มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กากของเสียอุตสาหกรรม ตอนที่ 1

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กากของเสียอุตสาหกรรม ตอนที่ 1

กากของเสียอุตสาหกรรม

เส้นทางการกำจัด กากของเสียอุตสาหกรรม ต้องอาศัยหน่วยงานถึงสามฝ่ายในการกำจัด ได้แก่ โรงงานก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม ผู้ขนส่งกาก และ โรงงานผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม ( บ. รับ กํา จัด กากอุตสาหกรรม )

กากของเสียอุตสาหกรรม หมายถึง

สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพ การผลิต การบำบัดมลพิษ การซ่อมบำรุงเรื่องจักร หรืออุปกรณ์จนถึงการรื้อถอน หรือ ก่อสร้างอาคารภายในบริเวณโรงงาน รวมถึงกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ของเสียอันตรายที่เกิดจากอาคารสำนักงาน ที่พักคนงานที่อยู่ภายในบริเวณโรงงาน

หรือ ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต รวมถึงวัตถุดิบเสื่อมสภาพ ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพ ของเหลือใช้ ภาชนะบรรจุของปนเปื้อน ประเทศไทยเรามีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องประมาณ 70,000 กว่าแห่ง แต่ละปีจะมีกากของเสียอุตสาหกรรม มากถึง 37 ล้านตัน

ประเภทกากอุตสาหกรรม  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

1.กากของเสียอุตสาหกรรมอันตราย ( Hazardous waste )

หมายถึง ของเสียที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีองค์ประกอบของสารที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือสารเคมีอันตราย ได้แก่

  1. สารไวไฟ น้ำมัน ประเภทต่าง ๆ Ignitable Substances เช่น ของเสียที่มีน้ำมันเตา กากน้ำมัน น้ำมันใช้แล้ว น้ำมันเครื่องใช้แล้ว
    • สารกัดกร่อน Corrosive Substances  เช่น กรดใช้แล้ว กรดเสื่อมสภาพ น้ำมันผสมกรด
    • สารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย Reactive Substances  เช่น กากปูนขาวของเสียที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์
    • สารพิษ Toxic Substances  เช่น สีย้อมที่เป็นสารอินทรีย์ ของเสียที่มีสารประกอบซัลไฟด์
    • สารที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น นิเกิล แคดเมียม อุปกรณ์ที่มีปรอท

2.กากของเสียอุตสาหกรรมไม่อันตราย ( Non-Hazardous waste )

ของเสียที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระดาษ เศษเหล็ก ซึ่งหากกากของเสียอุตสหกรรมไม่ได้รับการจัดการ หรือกำจัดอย่างถูกต้อง จะส่งผลเสียมากมายต่อสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

เส้นทางกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม

จุดสำคัญในเส้นทางนี้คือ โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากของเสียอุตสาหกรรม เราเรียกว่า WG. เมื่อมีกากเกิดขึ้น โรงงานก็มีหน้าที่ในการจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมายและต้องรายงานการจัดการกากเหล่านั้นด้วย  โดยต้องไปขออนุญาติบำบัดหรือกำจัดจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (สก.2)

ในการบำบัดหรือกำจัดนั้น โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรมจะดำเนินการเองหรือส่งให้ผู้อื่นจัดการแทนก็ได้ หากส่งให้ผู้อื่นบำบัดหรือกำจัด ก็จะต้องมีการขนส่ง Waste Transporter ผู้ขนส่งกากนั้นเราเรียกว่า WT.  ทำหน้าที่ขนส่งกากอุตสาหกรรมจาก WG ไปส่งให้โรงงานผู้รับบำบัดและกำจัดกาก Waste Processor. โดยใช้ เทคโนโลยี กำจัด กากอุตสาหกรรม

ในเส้นทางการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมนั้นจะมีสามฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง

1.โรงงานก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม หรือ WG.

2.ผู้ขนส่งกาก หรือ WT.

3.โรงงานผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม WP. ( รับซื้อกากอุตสาหกรรม )

ในการกำจัดกากอุตสาหกรรม ยังมีเรื่องราวของวิธีกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม และจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างไรให้ถูกวิธี รวมถึง กฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรม ซึ่งเราจะกล่าวในบทความต่อไป

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security