พื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คืออะไร

พื้นที่อับอากาศ

               พื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คือสถานที่ทำงานซึ่งมีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกมักคับแคบ จึงส่งผลให้ความร้อนและอากาศระบายได้ไม่เพียงพอ จนเกิดการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หรือเป็นสารไวไฟ หรือมีระดับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ลักษระของพื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าวได้แก่ถังบรรจุน้ำมัน ถังหมักด้วยจุลินทรีย์ ไซโลเก็บของแห้ง ท่อขนาดใหญ่ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตาขนาดใหญ่ หรือห้องใต้ดิน เมื่อแก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่อับอากาศไม่สามารถระบายออกไปได้ ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายในอาจสูดดมแก๊สพิษที่สะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าวเข้าไปในร่างกาย ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ หรือหากเกิดการสะสมของแก๊สที่ติดไฟได้ง่าย ก็อาจส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ หรือระเบิดที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศได้ นอกจากนี้ความคับแคบของสถานที่ปฏิบัติงานเมื่อเกิดอุปกรณ์หรือวัสดุตกหล่นลงมาก็จะหลีกเลี่ยงได้ยาก รวมทั้งสถานที่อับอากาศมักมีแสงสว่างจำกัดเกิดความเสี่ยงที่จะสะดุดหกล้ม หรือชนสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดเหตุที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานี้ การเข้าไปให้ความช่วยเหลือก็ยังทำได้ยากด้วยความจำกัดของพื้นที่เข้าออก เกิดเป็นความจำเป็นที่การปฏิบัติงานในพื้นที่ Confined Space จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลจะช่วยลดโอกาสการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง

               อย่างไรก็ดีเมื่อทราบเป็นอย่างดีแล้วว่าพื้นที่ Confined Space มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายก็สามารถกำหนดมาตรการป้องกัน เพื่อลดโอกาสการเกิดอันตรายต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  1. การตรวจวิเคราะห์คุณภาพอากาศในพื้นที่อับอากาศ เพื่อให้มั่นใจว่าอากาศที่อยู่ภายในบริเวณ Confined Space มีความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง ทั้งตรวจสอบปริมาณออกซิเจนในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงก๊าซพิษที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ด้วย
  2. การเตรียมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลจะช่วยลดโอกาสการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากป้องกันสารพิษ หมวกนิรภัยเพื่อลดแรงกรณีที่มีสิ่งของตกหล่นจากที่สูงลงมา เข็มขัดนิรภัยเมื่อพื้นที่อับอากาศมีความเสี่ยงที่จะตกหล่นจากที่สูงได้ง่าย เพื่อไม่ให้เสี่ยงกับการตกกระแทก หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งต้องพิจารณาตามสภาพของพื้นที่อับอากาศแต่ละแห่งด้วย
  3. การเตรียมแสงสว่างให้เพียงพอ เมื่อ Confined Space เป็นพื้นที่มีช่องระบายอากาศและทางเข้าออกจำกัด จึงมักเกิดปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอตามไปด้วย เมื่อแสงสว่างไม่เพียงพอนอกจากจะทำให้ยากกับการปฏิบัติงานแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการมองทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสม อย่างการหกล้ม เดินชนสิ่งกีดขวาง หรืออันตรายจากการใช้เครื่องมือเครื่องจักรอย่างไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างส่วนบุคคล หรือเพิ่มแสงสว่างในพื้นที่ปฏิบัติงานให้เพียงพอก่อนทำงาน
  4. การหลีกเลี่ยงไม่นำสารไวไฟ หรือสิ่งที่ติดไฟได้ง่ายเข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติงาน เนื่องจากใน Confined Space นั้น มีโอกาสที่จะเกิดการสะสมของก๊าซไวไฟจนถึงระดับที่เป็นอันตรายโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดประกายไฟทั้งจากอุปกรณ์การทำงานบางชนิด หรือพฤติกรรมส่วนบุคคลอย่างการสูบบุหรี่ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงถึงชีวิตได้
  5. การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานใน Confined Space เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศาอย่างพื้นที่อับอากาศจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีความปลอดภัย จำเป็นต้องทำการฝึกสอนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงวิธีการทำงานที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างถูกต้องด้วย
  6. การจัดเตรียมทีมงานสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นการเตรียมทีมงานเข้ารับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ จึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก และทีมงานรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินควรได้รับการฝึกอบรมให้มีความพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
  7. การกำหนดผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้เข้าปฏิบัติงานใน Confined Space นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เกิดการสูญหาย หรือเกิดอุบัติเหตุจะได้ง่ายต่อการรับมือ การเคลื่อนย้ายและอพยพผู้คนออกจากพื้นที่อับอากาศ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดผู้ทำหน้าที่ควบคุมงานที่ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานทุก ๆ คนในพื้นที่อับอากาศ รวมทั้งควบคุมไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังพื้นที่อับอากาศได้
  8. การตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศแม้ว่าจะไม่พบอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตในทันที แต่การได้รับสารพิษ หรือหายใจในระดับที่ออกซิเจนไม่เพียงพออย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก อย่างโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โรคที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางที่ผิดปกติ รวมถึงสภาวะจิตใจเมื่อทำงานอย่างระแวดระวังและตึงเครียดเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้สุขภาพร่างกายเกอดปัญหาและไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติงานได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความจำเป็นที่จะต้องตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางรับมือกับปัญหาสุขภาพได้อย่างทันท่วงที

               แม้ว่าการทำงานใน Confined Space จะมีความเสี่ยง และต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างสูง แต่หากมีการเตรียมความพร้อมที่ดีและเหมาะสม เชื่อได้ว่าหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นมาจริง ๆ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะสามารถตั้งสติและหาวิธีการรับมือได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับความรุนแรงของอันตรายลดลง และเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุดได้เป็นอย่างดี


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย และ งานใน พื้นที่อับอากาศ โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security