในแต่ละช่วงวันมีความแตกต่างกันมาก หลายครั้งอาจทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงจนยากต่อการนำไปใช้งาน แต่เมื่ออยู่ใต้ดินปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำค่อนข้างคงที่ ข้อเสียของถังเก็บน้ำใต้ดิน การติดตั้งค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน เนื่องจากถังเก็บน้ำประเภทนี้จำเป็นต้องทำการขุดผิวดิน เพื่อฝังตัวถังเก็บน้ำลงไปใต้ดิน ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมผิวดินค่อนข้างนาน ยิ่งเป็นถังเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ รองรับน้ำที่มีน้ำหนักมาก ๆ ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมฐานรากของพื้นที่รองรับถังให้แข็งแรงมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ใช้เวลาในการติดตั้งนานมากขึ้นเท่านั้น การดูแลรักษาทำได้ยาก […]