การแยกประเภทของสารเคมี

สารเคมี สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่อสุขภาพแล้ว สามารถแบ่งประเภทของสารเคมีได้เป็น

การแยกประเภทของสารเคมี

1.สารเคมีที่ไวไฟ Flammable and Combustible

วัตถุไวไฟ หมายถึง  วัตถุที่ง่ายต่อการติดไฟ และ เผาไหม้ ในที่ที่มีอากาศ ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 37.8 องศาเซลเซียส  ส่วนของเหลวติดไฟได้ หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า หรือ เท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส  บางกรณีมีการแยกประเภทสารไวไฟ ออกเป็นของแข็งและแก๊ส ตัวอย่างของแก๊สไวไฟ เช่น acetylene, ethylene oxide และ hydrogen  ในกลุ่มของสารเคมีที่ไวไฟ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้

1.1สารเคมีที่ระเบิดได้  สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระเบิด เมื่อได้รับความร้อน แสง ตัวเร่งได้ ที่พบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สารประกอบในกลุ่ม nitrate chlorate perchlorates  นอกจากนั้น สารประกอบของโลหะ เช่น ผงแมกนีเซียม ผงสังกะสี เมื่อผสมกับอากาศจะสามารถระเบิดได้

1.2 สารเคมีที่ติดไฟเองได้ สารเคมีกลุ่ม pyrophorics ตามมาตรฐาน US-OSHA  ได้แก่สารเคมีที่สามารถติดไฟได้เองที่อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า 54.4 องศาเซลเซียส สารกลุ่มนี้จะทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ และติดไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ หรือ อากาศชื้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น จะเร็วหรือช้าขึ้นกับชนิดของสารเคมี  บางตัว สามารถติดไฟขึ้นเองได้ เมื่ออุณหภูมิภายนอกถึงจุดสันดาปของสารเคมี โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย

1.3 สารที่ไวต่อการทำปฏิกิริยากับน้ำ  สารเคมีที่ไวต่อปฏิกิริยากับน้ำเกิดปฏิกิริยารุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำอยู่จำกัด สารในกลุ่มนี้ เช่น สาร alkali  สาร alkali earth  เช่น potassium calcium สารในกลุ่ม anhydrous metal halides.

1.4 สารเคมีที่เกิดเปอร์ออกไซด์  สารเคมีในกลุ่มนี้ ทำปฏิกิริยาอย่างช้า ๆ กับออกซิเจนในอากาศ โดยมีแสง และความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดเป็นสารเปอร์ออกไซด์ สามารถก่อให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้  ในการนำสารเคมีในกลุ่มนี้มาใช้ต้องแน่ใจว่าปราศจากสารเปอร์ออกไซด์  บางห้องปฏิบัติการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บสารในกลุ่มนี้เป็นรายสารเคมี รายละเอียดสารในกลุ่มที่เกิดเปอร์ออกไซด์ และระยะเวลาจัดเก็บในห้องปฏิบัติการ

2.สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน Corrosives

สารเคมีในกลุ่มนี้ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำลายเยื่อบุผิวหนัง และเยื่อบุตา สารในกลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ กรดแก่ ด่างแก่ สารที่ดูดน้ำ และ สารออกซิไดซ์

2.1 กรดแก่ หรือ กรดเข้มข้นทุกชนิด สามารถก่อให้เกิด การระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุตา เฉพาะอย่างยิ่ง กรดไนตริก กรดโครมิก และ กรดไฮโดรฟลูออริก  การเคลื่อนย้ายกรดเหล่านี้ควรใส่ถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน

2.2 ด่างแก่ เช่น สารเหล่านี้ มีฤทธิ์ระคายเคืองตาสูง ดังนั้น การเคลื่อนย้ายสารเคมีในกลุ่มนี้ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันเช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายกรดแก่

2.3 สารที่ดูดน้ำ สารเคมีในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กรดซัลฟูริก Sulfuric acid. Sodium hydroxide, phosphorus pentoxide. Calcium oxide. สารเหล่านี้หากสัมผัสผิวหนังก่อให้เกิดอาการไหม้ของผิวหนังได้

2.4 สารออกซิไดซ์  ได้แก่ สารที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน ในปฏิกิริยาหรือเป็นตัวให้ออกซิเจน สารในกลุ่มนี้ เช่น สารประกอบ Hypochlorite permanganate และเปอร์ออกไซด์  เนื่องจากสารในกลุ่มนี้เป็นตัวให้ออกซิเจน  จึงสามารถเป็นตัวเร่งให้เกิดการสันดาปหรือเผาไหม้ได้

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security