ความสำคัญในการกำจัดกากอุตสาหกรรม

กำจัดกากอุตสาหกรรม

กากอุตสาหกรรมมีหลายประเภททั้งชนิดที่ไม่มีอันตรายอย่างกากอาหาร หรือเศษไม้ต่างๆ ซึ่งสามารถจัดการด้วยวิธีการทั่วไป แต่ชนิดที่ต้องได้รับการจัดการเป็นพิเศษคือกากอุตสาหกรรมอันตราย (Hazardous waste) หรือของเสียที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสารที่ทำให้เกิดอันตราย หรือมีลักษณะเป็นสารเคมีอันตราย จำเป็นต้องดำเนินการกำจัดกากอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างเหมาะสม ได้แก่

 ลักษณะของโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม

การกำจัดกากอุตสาหกรรม

  • สารไวไฟ หรือน้ำมันประเภทต่าง ๆ (Ignitable substances) เป็นกากอุตสาหกรรมที่มีน้ำมันเตา กากน้ำมัน น้ำมันปนเปื้อน น้ำมันที่ใช้งานแล้ว น้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้ว
  • สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive Substances) เช่น กรดที่ผ่านการใช้งานแล้ว กรดที่เสื่อมสภาพ น้ำมันผสมกรด
  • สารที่ทำปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive Substances) เช่นกากปูนขาว ของเสียที่มีลักษณะเป็นตัวทำละลายอินทรีย์
  • สารพิษ (Toxic Substances) เช่นสีย้อมที่มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ ของเสียที่มีสารประกอบซัลไฟด์
  • สารที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่นของเสียที่มีส่วนประกอบของสารละลายจากโลหะหนัก แบตเตอร์รี่ชนิดที่ใช้ตะกั่ว นิเกิล แคดเมียม และอุปกรณ์ที่มีปรอทเป็นส่วนประกอบ

การกำจัดกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย

               กากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย เช่น กระดาษ, เศษเหล็ก ของเสียที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่ากากของเสียอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม แต่หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง จนเกิดการสะสมเป็นปริมาณมาก ๆ ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมได้ จึงเป็นหน้าที่ของโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียเหล่านี้ในการกำจัดอย่างถูกต้อง โดยอาจใช้บริการกับโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย สามารถจัดการกากอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง

ลักษณะของโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม

               โรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการรับจัดการกากอุตสาหกรรม คือโรงงานอุตสาหกรรมที่ขึ้นทะเบียนโรงงานลําดับประเภทที่ 101 105 และ 106 ตามบัญชีประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่จําแนกตามกฎกระทรวง ตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน ซึ่งมีลักษณะกิจการ จำแนกตามลําดับประเภทดังนี้

  1. ประเภทหรือชนิดโรงงานลักษณะที่ 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียโดยรวม (Central Waste Treatment) ลักษณะโรงงาน
  2. โรงงานบําบัดน้ำเสียรวม เป็นการลด / กําจัด / บําบัดมลพิษที่มีอยู่ในน้ำเสีย และนํากากตะกอนไปกําจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
  3. โรงงานเผาของเสียโดยรวม (เตาเผาเฉพาะ / เตาเผารวม) เป็นการบําบัดของเสียโดยการใช้ความร้อนสูงเพื่อกำจัดกากอุตสาหกรรม และลดความเป็นอันตรายของสารบางชนิด แต่จะต้องมีระบบบําบัดมลพิษทางอากาศ และการจัดการเถ้าที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง
  4. ประเภทหรือชนิดโรงงานลักษณะที่ 105 เป็นโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ลักษณะของโรงงาน
  5. โรงงานคัดแยกของเสีย จะทำนการแบ่งแยกของเสีย โดยของเสียที่สามารถใช้ประโยชนได้ หรือนำไป Recycle ได้จะถูกส่งไปยังโรงงานต่างๆ ที่นำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ และดำเนินการจัดการส่วนที่เหลือจากการคัดแยกอย่างถูกต้องต่อไป
  6. โรงงานฝังกลบของเสีย เป็นการนําของเสียไปฝังกลบในหลุมฝังกลบที่กำหนดเอาไว้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือหลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) หลุมฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secure Landfill)
  7. ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลักษณะกิจการที่ 106 เป็นการนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้งานแล้ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ลักษณะของโรงงานเป็นการนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
    • โรงงานที่นำสีน้ำมันหรือผลิตภัณฑอื่น ๆ จากน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว (Waste Oil Refining) มาจัดการ
    • การสกัดแยกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากกากหรือตะกอนน้ำมันดิบ (Waste Oil Separation)
    • การสกัดแยกโลหะที่มีค่า (Precious Metals Recovery)
    • กลั่นตัวทําละลายใช้งานแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (Solvents Recovery)
    • การผลิตเชื้อเพลิงทดแทน (Fuel Substitution)
    • การผลิตเชื้อเพลิงผสม (Fuel Blending)
    • ซ่อมหรือล้างบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานแล้ว
    • การปรับสภาพกรดหรือด่าง (Acid/Base Regeneration)
    • การปรับสภาพถ่านกัมมันตภาพรังสี (Activated Carbon Regeneration)
    • ผลิตเคมีภัณฑ์ สารเคมีซึ่งมีการนําเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมีที่ใช้งานแล้ว หรือเสื่อมสภาพมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต
    • ซ่อมแซม ปรับปรุง บดแยกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    • บด หรือล้างผลิตภัณฑ์เครื่องแก้ว

หลักเกณฑ์และกำจัดกากอุตสาหกรรม

ผู้ประกอบกิจการกำจัดกากอุตสาหกรรมเองภายในโรงงาน

  • การฝังกลบ ให้ดําเนินการฝังกลบ โดยจัดให้มีระบบกันซึม ระบบการตรวจสอบการรั่วไหล ระบบระบายก๊าซ และระบบบําบัดน้ําเสียตามความเหมาะสมของชนิดหรือประเภทของเสียนั้นๆ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.
  • การเผาของเสีย
  • การเผาของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ให้เผาโดยควบคุมค่ามาตรฐานของมลสารที่ระบายออกจากปล่องให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยลงวันที่ 17 มิถุนายน 2540
  • – ห้ามเผาของเสียที่เป็นอันตราย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.
  • การจัดการวิธีอื่นๆ เช่น การหมักทําปุ๋ย การถมที่ การนํากลับไปใช้ประโยชน์อีก ฯลฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.

               ผู้ประกอบกิจการโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมโดยส่งไปโรงงานรับกำจัดดำเนินการ โรงงานต้องขออนุญาตนําของเสียออกนอกบริเวณโรงงาน โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับของเสีย วิธีการจัดการ และผู้รับดําเนินการที่ได้รับอนุญาตจัดการกับของเสียนั้น ๆ โดยใช้แบบฟอร์มของกรมโรงงาน เพื่อจําแนกวิธีการจัดการ และต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน จึงจะสามารถเคลื่อนย้ายของเสียออกไปจัดการตามวิธีการที่ได้รับอนุญาต

               การกำจัดกากอุตสาหกรรมแบบผสมผสาน เป็นการจัดการของเสียภายใต้แนวคิดแบบผสมผสาน เริ่มตั้งแต่การลดการเกิดของเสียจากแหล่ง หรือกระบวนการที่ก่อให้เกิดของเสีย (Source Reduction) การนำกลับมาใช้ซ้ำของของเสีย / วัสดุที่ยังสามารถใช้งานได้ (Reuse) การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ในรูปแบบต่าง ๆ ก่อนนําส่วนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกไปบําบัด (Treatment) และการกําจัดของเสีย (Disposal) ด้วยวิธีการที่ปลอดภัย


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

หลักเกณฑ์และกำจัดกากอุตสาหกรรม

  • การฝังกลบ ให้ดําเนินการฝังกลบ โดยจัดให้มีระบบกันซึม ระบบการตรวจสอบการรั่วไหล ระบบระบายก๊าซ และระบบบําบัดน้ําเสียตามความเหมาะสมของชนิดหรือประเภทของเสียนั้นๆ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.การเผาของเสียการเผาของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ให้เผาโดยควบคุมค่ามาตรฐานของมลสารที่ระบายออกจากปล่องให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยลงวันที่ 17 มิถุนายน 2540- ห้ามเผาของเสียที่เป็นอันตราย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.การจัดการวิธีอื่นๆ เช่น การหมักทําปุ๋ย การถมที่ การนํากลับไปใช้ประโยชน์อีก ฯลฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.
  • การกำจัดกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย

    กากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย เช่น กระดาษ, เศษเหล็ก ของเสียที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่ากากของเสียอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม แต่หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง จนเกิดการสะสมเป็นปริมาณมาก ๆ ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมได้ จึงเป็นหน้าที่ของโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียเหล่านี้ในการกำจัดอย่างถูกต้อง โดยอาจใช้บริการกับโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย สามารถจัดการกากอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง

    การกำจัดกากอุตสาหกรรม

  • สารไวไฟ หรือน้ำมันประเภทต่าง ๆ (Ignitable substances) เป็นกากอุตสาหกรรมที่มีน้ำมันเตา กากน้ำมัน น้ำมันปนเปื้อน น้ำมันที่ใช้งานแล้ว น้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้วสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive Substances) เช่น กรดที่ผ่านการใช้งานแล้ว กรดที่เสื่อมสภาพ น้ำมันผสมกรดสารที่ทำปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive Substances) เช่นกากปูนขาว ของเสียที่มีลักษณะเป็นตัวทำละลายอินทรีย์สารพิษ (Toxic Substances) เช่นสีย้อมที่มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ ของเสียที่มีสารประกอบซัลไฟด์สารที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่นของเสียที่มีส่วนประกอบของสารละลายจากโลหะหนัก แบตเตอร์รี่ชนิดที่ใช้ตะกั่ว นิเกิล แคดเมียม และอุปกรณ์ที่มีปรอทเป็นส่วนประกอบ
  • Share:

    More Posts

    บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

    Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

    พื้นที่อับอากาศ

    พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

    Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

    ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

    ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

    Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

    EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

    Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

    Send Us A Message

    Free Environmental Law Update

    อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

    รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

    เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

    Sign up for free

    Malcare WordPress Security