ทำความรู้จักกับผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียคือ

ผู้ได้รับอนุญาตในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแล ดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ อากาศ รวมถึงกากอุตสาหกรรมด้วย หรือควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้สำหรับการควบคุม บำบัด หรือกำจัดมลพิษชนิดต่าง ๆ ที่ติดตั้งสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษภายในโรงงาน

คุณสมบัติของผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย

คุณสมบัติตามประกาศของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การจะเป็นผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตรงตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ดังนี้ค่ะ

  • วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือคณะวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) สาขาสิ่งแวดล้อม หรือ
  • วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) สาขาที่มีวิชาเรียนด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต (หรือตามที่กรมโรงงานเห็นชอบ) หรือ
  • วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) สาขาที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษจากหน่วยงานฝึกอบรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้การรับรอง

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย
  1. สมัครผ่านเว็บไซต์ระบบการขึ้นทะเบียนและแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ที่เว็บไซต์http://nsers.diw.go.th/DIW/Default.aspx
  2. ทำการ Login โดยใช้ Username เป็นเลขตามบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก และกำหนดค่า Password เป็นวันเดือนปีเกิด โดยเรียงจากปีค.ศ. เดือน และวัน ตัวอย่างเช่น วันเดือนปีเกิด 5 พฤษภาคม 2521 Password คือ 19780505
  3. เมื่อเข้าสู่ระบบให้ใส่รายละเอียดข้อมูลส่วนตัว ให้เรียบร้อย กรณีพบว่ารายละเอียดไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัว โดยทำตามรายละเอียดในหัวข้อ “การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว” และหัวข้อ “การแก้ไขรหัสผ่าน”
  4. เมื่อใส่ข้อมูลส่วนตัวเรียบร้อยแล้วเลือกปุ่ม “ขอขึ้นทะเบียนครั้งแรก”
  5. จากนั้นระบบจะระบุว่าให้รอการพิจารณาอนุมัติการขอขึ้นทะเบียนครั้งแรกจากเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน โดยใช้เวลาในการพิจารณาคำขอไม่เกิน 7 วันทำการ
  6. เมื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติแล้ว ผู้ขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียสามารถเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่กำหนดเอาไว้
  7. กรณีลืมรหัสผ่าน ให้คลิกปุ่ม “ลืมรหัสผ่าน” แล้วกรอก Email และ Password (ใหม่) ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “ขอรหัสผ่านใหม่”
  8. ระบบของกรมโรงงานจะส่งข้อความเข้า Email ที่แจ้งไว้ เพื่อแจ้ง Username และ Password ใหม่ จากนั้นให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษเข้าไปที่ Email เพื่อยืนยัน และเริ่มใช้งานรหัสผ่านใหม่ โดยผู้ลงทะเบียนต้องคลิกที่ลิงค์ในอีเมล์เพื่อเข้าสู่ระบบ
  9. กรณีลืม Email ที่ลงทะเบียนเอาไว้ในระบบ ผู้ลงทะเบียนต้องทำการติดต่อกลุ่มกำกับบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน สำนักเทคโนโลยีน้ำและสิ่งแวดล้อมโรงงาน ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  10. การขอต่ออายุ เมื่อสถานะผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียประเภทบุคคล ใกล้จะหมดอายุ (ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน) ระบบจะทำการแจ้งเตือน เพื่อให้ดำเนินการขอต่ออายุ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ สามารถดำเนินการต่ออายุได้โดยคลิกไปที่ปุ่ม “ขอต่ออายุ”
  11. กรณีต้องการแจ้งเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล หรือรายละเอียดต่าง ๆ อย่างคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุล เมื่อกรอกข้อมูลที่ต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว ให้แนบไฟล์เอกสารประกอบการพิจารณา ซึ่งต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf ได้แก่สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาเอกสารการเปลี่ยนแปลงชื่อ – นามสกุล พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาเอกสาร การตั้งชื่อไฟล์แนบควรตั้งเป็นชื่อผู้ลงทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ
  12. จากนั้นระบบจะแสดงข้อความ “อยู่ระหว่างการพิจารณา” ของเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งคำขอจะใช้เวลาพิจารณาอนุมัติไม่เกิน 7 วันทำการ
  13. เมื่อกรอกข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว หากต้องการส่งข้อความถึงเจ้าหน้าที่ ผู้ลงทะเบียนสามารถกรอกรายละเอียดเพิ่มเติมถึงเจ้าหน้าที่ได้ในช่อง “หมายเหตุถึงเจ้าหน้าที่” เมื่อกรอกข้อมูล และแนบไฟล์ต่าง ๆ ที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม “บันทึกข้อมูล” ระบบจะแสดงข้อความ เพื่อขอคำยืนยันการบันทึกข้อมูล
  14. คลิกปุ่ม “ส่งคำขอเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล” ระบบจะแสดงข้อความเพื่อยืนยันการส่งคำขอแก้ไข เมื่อทำการยืนยันการส่งคำขอแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งข้อความมาว่า “รายการคำขออยู่ระหว่างการขออนุมัติ โปรแกรมจะไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ในขณะที่ข้อความนี้ปรากฎ” ข้อมูลจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ต้องรอจนกว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมจะพิจารณาคำขอที่ดำเนินการไปแล้วให้แล้วเสร็จก่อน โดยใช้เวลาไม่เกิน 7 วันทำการ จึงจะสามารถส่งคำขอแก้ไขอื่น ๆ ได้อีก
  15. เมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณาคำขอเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแจ้งสถานะเรื่องที่ยื่นขออนุมัติให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียทราบ ในระบบออนไลน์ของทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม

    

โรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อรับผิดชอบระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  1. โรงงานที่มีปริมาณน้ำเสียตั้งแต่ 125 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (ยกเว้นน้ำหล่อเย็น) หรือมีปริมาณสิ่งสกปรกก่อนเข้าระบบบำบัด ตั้งแต่ 200 กิโลกรัมต่อวันขึ้นไป
  2. โรงงานที่มีการใช้โลหะหนักในกระบวนการผลิต และมีปริมาณน้ำทิ้งตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไปและมีปริมาณของโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำเสียของโรงงาน ดังนี้
  • ปริมาณสังกะสี ตั้งแต่ 250,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณโครเมียม ตั้งแต่ 25,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณอาร์เซนิค หรือสารหนู ตั้งแต่ 12,500 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณทองแดง ตั้งแต่ 50,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณปรอท ตั้งแต่ 250 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณแคดเมียม ตั้งแต่ 1,500 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณแบเรียม ตั้งแต่ 50,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณเซเลเนียม ตั้งแต่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณตะกั่ว ตั้งแต่ 10,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณนิคเกิล ตั้งแต่ 10,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  • ปริมาณแมงกานีส ตั้งแต่ 250,000 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป
  1. โรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับเหล็ก และเหล็กกล้า ดังต่อไปนี้
  • โรงงานที่มีเตาอบ หรือมีการใช้น้ำกรด หรือสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
  • โรงงานที่มีเตาหลอมเหล็กปริมาตรรวมทั้งหมด (Total Capacity) ตั้งแต่ 5 ตันต่อครั้ง (Batch) ขึ้นไป
  1. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับปิโตรเคมีคอล ที่นำวัตถุดิบมาจากผลพลอยได้ของโรงงานกลั่นน้ำมันมาใช้ ด้วยปริมาณวัตถุดิบตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
  2. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติทุกประเภท มีการคัดแยก หรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)
  3. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับคลอ-แอลคาไล ที่ใช้เกลือแกง (NaCI) เป็นวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิตโซดาแอ๊ช โซดาไฟ กรดเกลือ คลอรีน และผงฟอกขาว ที่มีกำลังผลิตภายในโรงงานตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
  4. โรงงานประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตปูนซีเมนต์ทุกขนาด
  5. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุงแร่ หรือหลอมโหละที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
  6. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตเยื่อกระดาษที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
  7. โรงงานประกอบกิจการด้านการกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Oil Refinery) ทุกขนาด

สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

ผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียคือ

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ผู้ได้รับอนุญาตในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแล ดำเนินการ และบำรุงรักษาระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ อากาศ รวมถึงกากอุตสาหกรรมด้วย หรือควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้สำหรับการควบคุม บำบัด หรือกำจัดมลพิษชนิดต่าง ๆ ที่ติดตั้งสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษภายในโรงงาน

คุณสมบัติของผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย

คุณสมบัติตามประกาศของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การจะเป็นผู้ควบคุมมลพิษ และระบบบำบัดน้ำเสียนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตรงตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ดังนี้ค่ะ
วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือคณะวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) สาขาสิ่งแวดล้อม หรือ
วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) สาขาที่มีวิชาเรียนด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต (หรือตามที่กรมโรงงานเห็นชอบ) หรือ
วุฒิการศึกษาต้องจบไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) สาขาที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษจากหน่วยงานฝึกอบรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้การรับรอง

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security