การกำจัดสารเคมีอย่างไรให้ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การกำจัดสารเคมีอย่างไรให้ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การกำจัดสารเคมี

ทุก ๆ โรงงานอุตสาหกรรมควรหาวิธีการกำจัดสารเคมีให้ถูกต้องตามขั้นตอน และ ให้ได้อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้

การกำจัดสารเคมีที่ต้องทำลาย อาจจะเป็นสารเคมีที่เก็บไว้นานแล้ว และไม่ต้องการใช้อีก หรือ เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นจากขบวนการของโรงงานอุตสาหกรรม จากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรืออาจเป็นสารเคมีที่หกเลอะโดยบังเอิญ และในการกำจัดสารเคมี แต่ละครั้งจะมีวิธีการปฏิบัติไม่เหมือนกัน และในแต่ละครั้งก็อาจเกิดอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นกับคุณสมบัติของสารเคมีที่ต้องการกำจัด

วิธีการทั่ว ๆ ไปสำหรับการกำจัดสารเคมี

ได้แก่ การเผาทิ้ง การฝัง การทิ้งลงน้ำ หรือ การเปลี่ยนให้เป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายก่อนทิ้งการเผาทิ้ง เป็นวิธีที่ดีและใช้กันมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไว้ให้มากสำหรับวิธีนี้ คือ อันตรายจากไฟที่ต้องนำไปเผาในที่ห่างไกลชุมชน ห่างจากตัวอาคาร และ ควรจะขุดหลุมใหญ่ และ ลึก จึงนำเอาสิ่งที่ต้องการเผาไปไว้ในหลุมนี้ พร้อมทั้งเชื้อเพลิง เวลาจุดไฟเผาก็ใช้วิธีต่อสายยาวไปจุดในที่ที่ไกลจากหลุมนี้ และ ปลอดภัย พอการฝังเป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัยนัก เพราะสารอาจสลายตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เช่น น้ำฝน อาจจะชะล้างลงสู่บ่อน้ำ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อไป

การทิ้งลงแม่น้ำ เป็นวิธีที่ใช้ต่อเมื่อ สารที่จะทิ้งนั้นได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ รวมทั้งจะไม่ก่อให้เกิดสารแขวนลอยอยู่ในน้ำด้วย การเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่มีอันตราย หรือ มีอันตรายน้อยลงก่อนทิ้ง เป็นวิธีที่ใช้กันมาก แต่ต้องอาศัยความรู้ทางเคมีเข้าช่วย

กรณีที่สารเคมีต้องการกำจัดนั้น เป็นสารที่หกเลอะโดยบังเอิญ ก่อนที่จะทำลายควรวิเคราะห์วิธีเก็บสารนั้นขึ้นมาเสียก่อน ถ้าสารนั้นเป็นของแข็งก็ง่าย แต่ถ้าเป็นของเหลวจะมีปัญหามากขึ้น เนื่องจากของเหลวสามารถแผ่กระจายเป็นบริเวณกว้าง จึงจำเป็นต้องหยุดการแผ่กระจายนี้ ซึ่งทำโดยใช้ตัวดูดซับโปรยลงไปในบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วจึงเก็บขึ้นมาเพื่อเอาสารเคมีออกจากตัวดูดซับ จากนั้นจึงเลือกหาวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดสารเคมีต่อไป

กรณีสารเคมีที่อันตรายหกเป็นจำนวนมาก ๆ การกำจัด หรือ การทำความสะอาดพื้นที่บริเวณนั้น ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงอันตรายต่อไปนี้คือ ความเป็นพิษ, การติดไฟ, การขาดออกซิเจนสำหรับหายใจ และ การระเบิด

ดังนั้น การทำความสะอาดและการกำจัดสารเคมีที่หก ควรจะวิเคราะห์และพิจารณาโดยละเอียดก่อน ข้อที่ควรพิจารณาคือ

สารเคมีนั้นคืออะไร, สารที่เกิดอุบัติเหตุนั้น อยู่ที่ไหนบนพื้นดินหรือในน้ำ, จะมีปฏิกิริยาทางเคมีได้หรือไม่,

ปริมาณที่หก, สภาพแวดล้อม และ มีอันตรายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง

สิ่งสำคัญในการกำจัดสารเคมี จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้คนที่อาศัยในบริเวณนั้น สิ่งแวดล้อมทางบก และ ทางน้ำ รวมถึง สัตว์ที่อาศัยในแม่น้ำลำคลองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีวิธีการปฏิบัติในการกำจัดสารเคมีให้ถูกต้องตามขั้นตอนและทำตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security