ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย

Siammat เป็นบริษัทรับบริการรับดูแลระบบบ่อบำบัดน้ำเสียในโรงงานและอาคารอุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ต้องทำในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย

การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อเป็นการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ สารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียออกทิ้งไป และเพื่อช่วยให้มีน้ำดีน้ำใช้ที่ได้คุณภาพให้กับประชาชนได้ดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย


ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึง

การกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือ เหลือเล็กน้อยที่สุดให้ได้มาตรฐานที่กำหนด และ ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ก่อนจะไปที่ การบำบัดน้ำเสีย เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า น้ำเสีย กันก่อนว่าหมายถึงอะไร

น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในปริมาณที่สูง จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการและนำพาความรังเกียจของคนทั่วไป ซึ่งน้ำเสียก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น แม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งรับของเสียที่มาจากแหล่งต่าง ๆ เมื่อเกินขอบเขตของการรับได้ของแหล่งน้ำนั้น ๆ จะก่อให้เกิดการเน่าเหม็น หรือเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งสิ่งเจือปนที่ทำให้กลายเป็นน้ำเสียได้แก่

  • สารอินทรีย์ต่าง ๆ ทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ
  • กรดต่าง ๆ และเกลือชนิดต่าง ๆ
  • ของแข็งหรือตะกอนแขวนลอย
  • น้ำมัน ไขมัน
  • แร่ธาตุที่เป็นพิษ
  • ความร้อน
  • สารที่ทำให้เกิดฟอง
  • สารพิษต่าง ๆ

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ประเภทของน้ำเสีย

น้ำเสียที่มาจากแหล่งต่าง ๆ จะมีสารที่อยู่ในน้ำเสียไม่เหมือนกัน ซึ่งสารเหล่านั้นจะเป็นสารประเภทใดขึ้นอยู่กับแหล่งและกรรมวิธีในการผลิตในอุตสาหกรรมนั้น ๆ จึงได้มีการรวบรวมและแบ่งประเภทที่ให้ลักษณะเด่นของน้ำเสีย ซึ่งพอสรุปประเภทของน้ำเสียแบ่งออกได้ดังนี้

1.น้ำเสียประเภทที่มีสารอนินทรีย์

2.น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์

3.น้ำเสียประเภทที่แพร่กระจายเชื้อโรค

4.น้ำเสียที่มีโลหะหนักเป็นพิษ

5.น้ำเสียที่มีสารกัมมันตภาพรังสี

6.น้ำเสียที่มีความเป็นกรด เบสสูง

7.น้ำเสียที่มีอิฐ หิน ดิน ทราย ปะปนอยู่

โดยการแบ่งประเภทของน้ำเสียจะทำให้การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียนั้นง่ายขึ้น แต่การจะเลือกระบบบำบัดน้ำเสียจำเป็นต้องหาลักษณะสมบัติต่าง ๆ ของน้ำเสียก่อนเสมอ ซึ่งมีลักษณะสมบัติทางกายภาพ ลักษณะสมบัติทางเคมี และลักษณะสมบัติทางชีวภาพ เป็นต้น


ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
สิ่งที่ต้องปฎิบัติในการ ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย

ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียเป็นสิ่งที่ต้องปฎิบัติ ดังนี้

เนื่องจากระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่อาศัยธรรมชาติเป็นตัวการบำบัด จึงต้องดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย และการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

1.การควบคุมดูแลการระบายน้ำให้สม่ำเสมอ

2.การตัดหญ้ารอบคันบ่อ เดือนละ 1 ครั้ง

3.การตรวจสภาพท่อส่งน้ำเสีย สภาพบ่อ เครื่องมือต่าง ๆ ตรวจสอบการรั่วซึมทุกวัน เพื่อทำการหาจุดบกพร่องและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนได้ทัน

4.อายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี  โดยทุก ๆ 5-6 ปี ควรมีการลอกตะกอนไปกำจัด หรือ ใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทุก 15 ปี  ด้วยสภาพดินที่บดอัดจะมีการคลายตัวทำให้บ่อเกิดรั่วซึมมากขึ้น ดังนั้น เมื่อครบกำหนดอายุแล้วควรระบายน้ำออกเพื่อตากบ่อและบดอัดใหม่

สุดท้ายในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม โรงงานผลิต และประชาชน ร่วมมือกันไม่ปล่อยน้ำเสีย น้ำที่เป็นพิษ ลงสู่ลำคลอง แม่น้ำโดยจะต้องหาวิธีการในการกำจัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษทางสายน้ำ และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน.


ระบบบำบัดน้ำเสีย
ทีมงาน Siammat ยินดีให้บริการด้าน ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบ บํา บัด น้ำ เสีย

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security