การจัดการขยะอันตรายสำคัญอย่างไร
ขยะอันตราย หรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์หรือภาชนะใดที่ถือเป็นขยะอันตราย สังเกตฉลาก หรือภาพสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ เช่นสารไวไฟ จะแสดงบนภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ ผงกำมะถัน ข้อความว่าสารมีพิษ จะแสดงบนภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำยาล้างห้องน้ำ สารฆ่าแมลง สารปรอทที่อยู่ในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ข้อความสารกัดกร่อน จะแสดงบนภาชนะบรรจุน้ำกรดสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ หรือภาชนะบรรจุน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สังเกตคำเตือน สินค้าสารเคมีหลายชนิดที่ระบุเอาไว้ข้างภาชนะบรรจุ เช่นห้ามรับประทาน ห้ามเผา สารอันตราย เป็นต้น ตัวอย่างขยะอันตรายในชีวิตประจำวัน ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุ กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เป็นสารกัดกร่อนและมีความเป็นพิษ […]
การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำที่จำเป็นตามกฎหมาย
วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ น้ำคือองค์ประกอบสำคัญที่มนุษย์ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการดื่มกินเพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งต้องมีความสะอาดและปลอดภัยต่อมนุษย์ในการดื่มโดยไม่ทำให้เกิดโรค หรือทำให้ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณภาพน้ำดื่มที่ดียังต้องไม่มีสี กลิ่น หรือรส และน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าวัฎจักรของน้ำในโลกจะสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่บางครั้งน้ำก็เกิดการปนเปื้อนจากโลหะ สิ่งสกปรก หรือมีออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ จำเป็นต้องผ่านการบำบัดอย่างเหมาะสมทั้งการเติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน หรือการกระตุ้นให้เกิดการตกตะกอนของสิ่งสกปรก เป็นต้น จำเป็นต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำก่อนนำมาใช้งานเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเกิดความเชื้อมั่นว่าน้ำที่นำมาบริโภคหรือใช้งานมีคุณภาพที่ดีเพียงพอ ซึ่งนอกจากน้ำใช้และน้ำบริโภคแล้ว น้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ และกิจกรรมต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อกำหนดมาตรการการบำบัดที่เหมาะสมเอาไว้ด้วย การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ มีประโยชน์ที่สำคัญ คือ การตรวจสอบจะช่วยบ่งบอกถึงความเหมาะสม และความปลอดภัยของการนำน้ำมาใช้งาน และบริโภค ทั้งสี ความขุ่น ค่าความกระด้าง ค่า pH ค่าออกซิเจน ค่าความเค็ม เหล็ก แมงกานีส คลอรีน หรือสารที่มีความเป็นพิษต่ำ ตรวจเพื่อบ่งบอกถึงการปนเปื้อนของมลพิษชนิดต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย สารแอมโมเนีย […]