กากอุตสาหกรรม กำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

หากโรงงานไหนไม่มีการขออนุญาตเกี่ยวกับการกำจัดกากอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจะไม่ต่อใบอนุญาตโรงงานให้ จะกลายเป็นโรงงานเถื่อน

กากอุตสาหกรรม คืออะไร อ่านได้ที่ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กากของเสียอุตสาหกรรม ตอนที่ 1

กำจัดกากอุตสาหกรรม

ในการกำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างไรให้ถูกวิธี ถูกกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ตามกฎหมายเมื่อมีกากอุตสาหกรรมเกิดขึ้น สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องดำเนินการหลัก ๆ มี 2 ข้อคือ

1.ต้องรายงาน

2.ต้องขออนุญาต

สำหรับผู้ก่อกำเนิด มีสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างแรกคือ ก่อนอื่นต้องทราบว่าโรงงานของเรามีกากอะไรบ้าง กากนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ จากนั้นเราต้องศึกษาว่ากากนั้นมีรหัสประจำตัวอะไร เพราะเราต้องใช้รหัสพวกนี้กรอกในแบบฟอร์มการขออนุญาตโดยกากแต่ละชนิดจะมีรหัส 6 หลักแตกต่างกันไป เช่น 030105 คือขี้เลื่อยหรือเศษไม้ หรือ 150202 เศษผ้าหรือถุงมือปนเปื้อนน้ำมัน

ส่วนวิธีการกำจัดกากอุตสาหกรรมก็มีรหัสเช่นกันโดยกำหนดเป็นตัวเลขสามหลัก เช่น 041 คือใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน (ถ้าอยากทราบว่ารหัสชนิดไหนกากอะไร หรือการกำจัดแบบไหนต้องใช้รหัสอะไร) สามารถดูหรือดาวน์โหลดได้ที่ www.diw.go.th หัวข้อ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548

เมื่อทราบรหัสกาก และ รหัสวิธีการกำจัดกากแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำรายงาน และขออนุญาตไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่เราต้องการเก็บกากไว้เกิน 90 วัน จะต้องยื่น สก.1  หรือหากต้องการนำกากออกนอกโรงงานเพื่อไปกำจัด ให้ยื่น สก.2 และแจ้งข้อมูลการขนส่งทุกครั้งที่นำออก อย่าลืมทำ ใบกำกับการขนส่งของเสียอันตราย Manifest

ถ้าเป็นกากอันตราย ต้องเลือกผู้ขนส่งที่มีรหัส 13 หลัก และทำการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของเรา ในการขนส่งกากไปกำจัด ถ้าผู้ขนส่งที่เป็นตัวแทนของเราทำอะไรผิดพลาด เราซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

สำหรับกากที่ไม่เป็นอันตราย โรงงานสามารถจ้างผู้ขนส่งรายไหนก็ได้ ที่เราเห็นว่ามีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่จำเป็นต้องมีรหัสประจำตัว 13 หลัก แต่อย่าลืมต้องขออนุญาตก่อน

กรณีที่เราจัดการของเสียภายในโรงงานเอง ก็ต้องขอความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน และทุกปีต้องส่งรายงานประจำปี โดยการยื่น สก.3 ภายในวันที่ 1 มีนาคม

สรุปว่าสิ่งที่ผู้ก่อกำเนิดต้องทำคือ

โรงงานของเรามีกากอะไรบ้าง

1.ต้องพิจารณาว่าโรงงานของเรามีกากอะไรบ้าง เป็นชนิดอันตรายหรือไม่อันตราย และมีปริมาณเท่าไหร่

2.ยื่นใบอนุญาตขอกำจัดกากเหล่านั้น

3.ทำรายงานประจำปี

ทั้งนี้การขอใบอนุญาต หรือ การทำรายงานนั้น สามารถทำได้ทั้งแบบยื่นเอกสารและแบบยื่นทางอินเตอร์เน็ต

สำหรับ   WT ที่ขนส่งของเสียอันตราย นอกจากต้องมีรหัสประจำตัว 13 หลัก ก็ต้องมีใบ วอ.8 ด้วย

กรณีเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง ต้องส่งรายงานตามแบบกำกัดการขนส่ง 03 ภายใน 7 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ

ส่วนผู้รับบำบัดและกำจัดกาก หากรับกำจัดของเสียอันตรายก็ต้องมีรหัสประจำตัว 13 หลัก และทุกปีต้องยื่น สก.5 เพื่อรายงานประจำปีด้วย

กรณีมีกากเกิดขึ้นจากการบำบัด กำจัด หรือการรีไซเคิล จะต้องแต่งตั้งตัวแทนรับกากไปกำจัดต่อ และทุกครั้งที่ร้บกากมาจัดการ ผู้รับบำบัดและกำจัดกากจะต้องทำ สก.6 เป็นบัญชีเพื่อแสดงการรับมอบกาก  ในการบำบัดหรือกำจัดกากทุกครั้ง ผู้รับบำบัดและกำจัดกากจะต้องทำ สก.7 เป็นบัญชีเพื่อแสดงรายการกากที่ทำการบำบัด หรือกำจัดแล้ว

กรณีมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น เช่นรายการกากที่รับมาไม่ตรงกับที่ข้ออนุญาต จะต้องส่งรายงานแบบกำกับการขนส่ง 04 หรือหากได้รับกากอันตรายที่ไม่มีใบอนุญาตนำออกนอกโรงงานหรือ สก.2  ผู้รับบำบัดและกำจัดกากจะต้องส่งรายงานตามแบบกำกับการขนส่ง 05

กรณีที่เป็นโรงงานทำเชื้อเพลิงผสมหรือวัตถุดิบทดแทน จะต้องส่ง สก.8 

ส่วนโรงเตาเผาที่รับเชื้อเพลิงผสมหรือรับวัตถุดิบทดแทน จะต้องส่ง สก.9

จะเห็นว่าทุกขั้นตอน จะต้องมีการขออนุญาตและต้องยื่นแบบกำกับการขนส่งทุกครั้ง

ในการกำจัดกากอุตสาหกรรมจะต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี ถูกกฎหมาย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เมื่อเราทำถูกต้องตามกฎหมาย จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง โรงงานของเราจะเติบโตแบบยั่งยืน เพราะจะไม่ถูกกีดกันและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security