การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำที่จำเป็นตามกฎหมาย

วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ

               น้ำคือองค์ประกอบสำคัญที่มนุษย์ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการดื่มกินเพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งต้องมีความสะอาดและปลอดภัยต่อมนุษย์ในการดื่มโดยไม่ทำให้เกิดโรค หรือทำให้ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณภาพน้ำดื่มที่ดียังต้องไม่มีสี กลิ่น หรือรส และน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าวัฎจักรของน้ำในโลกจะสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่บางครั้งน้ำก็เกิดการปนเปื้อนจากโลหะ สิ่งสกปรก หรือมีออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ จำเป็นต้องผ่านการบำบัดอย่างเหมาะสมทั้งการเติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน หรือการกระตุ้นให้เกิดการตกตะกอนของสิ่งสกปรก เป็นต้น จำเป็นต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำก่อนนำมาใช้งานเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเกิดความเชื้อมั่นว่าน้ำที่นำมาบริโภคหรือใช้งานมีคุณภาพที่ดีเพียงพอ ซึ่งนอกจากน้ำใช้และน้ำบริโภคแล้ว น้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ และกิจกรรมต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อกำหนดมาตรการการบำบัดที่เหมาะสมเอาไว้ด้วย

การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ มีประโยชน์ที่สำคัญ คือ

  1. การตรวจสอบจะช่วยบ่งบอกถึงความเหมาะสม และความปลอดภัยของการนำน้ำมาใช้งาน และบริโภค ทั้งสี ความขุ่น ค่าความกระด้าง ค่า pH ค่าออกซิเจน ค่าความเค็ม เหล็ก แมงกานีส คลอรีน หรือสารที่มีความเป็นพิษต่ำ
  2. ตรวจเพื่อบ่งบอกถึงการปนเปื้อนของมลพิษชนิดต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย สารแอมโมเนีย สารหนู ปรอท ตะกั่ว และสารอินทรีย์ต่าง ๆ
  3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างเหมาะสม เช่นการกำจัดเหล็ก ความขุ่น ความกระด้างของน้ำ และการกรองสิ่งเจือปนต่าง ๆ เป็นต้น
  4. การดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำตามกฎหมาย กรณีน้ำเสียจะต้องดำเนินการ ตามรายละเอียดและระยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำเสียที่ออกมาจากชุมชน กิจกรรมต่าง ๆ ในโรงงานสถานที่ผลิต จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
  5. บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการบำบัดน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำใช้หรือน้ำเสียก็ต้องมีการตรวจวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้งาน หรือปล่อยกลับคืนสู่สภาพแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำดังกล่าวมีคุณภาพที่ดีทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ

ดัชนีสำหรับตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ

  1. ทางกายภาพ ได้แก่อุณหภูมิของน้ำ ค่าการนำไฟฟ้า ความเป็นกรด-ด่าง ค่าความขุ่น สี เป็นต้น
  2. ทางเคมี ได้แก่ค่าของแข็งทั้งหมด (Total Solid) ของแข็งละลายทั้งหมด (Total Dissolved Solid) ความกระด้างทั้งหมด (Total hardness) ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen) ค่าบีโอดี (Bilogical Oxygen Demand) ค่าซีโอดีหรือค่าความเน่าเสียของน้ำ (Chemical Oxygen Demand) สารซัลเฟต สารคลอไรด์ สารไนเตรท สารฟลูออไรด์ ธาตุเหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี เป็นต้น
  3. สารที่มีความเป็นพิษ ได้แก่ไซยาไนด์ สารหนู ปรอท ตะกั่ว ซิลีเนียม โครเมียม แคดเมียม แบเรียม เป็นต้น
  4. ทางชีวภาพ ได้แก่ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด (Total bacteria) โคลิฟอร์ม แบคทีเรียหรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมาจากอุจจาระ (Coliform bacteria) ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Fecal coliform bacteria) เป็นต้น
  5. สารป้องกัน หรือกำจัดศัตรูพืช และสัตว์พาหะต่าง ๆ (Pesticides) ได้แก่สารอะทราซีน (Atrazine) สารคลอเดน (Chlordane) สาร 2,4-ดี (2,4-D) สารดีดีที (DDT) สารดิลดริน (Dieldrin) สารเฮปตาคลอร์ (Heptachlor) สารลินเดน (Lindane) เป็นต้น

การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำเบื้องต้น

  1. การสังเกต สี กลิ่น ความขุ่นของน้ำว่าปกติหรือไม่
  2. ตักน้ำมาตั้งน้ำทิ้งเอาไว้ 24 – 48 ชั่วโมง ในภาชนะที่มีปากกว้าง ๆ ประมาณ 20 ลิตร แล้วสังเกตว่าน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ เช่นตกตะกอน สีเปลี่ยน มีกลิ่น หากน้ำตกตะกอนเป็นสีแดง หรือเป็นคราบน้ำมันแสดงว่าน้ำมีค่าความเป็นสนิมเหล็กสูง แต่หากน้ำเกิดคราบฝ้าสีขาวแสดงว่าน้ำมีค่าความกระด้างสูง
  3. นำน้ำมาต้มเพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดตะกรัน เกิดคราบสีต่าง ๆ กรณีเกิดตะกรันตามหม้อต้มน้ำแสดงว่าน้ำมีค่าความกระด้างสูง

การเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ

               แม้ว่าจะมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นด้วยการสังเกต ดมกลิ่น และนำน้ำไปทดสอบอย่างง่ายด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่ใกล้ตัว แต่การตรวจสอบดังกล่าวไม่สามารถครอบคลุมคุณภาพของน้ำในทุก ๆ ด้านได้ จึงควรเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการที่รับตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ โดยวิธีการตรวจคุณภาพน้ำที่ดีต้องจัดเก็บอย่างถูกต้อง เริ่มจากการเตรียมขวดเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ สามารถใช้ขวดชนิดใดก็ได้ แต่ควรมีฝาปิดสนิท และมีขนาดไม่น้อยกว่า 1 ลิตร ควรมีน้ำหนักเบา และไม่ตกแตกได้ง่าย ที่สำคัญขวดที่ใช้เก็บตัวอย่างน้ำ จะต้องเป็นขวดที่สะอาด หากนำขวดเก่ามาใช้งานใหม่ต้องล้างทำความสะอาดให้ดีก่อน และในขณะที่ตักตัวอย่างน้ำควรกลั้วภาชนะขวดด้วยน้ำที่ตักขึ้นมาแล้วเททิ้งอย่างน้อย 1 รอบ เพื่อให้มั่นใจว่าตัวอย่างน้ำในขวด จะเป็นตัวอย่างน้ำที่ต้องการตรวจวิเคราะห์จริง ๆ เมื่อเก็บตัวอย่างน้ำเสร็จแล้ว ควรปิดฝาขวดให้สนิท  ปิดฉลากให้ชัดเจน รายละเอียดบนฉลากต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้คราบถ้วน เช่น สถานที่เก็บตัวอย่าง วันและเวลาที่จัดเก็บตัวอย่าง แหล่งน้ำของตัวอย่าง ชื่อสกุลของผู้เก็บตัวอย่าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแสดงผลการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสีย ตรวจวัดคุณภาพน้ำ งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำ

น้ำคือองค์ประกอบสำคัญที่มนุษย์ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งการดื่มกินเพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งต้องมีความสะอาดและปลอดภัยต่อมนุษย์ในการดื่มโดยไม่ทำให้เกิดโรค หรือทำให้ได้รับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณภาพน้ำดื่มที่ดียังต้องไม่มีสี กลิ่น หรือรส และน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าวัฎจักรของน้ำในโลกจะสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่บางครั้งน้ำก็เกิดการปนเปื้อนจากโลหะ สิ่งสกปรก หรือมีออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ จำเป็นต้องผ่านการบำบัดอย่างเหมาะสมทั้งการเติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน หรือการกระตุ้นให้เกิดการตกตะกอนของสิ่งสกปรก เป็นต้น จำเป็นต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิเคราะห์น้ำก่อนนำมาใช้งานเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเกิดความเชื้อมั่นว่าน้ำที่นำมาบริโภคหรือใช้งานมีคุณภาพที่ดีเพียงพอ ซึ่งนอกจากน้ำใช้และน้ำบริโภคแล้ว น้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ และกิจกรรมต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อกำหนดมาตรการการบำบัดที่เหมาะสมเอาไว้ด้วย

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security