การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานในออฟฟิส การทำงานก่อสร้าง หรือการทำงานใด ๆ ก็ล้วนมีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งเป็นการทำงานในพื้นที่พิเศษมีลักษณะเฉพาะอย่างการทำงานในพื้นที่อับอากาศก็ยิ่งมีข้อควรระวังและใส่ใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยลักษณะของสถานที่อับอากาศมักยากต่อการเข้าถึง มีขนาดพื้นที่จำกัดทำให้การให้ความช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก และอันตรายหลายประเภทในสถานที่อับอากาศยังยากต่อการมองเห็นหรือสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่น้อยจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต การสะสมของก๊าซพิษหรือก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตรายโดยที่ไม่สามารถมองเห็นหรือได้กลิ่น กว่าจะรับรู้ถุงอันตรายก็เมื่อร่างกายเกิดอาการ อาจหน้ามืด เป็นลม หรือระบบทางเดินหายใจเกิดความเสียหายได้
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นทำให้อันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่อับอากาศมีความรุนแรงต่อชีวิตเป้นอย่างมาก การจัดการและบริหารความปลอดภัยในพื้นที่ลักษณะนี้จึงมีการกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย หรืออันตรายในระดับที่สามารถควบคุมและจัดการได้
ขอยกตัวอย่างประเภทของอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศและมาตรการในการจัดการอย่างเหมาะสมดังนี้
- อันตรายจากปริมาณออกซิเจนที่น้อยหรือมากเกินไป เมื่อสถานที่อับอากาศเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีการถ่ายเทของอากาศที่ดี ย่อมส่งผลให้ระดับออกซิเจนในพื้นที่มีน้อยจนเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต หรือโดยทั่วไปจะมีน้อยกว่า 19.5 Vol.% แต่บางกรณีอาจสะสมจนมีมากกว่า 23.5 Vol.% ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้ง่ายเป็นอย่างมาก โดยปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 20.9 Vol.% ซึ่งมาตรการสำหรับป้องกันระดับออกซิเจนที่ไม่ปกตินี้คือการวัดระดับออกซิเจนก่อนการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศทุกครั้ง และผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องพกเครื่องวัดระดับออกซิเจนแบบพกพาเข้าไปในสถานที่อับอากาศทุกครั้ง เพื่อคอยตรวจสอบว่าปริมาณออกซิเจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ ซึ่งหากระดับออกซิเจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย ผู้ปฏิบัติงานต้องอพยพออกจากพื้นที่เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทันที
- อันตรายจากแรงตกกระแทก เนื่องจากในสถานที่อับอากาศมักมีแสงสว่างน้อย เพราะมีช่องให้แสงสว่างตามธรรมชาติเขาถึงได้น้อย และหลายพื้นที่มักมีลักษณะไม่เรียบสม่ำเสมอ อาจเป็นหลุมเป็นบ่อหรือมีความคับแคบจนเคลื่อนตัวได้ลำบาก ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงที่ได้รับแรงกระแทกในระหว่างที่เคลื่อนตัวหรือปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศได้ง่าย ซึ่งแนวทางการป้องกันให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศคือการเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอกับการทำงาน โดยต้องเป็นแสงสว่างที่ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ หรือมีการเดินสายไฟอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วไหลที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคลอย่างหมวกนิรภัย หรือเข็มขัดนิรภัยให้พร้อมก่อนเข้าปฏิบัติงาน และหากมีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรใด ๆ ในสถานที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการฝึกอบรมวิธีการใช้อุปกรรณ์และเครื่องจักรนั้น ๆ อย่างปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
- อันตรายจากสารพิษต่าง ๆ สารพิษหลายชนิดอาจเกิดขึ้นภายในพื้นที่อับอากาศโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะก๊าซพิษบางประเภทที่มีลักษณะเป็นก๊าซมักไร้สีไร้กลิ่น กว่าจะรู้สึกตัวก็เมื่อร่างกายเกิดปฏิกิริยากับสารพิษนั้น ๆ แล้ว อาจเป็นแผลพุพองบริเวณผิวหนัง อาการหายใจติดขัด รวมถึงการหายใจติดขัด หากรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้ ถือเป็นอันตรายที่ผู้ปฏิบัติงานในถสานที่อับอากาศจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในแนวทางกำหนดมาตรการความปลอดภัยในลักษณะนี้คือการตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเข้าปฏิบัติงาน หากมีสภาพอากาศหรือสภาวะที่เป็นอันตรายจะได้จัดการบำบัดหรือลดระดับอันตรายนั้น ๆ จนปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และหากผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกที่ผิดปกติใด ๆ ควรรีบทำการอพยพออกจากพื้นที่อับอากาศโดยทันที
- อันตรายจากการทำงานในท่าทางที่ผิดปกติเป็นเวลานาน ๆ เนื่องจากขนาดพื้นที่อับอากาศนั้นมีจำกัดทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถจัดสรีระท่าทางได้ตามปกติ บางคนอาจจะต้องคุกเข่าเพื่อปฏิบัติงาน บางคนอาจจะต้องหมอบคลานเป็นระยะทางไกลเพื่อเข้าไปในพื้นที่ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ซึ่งหากร่างกายต้องอยู่ในท่าที่ผิดปกติซ้ำ ๆ เช่นนี้เป็นเวลานาน ๆ ย่อมส่งผลให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบ วึ่งมาตรการป้องกันอันตรายในลักษณะนี้คือการควบคุมระยะเวลาการทำงานในสถานที่อับอากาศ ป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังสถานที่อับอากาศเพราะจะยิ่งทำให้พื้นที่คับแคบยากต่อการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น และผู้ปฏิบัติงานยังควรไปตรวจสอบสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติเช่นอาการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรเข้ารับการรักษาจนหายดีก่อนกลับมาปฏิบัติงานใหม่
- อันตรายจากเพลิงไหม้ หรือระเบิด การทำงานบางครั้งก็มีโอกาสที่จะเกิดประกายไฟ อย่างงานเชื่อมโลหะ งานประกอบวงจรไฟฟ้า หรือแม้แต่แหล่งแสงสว่างบางประเภทที่ทำให้เกิดความร้อน ซึ่งเมื่อในสถานที่อับอากาศเกิดการสะสมของก๊าซไวไฟในปริมาณมาก ๆ ระดับความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนที่สูงผิดปกติ รวมถึงปริมาณของฝุ่นละอองในอากาศมาก ๆ ก็ย่อมเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้และการระเบิดได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมวิธีการใช้งานเครื่องมือและแนวทางการปฏิบัติงานที่เหมาะสมสามารถลดโอกาสการเกิดอันตราย รวมทั้งการตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดประกายไฟอย่างการสูบบุหรี่ และการควบคุมไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่อับอากาศอีกด้วย
นอกจากมาตรการการป้องกันอันตรายตามที่กล่าวมานี้ สถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ อย่างกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟดับ หรืออุบัติเหตุอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นการเข้าให้ความช่วยเหลือมักทำได้ยาก จึงจำเป็นต้องมีทีมให้ความช่วยเหลือเตรียมพร้อมอยู่เสมอ มีผู้ควบคุมงานที่ทราบจำนวนผู้เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศอย่างชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตราย และการแก้ไขควบคุมเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
เมื่อทราบเทคนิคและรายละเอียดของถังเก็บน้ำใต้ดินตามที่กล่าวมาแล้ว เชื่อว่าผู้ที่สนใจคงสามารถเลืกใช้งานถังเก็บน้ำได้เหมาะสมกับการใช้งาน และลักษณะพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งได้เป็นอย่างดีแล้ว และสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยคือการรักษาความสะอาดของถังเก็บน้ำ เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพและอนามัยของผู้ใช้งานน้ำที่กักเก็บเอาไว้โดยตรงอีกด้วย
สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย และ งานใน พื้นที่อับอากาศ โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”
ติดต่อเราได้ที่
Head Office
02-8137550-1
02-8137552
Amata City Chonburi
089-2012642