ความรู้เรื่องเสียงดังจากการทำงาน

เสียงดัง....ใครคิดว่าไม่สำคัญ ซึ่งเสียงดังนั้นมีผลต่อชีวิตประจำวันมากจริง ๆ การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไป อาจทำให้สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินชั่วคราวหรือถาวรได้ จึงควรป้องกันอย่างถูกวิธี

เสียงดัง….ใครคิดว่าไม่สำคัญ ซึ่งเสียงดังนั้นมีผลต่อชีวิตประจำวันมากจริง ๆ การได้ รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไป อาจทำให้สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ชั่วคราวหรือถาวรได้ จึงควรป้องกันอย่างถูกวิธี


ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

  1. ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเครียดทางประสาท
  2. รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร
  3. ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้
  4. มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง
  5. การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

ส่วนประกอบ

ภาพแสดงการได้ยินเสียง

เซลล์ขนเป็นอวัยวะ ที่ทำหน้าที่รับเสียงสูงซึ่งอยู่ที่ส่วนฐานของอวัยวะรูปก้นหอยในหูชั้นในที่มักจะถูกทำลายมากกว่าที่อื่น โดยเสียงดังจะทำให้เซลล์ขนเสื่อมหรือตาย และส่วนใหญ่จากผลการวิจัยมักจะทำลายเซลล์ขนที่ความถี่ 4,000 เฮิร์ต ดังภาพ

ภาพเซลล์ขนปกติ

ภาพเซลล์ขนถูกทำลาย

การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน

  • เสียงดังมากก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว หูอื้อประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วหายไปภายใน 24 ชม.- 6 เดือน
  • หากสัมผัสเสียงดังมากกว่า 85 dB(A) ระยะเวลา 8 ชม. นาน 5-10 ปี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรที่ความถี่สูงๆ ก่อน และการได้ยินจะไม่กลับคืนมาอีกเลย แม้จะหยุดรับเสียงเป็นเวลานาน หรือเรียกว่า ประสาทหูเสื่อมแบบประสาทรับเสียงเสียอย่างถาวร

ปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน

  • ความเข้มเสียง หรือ ความดังเสียง
  • ความถี่ของเสียง
  • ระยะเวลาการได้รับเสียงในแต่ละวัน
  • จำนวนปีที่ทำงาน
  • อายุของคนงาน
  • การสูญเสียการได้ยินและโรคเกี่ยวกับหู
  • ลักษณะสิ่งแวดล้อมที่เกิดเสียง
  • ระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียง

ห้ามลูกจ้างทำงานที่มีเสียงกระทบ /กระแทก เกิน 140 เดซิเบลเอ หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (continuous steady noise) เกินกว่า 115 เดซิเบลเอ

กรณีระดับเสียง เฉลี่ยตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป ต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

จัดให้มีป้ายเตือนการใช้ PPE ป้องกันเสียงในบริเวณที่เสียงเกินมาตรฐานกำหนด

ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันเสียง

ที่พูดมาทั้งหมดด้วยความเป็นห่วงและแอดอยากจะแจ้งให้ทราบว่า
ที่บริษัทของเรามีบริการตรวจวัดระดับความดังเสียงและสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านต่างๆ ตามกฎหมายนะคะ แอดยินดีรับใช้ทุกท่าน....ขอให้สุขภาพแข็งแรงจ้า

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security