มาเรียนรู้กับพื้นที่อับอากาศ EP.1

พื้นที่อับอากาศ สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด และการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ส่งผลให้อากาศภายในไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

working about confined space

เรียนรู้กับพื้นที่อับอากาศ Confined Spaces

1.พื้นที่อับอากาศ หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยได้ ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่นถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ โดยการพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็น พื้นที่อับอากาศ  มีปัจจัยในการพิจารณาดังนี้

  1. พื้นที่ซึ่งปริมาตรมีขนาดเล็ก แก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นไม่สามารถระบายออกได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณนั้น อาจสูดดมเอาแก๊สพิษเข้าไปในร่างกายหรือมีออกวิเจนไม่เพียงพอ รวมถึง อาจมีแก๊สที่ติดไฟได้ในบริเวณนั้น
    1. ผู้ปฏิบัติงานคนอื่น ๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ จะเข้าไปสังเกตการณ์ หรือช่วยเหลือผู้ที่กำลังปฏิบัติงานได้ยาก
    1. ช่องเปิด ทางเข้าออก ที่อยู่ไกลจากจุดปฏิบัติงานมีขนาดเล็ก หรือมีจำนวนจำกัด
อันตรายในพื้นที่อับอากาศ

2.อันตรายในพื้นที่อับอากาศการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ

อาจมีอันตรายต่อสุขภาพพนักงานและความเสียหายอย่างอื่น เช่น ทรัพย์สิน หรืออาจถึงขั้นชีวิตเลย โดยสรุปพอสังเขปดังนี้

2.1 ไฟไหม้เนื่องจากการระเบิดของแก๊สที่ติดไฟได้ ได้แก่แก๊สในตระกูลมีเธน

2.2 การขาดออกซิเจน

2.3 อันตรายจากการสูดดมแก๊สพิษอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น

2.3.1 คาร์บอนมอนนอกไซด์ Carbonmonoxide

เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และหากมีปริมาณมากจะเป็นพิษ เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ประมาณ 60% ของปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดมาจากไอเสียของรถยนต์  ด้วยเหตุนี้แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์จึงมีปริมาณสูงในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น 

นอกจากนี้ ยังมาจากอีกหลายแหล่งกำเนิด เช่น จากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยานพาหนะ หรือ การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นไฟไหม้ป่า เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอดแล้วจะแทรกซึมเข้าไปกับระบบไหลเวียนของเลือด ทำให้การทำงานของต่อมและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงสำหรับคนที่เป็ฯโรคหัวใจ เมื่อสัมผัสคาร์บอนมอนนอกไซด์เข้าไปมักจะเกิดผลที่รุนแรง ส่วนคนปกติทั่วไปจะเกิดผลต่างกันขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคน ได้แก่ความสามารถในการมองเห็น ในการทำงานลดลง ทำให้เฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง

2.3.2 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ Hydrogen Sulphide

ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นแก๊สติดไฟได้ เมื่อติดไฟแล้วจะให้เปลวไฟสีน้ำเงินและเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา เป็นแก๊สที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า ละลายได้ในน้ำ แก๊สโซลีน แอลกอฮอล์ เกิดจากการทำปฏิกิริยาของซัลไฟด์ของเหล็กจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ที่มีซัลเฟอร์ เป็นองค์ประกอบผลผลิตจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ปิโตรเลียมยางสังเคราห์ โรงงานน้ำตาล ในการสัมผัสไฮโดรเจน-ซัลไฟด์เพียงเล็กน้อยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและปอด หากสูดดมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้

2.3.3 ไนโตรเจนไดออกไซด์ Nitrogendioxide

เป็นแก๊สสีน้ำตาลอ่อน เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หากสูดดมเข้าไปจะทำให้ปอดระคายเคือง และภูมิต่างทานการติดเชื้อของระบบหายใจลดลง

2.4 ประสิทธิภาพของการมองเห็นลดลง เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ

2.5 เสียงดัง

2.6 อุณหภูมิสูง

2.7 การหนีออกจากพื้นที่เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินมีอุปสรรค

3.การตรวจวัดความปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ

ปัจจัยอันตรายจากการทำงานใน พื้นที่อับอากาศ เกี่ยวข้องกับปริมาณอากาศหรือแก๊สส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน การจัดการความปลอดภัย การตรวจสอบสภาพอากาศใน พื้นที่อับอากาศ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

เจอกันใหม่กับบทความหน้า มาเรียนรู้ พื้นที่อับอากาศ EP.2

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security