- 3. การตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ
- 4.ค่ามาตรฐาน ที่กำหนดไว้ว่า ค่าออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 18% ค่าไฮโดรเจนซัลไฟต์ 50 ppm. ในเวลา 10 นาที ค่าแก๊สที่ติดไฟได้ต้องมีความเข้มข้นได้ไม่เกิน 20% ของค่า LEL ของแต่ละชนิด
- 5.ในการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดจากข้อมูลข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้จากค่าออกซิเจน ค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ ค่าแก็สที่ติดไฟได้ และค่าไฮโดรเจนซัลไฟต์
- 6.การปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศด้วยความปลอดภัย เช่น ก่อนเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศควรตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมี และแก๊ส เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการขาดออกซิเจน, จัดให้มีใบอนุญาตทำงานในพื้นที่อับอากาศ, จะต้องทำการระบายอากาศจนกว่าจะอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ทำงานอย่างดี การวางแผนการทำงานต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทุกคนเข้าใจ.
- 7.ชั้นของพื้นที่อับอากาศ หมายถึง พื้นที่อับอากาศกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอย่างน้อยสองแห่ง โดยมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นรูปร่างลักษณะ อันตรายในการเข้าออกและการทำงานข้างในทั้งนี้ ให้ใช้จุดเด่นของพื้นที่อับอากาศ โดยพิจารณาจัดกลุ่มของรูปร่าง ลักษณะคล้ายคลึงกัน และ ภายในติดตั้งเครื่องจักร ภายในมีอันตรายคล้ายคลึงกัน และ ทางเข้า และหรือกระบวนการในภาวะฉุกเฉิน ที่สามารถนำมาใช้ได้กับพื้นที่อับอากาศได้ทุกแห่ง
พื้นที่อับอากาศ สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด และการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ส่งผลให้อากาศภายในไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย