การกระจายตัวของควันจากปล่องควัน

การร้องเรียนเรื่องกลิ่นมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดกลิ่นของมลสารเฉพาะตัวที่ปล่อยออกจากปล่องควันหรือปล่องระบายอากาศนั้น สังเกตได้ว่าการเดินทางของกลิ่นไม่แน่นอนในแต่ละวันและแต่ละฤดู วันนี้เรามาศึกษาลักษณะการกระจายของควันหรือมลสารที่ปล่อยออกจากปล่องควัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการร้องเรียนจากชุมชนข้างเคียงกันค่ะ

การกระจายตัวของควันจากปล่องควัน

          

          การร้องเรียนเรื่องกลิ่นมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดกลิ่นของมลสารเฉพาะตัวที่ปล่อยออกจากปล่องควันหรือปล่องระบายอากาศนั้น สังเกตได้ว่าการเดินทางของกลิ่นไม่แน่นอนในแต่ละวันและแต่ละฤดู วันนี้เรามาศึกษาลักษณะการกระจายของควันหรือมลสารที่ปล่อยออกจากปล่องควัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการร้องเรียนจากชุมชนข้างเคียงกันค่ะ

การใช้ปล่องควันเป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อการลดความเข้มข้นของมลสารโดยการเจือจางในบรรยากาศ โดยทั่วไปมักมีความสูงของปล่องควันไม่น้อยกว่า 2.5 เท่าของความสูงอาคารสูงสุดที่อยู่บริเวณนั้น ซึ่งระดับความสูงนี้จะช่วยให้การกระจายของ Plume ได้ประมาณ 5 – 10 เท่าของความสูงอาคารนั้น สำหรับบริเวณ ยอดสุดของปล่องควันไม่ควรติดตั้งที่กำบังฝนหรือหมวก เพราะจะทำให้การกระจายควันไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดี

การกระจายตัวของควัน (Plume) ในบรรยากาศมีลักษณะ 3 บบ ดังนี้

     1.   แบบมลสสารเคลื่อนตัวไปตามล

     2.  แบบมลสารฟุ้งกระจายไปทุกทิศทุกทางจากการแปรปรวนของบรรยากาศ

     3.   แบบมลสารฟุ้งกระจายไปทุกทิศทุกทางเนื่องจากความแตกต่างของความเข้มข้น

 

ดังนั้นลักษณะภูมิอากาศจึงมีความสำคัญต่อการกระจายควันมาก ดังนี้

 

 a)  เป็นแบบเคลื่อนที่เป็นแนวตรง

(ไม่ค่อยมีการขยายกว้างของควัน)บรรยากาศมีความปั่นป่วนน้อย

b)  เป็นแบบที่มีกระแสวนขนาดใหญ่

(มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีแดดจัด ควันจะเคลื่อนไหวเป็นวงกว้างแต่มีการกระจายน้อยมาก)

c)   เป็นแบบที่มีกระแสวนขนาดต่างๆ

(ซึ่งจะเกิดในช่วงเวลากลางวันในสภาพบรรยากาศปกติ จะช่วยให้ควันเคลื่อนที่เป็นวงกว้างและกระจายได้มาก เคลื่อนที่ไปตามทิศทางลม)

 

        เมื่อมาพิจารณาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขี้น  การกระจายตัวของกลุ่มควัน ขึ้นกับอุณหภูมิของบรรยากาศ ณ ระดับความสูงต่าง ๆ จะสามารถทำให้ลักษณะของกลุ่มควันที่ปล่อยออกจากปล่องควันมีความแตกต่าง ดังต่อไปนี้

    (ก)     แบบ Looping (มักเกิดในฤดูร้อนที่มีท้องฟ้าแจ่มใส)

       (ข)     แบบ Coning (มักเกิดในเวลาที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือเกิดในเวลากลางคืน)

 

     (ค)     แบบ Fanning (มักเกิดเมื่อระดับบนยอดปล่องควันมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับล่าง)

      (ง)         แบบ Fumigation (มักเกิดจากลมบกลมทะเล)


      (จ)     แบบ Lofting (มักเกิดในเวลาเย็น)


      (ฉ)      แบบ Trapping (มักเกิดเมื่อระดับบนและระดับกลางของปล่องควันมีอุณหภูมิสูงกว่าระดับล่าง)

 

    เมื่อทราบถึงลักษณะการกระจายตัวของกลุ่มควันที่ลอยออกมาจากปล่องควันแล้ว ถ้าต้องการทราบว่าความสูงของกลุ่มควันที่ลอยขึ้นจากปล่องควันจะมีความสูงเท่าไร ก็สามารถคำนวณได้จาก  2 สมการ นี้

    = ความสูงของกลุ่มควันลอยเหนือปากปล่องควัน

    Vs = ความเร็วของก๊าซที่ลอยขึ้นภายในปล่องควัน, เมตร/วินาที

      d = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล่องควัน, เมตร

      u = ความเร็วลม, เมตร/วินาที

      p = ความดันบรรยากาศ, มิลลิบาร์

   = ผลต่างของอุณหภูมิก๊าซภายในปล่องควันกับอุณหภูมิของบรรยากาศ, K

    Ts = อุณหภูมิก๊าซภายในปล่องควัน

 

ที่มา: ดร.เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม; 

 

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security