ทางเลือกเพิ่มเติมการจัดการกับฝุ่นเจ้าปัญหา (ภาคต่อ)

บางท่านอาจหลีกเลี่ยงสภาวะการดำรงชีวิตหรือการทำงานที่มีฝุ่นขนาดเล็กอยู่รอบตัวไม่ได้จริง ๆ แอดจึงขอนำเสนอการปรับปรุงที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานให้มีสภาพเป็น positive pressure ควบคู่กับการฟอกอากาศ ก็อาจจำเป็นนะคะ

บางท่านอาจหลีกเลี่ยงสภาวะการดำรงชีวิตหรือการทำงานที่มีฝุ่นขนาดเล็กอยู่รอบตัวไม่ได้จริง ๆ แอดจึงขอนำเสนอการปรับปรุงที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานให้มีสภาพเป็น positive pressure ควบคู่กับการฟอกอากาศ ก็อาจจำเป็นนะคะ

ห้องที่มีสภาพอากาศแบบ positive pressure ควบคู่กับการฟอกอากาศภายในห้อง จะมีสมรรถนะในการลดฝุ่น PM2.5 ในห้องได้ดีกว่าการใช้เครื่องฟอกอากาศเพียงอย่างเดียวโดยอาศัยธรรมชาติของความดันอากาศ การจัดให้ห้องมีสภาพ Positive Air Pressure จึงเป็นการป้องกัน PM2.5 เข้ามาภายในห้อง ส่วนการใช้เครื่องฟอกอากาศเป็นการลดฝุ่น PM2.5 ที่มีอยู่แล้วภายในห้องแล้ว ควรสร้างสภาพ Positive Air Pressure เสริมขึ้นมาเมื่อทำการฟอกอากาศอย่างเดียวแล้วไม่พอที่จะลด PM2.5 ในห้องให้ลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ เนื่องจาก PM2.5 จากภายนอกสามารถลอดผ่านเข้ามาทางรอยต่อของประตูหรือหน้าต่าง

ข้อเสียของการสร้าง Positive Air Pressure ภายในห้องของอาคารที่ไม่มีระบบ HVAC คือ ต้องสร้างช่องสำหรับนำอากาศสะอาดจากเครื่องฟอกอากาศที่อยู่ภายนอกห้อง ป้อนเข้ามาภายในห้อง ดังตัวอย่าง

หรือสร้างเป็นช่องนำอากาศภายนอกเข้ามาสู่เครื่องฟอกอากาศที่ติดตั้งอยู่ภายในห้อง ดังตัวอย่าง

อากาศที่ป้อนเข้าในห้อง ต้องมากกว่าอากาศที่จะรั่วออกจากห้อง เพื่อทำให้ความดันอากาศระหว่างภายในกับภายนอกห้อง ต่างกันประมาณ 0.03 – 0.05 นิ้วน้ำ (7.5 – 12.5 ปาสคาล)

เครดิต: ผศ.ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์
เครดิตภาพ: ichiko-group.com
recyclingair.blogspot.com

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security