การวิเคราะห์หาค่าบีโอดี (BOD) ภาคที่ 1

การวิเคราะห์หาค่าบีโอดี (BOD) เป็นการวัดความสกปรกของน้ำเสียในเทอมของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน การหาบีโอดีเป็นกระบวนการทดสอบทางชีววิทยาเพื่อหาปริมาณค่าออกซิเจนซึ่งแบคทีเรียใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสียภายใต้สภาวะที่เหมือนกับที่เกิดในธรรมชาติที่สุด เพื่อที่จะให้การวิเคราะห์เป็นปริมาณการวิเคราะห์ จึงต้องทำให้แฟคเตอร์ต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการย่อยสลายคงที่
การวิเคราะห์หาค่าบีโอดี (BOD) เป็นการวัดความสกปรกของ น้ำเสีย ในเทอมของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน
การหาบีโอดีเป็นกระบวนการทดสอบทางชีววิทยาเพื่อหาปริมาณค่าออกซิเจนซึ่งแบคทีเรียใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสียภายใต้สภาวะที่เหมือนกับที่เกิดในธรรมชาติที่สุด เพื่อที่จะให้การวิเคราะห์เป็นปริมาณการวิเคราะห์ จึงต้องทำให้แฟคเตอร์ต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการย่อยสลายคงที่ นั่นคือ ค่าบีโอดีมาตรฐานต้องบ่ม (
Incubate) ที่อุณหภูมิ 20 ± 1 เป็นเวลา 5 วัน
การเลือกวิธีวิเคราะห์บีโอดี มี แบบ
1. วิธีแบบโดยตรง เหมาะสำหรับน้ำที่มีความสกปรกน้อย ที่มีค่า BOD ไม่เกิน 7 มก./ลิตร
2. วิธีแบบโดยเจือจาง เหมาะสำหรับน้ำที่มีความสกปรกมากที่มีค่า BOD เกิน 7 มก./ลิตรต้องเจือจางตัวอย่างน้ำให้มีออกซิเจนที่เพียงพอในการย่อยสลายสารอินทรีย์
 
  • การเก็บและรักษาตัวอย่างน้ำ
หลังจากเก็บตัวอย่างน้ำทำการวิเคราะห์ทันที แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ควรนำตัวอย่างน้ำไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 ซ และเมื่อจะนำตัวอย่างที่แช่เย็นมาวิเคราะห์ ต้องปล่อยตัวอย่างให้มีอุณหภูมิห้องเสียก่อน
  • เครื่องมือและอุปกรณ์
         1.ขวดบีโอดี ขนาด 250-300 มล. พร้อมจุกปิดสนิท ขวดที่ใช้ต้องปราศจากสารอินทรีย์ การทำความสะอาดควรล้างด้วยสารละลายกรดโครมิค แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ฉีดน้ำกลั่นล้างอีกหลายๆครั้ง คว่ำให้แห้ง
      2.ตู้ควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 20 ± 1 ซ และต้องมืด
  1. อุปกรณ์เครื่องแก้วต่าง ๆ เช่น กระบอกตวง บิวเรต ขวดรูปกรวย
  2. เครื่องจ่ายลม แบบเดียวกับที่ใช้กับตู้เลี้ยงปลา
  • สารเคมี
  1. น้ำกลั่น  : ต้องมีคุณภาพสูง ควรมีทองแดงน้อยกว่า 0.001 มก./ล. ปราศจากคลอรีน คลอรามีน สารอินทรีย์ กรดและด่าง (pH ต้องเป็นกลาง)
  1. สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ : สารละลายโปแตสเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต 8.5 กรัม ไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟตเฮปตะไฮเดรต 33.4 กรัม ไดโปแตสเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต 21.75 กรัม และแอมโมเนียมคลอไรด์ 1.7 กรัม ในน้ำกลั่น 500 มล. แล้วเจือจางให้เป็น 1 ลิตร
  1. สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟต : สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต จำนวน 22.5 กรัม ในน้ำกลั่นแล้วเจือจางให้เป็น 1 ลิตร
  1. สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ : สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ปราศจากน้ำ 27.5 กรัม ในน้ำกลั่นแล้วเจือจางให้เป็น 1 ลิตร
  1. สารละลายแฟริคคลอไรด์ : สารละลายแฟริคคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต 0.25 กรัม ในน้ำกลั่นแล้วเจือจางให้เป็น 1 ลิตร
  1. สารละลายแมงกานีสซัลเฟต : สารละลายแมงกานีสซัลเฟตโมโนไฮเดรต 364 กรัม หรือแมงกานีสซัลเฟตเตตราไฮเดรต 480 กรัม หรือแมงกานีสซัลเฟตไดไฮเดรต 400 กรัม ในน้ำกลั่นกรองแล้วเจือจางเป็น 1 ลิตร
  1. สารละลายอัลคาไล-ไอโดไดด์-เอไซด์ : สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 500 กรัม ในน้ำกลั่นเจือจางเป็น 1 ลิตร และละลายโซเดียมเอไซด์ 10 กรัม ในน้ำกลั่น 40 มล. แล้วเติมลงในสารละลายข้างต้น
  1. กรดซัลฟูริคเข้มข้น (36 N)
  2. น้ำแป้ง : ละลายแป้ง 5 กรัม ในน้ำต้ม 800 มล.เติมน้ำให้ได้ 1 ลิตร ต้มให้เดือด 2-3 นาที ตั้งค้างคืนใช้แต่น้ำใส เติม Salicylic Acid 1.25 กรัม ต่อน้ำแป้ง 1 ลิตร
  1. สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 1 นอร์มัล : สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตเพนตะไฮเดรต จำนวน 24.82 กรัม ในน้ำต้มที่เย็นแล้ว เติมจนได้ปริมาตร 1 ลิตร
  2. สารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.0250 นอร์มัล : เตรียมโดยเจือจางสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 นอร์มัล จำนวน 250 มล. ด้วยน้ำกลั่นให้เป็น 1 ลิตร เก็บรักษาโดยการเติมคลอโรฟอร์ม 5 มล. หรือใช้ไฮดรอกไซด์ 0.4 กรัม ต่อสารละลาย 1 ลิตร สารละลายนี้ต้องนำมาหาความเข้มข้นที่แน่นอนด้วยสารละลายมาตรฐานไดโครเมต
  1. สารละลายมาตรฐานโพแทสเซียมไดโครเมต 0.0250 นอร์มัล : สารละลายโพแทสเซียมไดโครเมตที่อบแห้งที่อุณหภูมิ 103 ซ นาน 2 ชม. จำนวน 1.226 กรัมต่อน้ำกลั่น 1 ลิตร
  1. สารละลายมาตรฐานโซเดียมซัลไฟล์ 0.0250 นอร์มัล : สารละลายมาตรฐานโซเดียมซัลไฟล์ปราศจากน้ำ 1.575 กรัม ในน้ำกลั่น 1 ลิตร  (สารละลายตัวนี้ไม่อยู่ตัวต้องเตรียมในวันที่จะใช้เท่านั้น)
  • การเตรียมตัวอย่างน้ำก่อนการวิเคราะห์
  1. ตัวอย่างน้ำที่เป็นด่างหรือกรด ต้องปรับ pH ให้เป็นกลาง ก่อนด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1 นอร์มัล หรือกรดซัลฟูริค 1 นอร์มัล โดยที่ปริมาตรของด่างหรือกรดที่เติมจะต้องไม่เจือจางตัวอย่างมากเกิน 5 เปอร์เซ็น

การวิเคราะห์หาค่าบีโอดี (BOD)

       2. ตัวอย่างน้ำที่มีสารประกอบคลอรีนตกค้าง จะต้องกำจัดออกก่อนวิเคราะห์โดยให้ตั้งตัวอย่างทิ้งไว้ 1 – 2 ชม. คลอรีนตกค้างจะลดลงสลายไปเอง แต่ถ้าในตัวอย่างมีคลอรีนตกค้างมาก ต้องกำจัดโดยการเติมสารละลายโซเดียมซัลไฟต
      3. ตัวอย่างน้ำที่มีโลหะหนักหรือสารที่เป็นพิษชนิดอื่นเจือปนต้องกกำจัดเสียก่อน
     4. ตัวอย่างน้ำที่มีออกซิเจนอิ่มตัวมมากเกินไป แก้ไขโดยเอาตัวอย่างน้ำใส่ขวดแล้วเขย่าแรงๆ หรือเป่าอากาศลงไป เพื่อป้องกันการสูญเสียออกซิเจนละลายในการวิเคราะห์
     5. กรณีตัวอย่างน้ำเกิดไนตริฟิชั่น ต้องทำการยับยั้งโดยเติม 2-คลอโร 6-ไตรคลอโร-เมทธิล 3 มก.ต่อตัวอย่างขนาด 300 มล.หรือเติมน้ำเจือจางจนมีความเข้มข้น 10 มก./ลิตร ก่อนก็ได้
Blog นี้เรามาเตรียมตัวอย่างน้ำก่อนนะคะ (แค่เตรียมก็เหนื่อยแล้ว+++) Blog ต่อไปจะเข้าสู่กระบวนวิธีการวิเคราะห์บีโอดีทุกรูปแบบกันค่ะ รอติดตามชมนะคะ
เครดิตภาพ : https://thaitestlab.com
  

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security