การกระจายตัวของควันจากปล่องควัน
การร้องเรียนเรื่องกลิ่นมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดกลิ่นของมลสารเฉพาะตัวที่ปล่อยออกจากปล่องควันหรือปล่องระบายอากาศนั้น สังเกตได้ว่าการเดินทางของกลิ่นไม่แน่นอนในแต่ละวันและแต่ละฤดู วันนี้เรามาศึกษาลักษณะการกระจายของควันหรือมลสารที่ปล่อยออกจากปล่องควัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการร้องเรียนจากชุมชนข้างเคียงกันค่ะ
การใช้ปล่องควันเป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อการลดความเข้มข้นของมลสารโดยการเจือจางในบรรยากาศ โดยทั่วไปมักมีความสูงของปล่องควันไม่น้อยกว่า 2.5 เท่าของความสูงอาคารสูงสุดที่อยู่บริเวณนั้น ซึ่งระดับความสูงนี้จะช่วยให้การกระจายของ Plume ได้ประมาณ 5 – 10 เท่าของความสูงอาคารนั้น สำหรับบริเวณ ยอดสุดของปล่องควันไม่ควรติดตั้งที่กำบังฝนหรือหมวก เพราะจะทำให้การกระจายควันไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดี
การกระจายตัวของควัน (Plume) ในบรรยากาศมีลักษณะ 3 แบบ ดังนี้
1. แบบมลสสารเคลื่อนตัวไปตามล
2. แบบมลสารฟุ้งกระจายไปทุกทิศทุกทางจากการแปรปรวนของบรรยากาศ
3. แบบมลสารฟุ้งกระจายไปทุกทิศทุกทางเนื่องจากความแตกต่างของความเข้มข้น
ดังนั้นลักษณะภูมิอากาศจึงมีความสำคัญต่อการกระจายควันมาก ดังนี้
a) เป็นแบบเคลื่อนที่เป็นแนวตรง
(ไม่ค่อยมีการขยายกว้างของควัน)บรรยากาศมีความปั่นป่วนน้อย
b) เป็นแบบที่มีกระแสวนขนาดใหญ่
(มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีแดดจัด ควันจะเคลื่อนไหวเป็นวงกว้างแต่มีการกระจายน้อยมาก)
c) เป็นแบบที่มีกระแสวนขนาดต่างๆ
(ซึ่งจะเกิดในช่วงเวลากลางวันในสภาพบรรยากาศปกติ จะช่วยให้ควันเคลื่อนที่เป็นวงกว้างและกระจายได้มาก เคลื่อนที่ไปตามทิศทางลม)
เมื่อมาพิจารณาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขี้น การกระจายตัวของกลุ่มควัน ขึ้นกับอุณหภูมิของบรรยากาศ ณ ระดับความสูงต่าง ๆ จะสามารถทำให้ลักษณะของกลุ่มควันที่ปล่อยออกจากปล่องควันมีความแตกต่าง ดังต่อไปนี้
(ก) แบบ Looping (มักเกิดในฤดูร้อนที่มีท้องฟ้าแจ่มใส)
(ข) แบบ Coning (มักเกิดในเวลาที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือเกิดในเวลากลางคืน)
(ค) แบบ Fanning (มักเกิดเมื่อระดับบนยอดปล่องควันมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับล่าง)
(ง) แบบ Fumigation (มักเกิดจากลมบกลมทะเล)
(จ) แบบ Lofting (มักเกิดในเวลาเย็น)
(ฉ) แบบ Trapping (มักเกิดเมื่อระดับบนและระดับกลางของปล่องควันมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับล่าง)
เมื่อทราบถึงลักษณะการกระจายตัวของกลุ่มควันที่ลอยออกมาจากปล่องควันแล้ว ถ้าต้องการทราบว่าความสูงของกลุ่มควันที่ลอยขึ้นจากปล่องควันจะมีความสูงเท่าไร ก็สามารถคำนวณได้จาก 2 สมการ นี้
= ความสูงของกลุ่มควันลอยเหนือปากปล่องควัน
Vs = ความเร็วของก๊าซที่ลอยขึ้นภายในปล่องควัน, เมตร/วินาที
d = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล่องควัน, เมตร
u = ความเร็วลม, เมตร/วินาที
p = ความดันบรรยากาศ, มิลลิบาร์
= ผลต่างของอุณหภูมิก๊าซภายในปล่องควันกับอุณหภูมิของบรรยากาศ, K
Ts = อุณหภูมิก๊าซภายในปล่องควัน
ที่มา: ดร.เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม;