เหตุผลที่การดูแลรักษาน้ำใต้ดินมีความสำคัญ

เหตุผลที่การดูแลรักษาน้ำใต้ดินมีความสำคัญ

ตรวจสอบน้ำใต้ดิน

      หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งในอดีตถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับพื้นที่กันดาร น้ำบาดาลแต่ละแห่งจะมีระดับความลึกจากผิวดินที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีคุณภาพ หรือสารเคมีต่าง ๆ แตกต่างกัน บางแห่งที่น้ำบาดาลมีคุณภาพดี เหมาะกับการรับประทานก็อาจมีการนำมาจำหน่ายในรูปแบบของน้ำแร่ได้อีกด้วย แต่ในปัจจุบันแหล่งน้ำใต้ดินถือเป็นดัชนีชี้วัดสภาพทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เนื่องจากน้ำบาดาลเกิดจากการสะสมของน้ำฝนในชั้นบรรยากาศที่ซึมผ่านชั้นของดินและหินแล้วอยู่รวมกันใต้พื้นดิน บางแห่งก็จะอยู่ระหว่างชั้นหินและชั้นดิน แต่บางแห่งอาจสะสมอยู่ตามรูพรุนของชั้นหิน ซึ่งอาจลึกลงไปได้หลายเมตรเลยทีเดียว หลายแห่งจึงสามารถทำการขุดเจาะเพื่อนำน้ำบาดาลมาใช้งานได้

               ความสำคัญของน้ำบาดาลนั้นมีมาอย่างช้านานแล้ว ถือเป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์นำมาใช้กันมานานแล้ว และมีปริมาณมากถึง 29% เมื่อเทียบสัดส่วนจากแหล่งน้ำจืดทั้งหมดที่มีอยู่บนโลกใบนี้ แม้ว่าในปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมการนำแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้งาน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางธรณีวิทยาแล้วก็ตาม แต่ตามพื้นที่ที่น้ำประปาหรือระบบชลประทานยังไปไม่ถึงนั้นการนำน้ำบาดาลมาใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย ถือเป็นแหล่งนำที่มีความสำคัญทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และเพื่อการเกษตรกรรม

               อย่างไรก็ดีในปัจจุบันเมื่อภาคอุตสาหกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ๆ ทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ ออกมามากขึ้น ซึ่งน้ำก็นับว่าเป็นมลพิษประเภทหนึ่งที่เกิดการปนเปื้อนออกมาจากแหล่งชุมชนและอุตสาหกรรมเหล่านี้ และเมื่อน้ำที่เป็นพิษเหล่านี้ซึมผ่านชั้นดินก็จะปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำใต้ดินได้ การปนเปื้อนของมลพิษในน้ำบาดาลสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในบางพื้นที่การปนเปื้อนของน้ำบาดาลอาจเป็นสาเหตุทำให้ประชากรเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ โดยทั่วไปสารปนเปื้อนที่พบในน้ำบาดาลมักเป็นสารโลหะหนักชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม ทองแดง สังกะสี สารหนู เหล็ก แมงกานีส และปรอท ซึ่งสารพิษต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้ทั้งทางการกินเข้าไป การซึมผ่านผิวหนังเมื่อนำมาอาบ หรือทำความสะอาดสิ่งต่าง ๆ ซึ่งนอกจากอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ที่ได้สัมผัสหรือรับประทานเข้าไปแล้ว มลพิษในแหล่งน้ำใต้ดินยังเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ยาก เพราะมักไร้สีไร้กลิ่น สามารถกระจายออกไปได้เป็นวงกว้างหากมีทางน้ำหรือชั้นของพื้นดินที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจกินพื้นที่ได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร การตรวจสอบต้องใช้การขุดตัวอย่างที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวดินจึงยากต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้หากเกิดการปนเปื้อนของมลพิษแล้วการบำบัดเพื่อฟื้นฟูคุณภาพของน้ำให้กลับมามีคุณภาพดีดังเดิมยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอีกด้วย

สาเหตุที่ทำให้น้ำใต้ดินเกิดการปนเปื้อน

1. การฝังกลบขยะมูลฝอย ในบางพื้นที่นั้นมีวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยชนิดต่าง ๆ ด้วยการฝังกลบ ซึ่งขยะเหล่านี้อาจรวมถึงถังบรรจุสารเคมี ถ่านไฟฉาย หรือน้ำมันเครื่องที่เหลือจากการใช้งาน ซึ่งเมื่อซึมผ่านชั้นผิวดินลงไปก็จะทำให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่งแหล่งน้ำบาดาลได้

2.การปล่อยน้ำเสียของภาคอุตสาหกรรม ในกระบวนการทำงานของภาคอุตสาหกรรมนั้นมักมีการปลดปล่อยน้ำเสียออกมาในปริมาณมาก ซึ่งหลายครั้งที่เราจะเห็นข่าวลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติที่นำไปสู่การปนเปื้อนของแหล่งน้ำบาดาลได้

3.การใช้สารเคมีของภาคเกษตรกรรม กิจกรรมการเกษตรมักมีการนำสารเคมีมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาฆ่าแมลงศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ยาฆ่าหญ้า หรือสารฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดคอกเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถซึมผ่านลงสู่ชั้นผิวดินได้โดยตรง และเกิดการปนเปื้อนในน้ำใต้ดินเป็นวงกว้าง

4.สารเคมีในชีวิตประจำวัน ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันนั้นมีการนำสารเคมีมาใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ สารเคมีที่ใช้เพื่อการรักษาโรค และสารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสมก็สามารถซึมผ่านชั้นผิวดินลงไปปนเปื้อนกับน้ำบาดาลได้

แนวทางการป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน

1. การบำบัดน้ำเสียของภาคอุตสาหกรรม ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น มีการตรวจวัดค่าต่าง ๆ ของน้ำเสียให้ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติต่อไป

2. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อมนุษย์เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จึงได้เกิดการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อย่างผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตจากสารตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อใช้งานซ้ำได้ง่าย หรือผลิตภัณฑ์ที่เมื่อย่อยสลายแล้วไม่ก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. การทำเกษตรกรรมทางเลือก ในปัจจุบันเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่าเกษตรอินทรีย์ หรือ เกษตรแบบออร์แกนิกกันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการทำเกษตรกรรมแบบไม่พึ่งสารเคมีซึ่งนอกจากจะดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคแล้วยังดีต่อคุณภาพของน้ำใต้ดินอีกด้วย

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security