เครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมรับฝุ่นเจ้าปัญหา ภาค 3

วันนี้แอดขอนำเสนอ หัวใจสำคัญที่สุดของเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งก็คือ แผ่นกรองอากาศ (Air Filter) ซึ่งหลายท่านอาจจะสับสน ลองอ่านรีวิวนี้ดูนะคะ โดยส่วนมาก เครื่องฟอกอากาศ จะมีแผ่นกรองอากาศหลักๆ อยู่ทั้งหมดประมาณ 2-3 แผ่น

วันนี้แอดขอนำเสนอ หัวใจสำคัญที่สุดของเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งก็คือ แผ่นกรองอากาศ (Air Filter) ซึ่งหลายท่านอาจจะสับสนว่าอะไร ยังงัย เยอะแยะ ตกลงแบบไหนถึงจะดี ลองอ่านรีวิวนี้ดูนะคะ โดยส่วนมาก เครื่องฟอกอากาศ จะมีแผ่นกรองอากาศหลักๆ อยู่ทั้งหมดประมาณ 2-3 แผ่น โดยหลักๆ แล้ว ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องฟอกอากาศ ก็จะมีแผ่นกรองอากาศ ดังต่อไปนี้

  1. แผ่นกรองอากาศชั้นต้น (Pre Filter) หรือ แผ่นกรองหยาบ หรือ แผ่นกรองชั้นแรก หรือ แผ่นกรองชั้นนอก โดยตำแหน่งของมันจะอยู่ชั้นนอกสุด มีหน้าที่เอาไว้กรอง หรือดักจับฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ส่วนมากแผ่นกรองอากาศชนิดนี้จะสามารถนำมาล้างทำความสะอาดได้
  2. แผ่นกรองอากาศ HEPA (HEPA Filter) (ย่อมาจากคำว่า High Efficiency Particulate Air หรือ “High Efficiency Particulate Absorption“) เป็นแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง ที่มีความสามารถในการกรองฝุ่นขนาดเล็กมาก ๆ (หรือฝุ่นละออง PM2.5) ได้ โดยคุณสมบัติแผ่นกรองชนิดนี้คือ กรองฝุ่นขนาดเล็กมากถึง 2.5 ไมครอน (μm) ได้ รวมไปถึงกรองเชื้อรา แบคทีเรีย มลพิษต่างๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศได้เป็นอย่างดี โดยส่วนมากแล้วทางผู้ผลิตจะไม่แนะนำให้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ
  3. แผ่นกรองคาร์บอน (Carbon Filter หรือ Deodorizing Filter) มีหน้าที่ใช้กรองกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหาร รวมไปถึงการกรอง สารฟอลมาลดีไฮด์ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย อย่างเช่น กลิ่นสี กลิ่นน้ำยาย้อมผอม น้ำยาทาเล็บ เป็นต้น วิธีสังเกตง่ายๆ แผ่นกรองอากาศชนิดนี้คือ จะเป็นสีเข้มๆ ดำๆ หน่อย เพราะมันมีส่วนผสมของ “ถ่าน (Carbon)” นั่นเอง
  4. แผ่นกรองอากาศแบบออลอินวัน – รวมทั้งหมด (All-in-One Air Filter) แผ่นกรองอากาศแบบออลอินวัน หรือ แผ่นกรองอากาศแบบรวมทั้งหมด ส่วนมากจะเห็นได้ในเครื่องฟอกอากาศที่มีราคาถูกหน่อย หรือไม่ก็เครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดของตัวเครื่องไม่ใหญ่มาก อย่างเช่น เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ (Car Air Purifier) หรือเครื่องฟอกอากาศในบ้านที่รองรับพื้นที่ได้น้อย ๆ แบบไม่เกิน 25 ตารางเมตร เป็นต้น

นอกจากนี้ฟังก์ชันเสริมสำหรับเครื่องฟอกอากาศบางชนิดก็น่าสนใจเพิ่มอีกนะคะ ลองศึกษาหาข้อมูลกันเพิ่มอีกหน่อยคะ

  • หลอดไฟ UV ฆ่าเชื้อโรค (UV Sterilizing Lamp) หลอดไฟปล่อยแสง UV (สีจะออกม่วงๆ หน่อย) ถูกติดตั้งอยู่ด้านในของตัวเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งเป็นรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่อยู่ในแสงแดด โดยส่วนมากแล้ว เขาจะใช้รังสี UV ประเภท UVC ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคอย่าง เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อราที่ลอยอยู่ในอากาศ ได้เป็นอย่างดี
    ข้อดี     • ช่วยกำจัด และฆ่าเชื้อโรค เชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา หรือแม้แต่ เชื้อแบคทีเรีย ที่ลอยอยู่ในอากาศให้อีกแรง
    ข้อเสีย • มีค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น เพราะหลอดไฟ UV ฆ่าเชื้อโรค เมื่อใช้ไปนาน ๆ หลอดอาจจะขาดได้ ต้องเปลี่ยนใหม่ และส่วนมากก็ถอดเปลี่ยนเองยากอีก และเป็นหลอดเฉพาะรุ่นของมัน ซึ่งอาจจะต้องส่งศูนย์บริการกันเลยทีเดียว
                 • การมองหลอดไฟ UV ที่กำลังสว่างอยู่ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ (ในกรณีที่เครื่องฟอกอากาศไม่มีเซ็นเซอร์การเปิดฝาเครื่อง)
  • ตัวปล่อยประจุไฟฟ้า หรือปล่อยไออน (IONIZER) ฟังก์ชันนี้ไม่ได้มีส่วนช่วยในการกรองอากาศแต่อย่างใด แต่มันมีส่วนในการเรียกฝุ่นขนาดเล็กมาก ๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศให้เข้ามาใกล้ๆ กับตัวเครื่องฟอกอากาศ ด้วยการ ปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ออกไปในอากาศ ผ่านทางเข็มปล่อยประจุ และเมื่อฝุ่นลอยเข้ามาใกล้ๆ เครื่องฟอกอากาศ มันก็จะถูกพัดลมดูดอากาศ ดูดเข้าไปในเครื่องอีกที พูดง่ายๆ คือ ทำหน้าที่ “เรียกแขก” หรือ “เรียกฝุ่นเข้ามาใกล้ๆ เครื่องฟอกอากาศ” นั่นเอง
    ข้อดี     • เรียกฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่ลอยอยู่ไกล ๆ ให้ลอยเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เครื่องฟอกอากาศ ก่อนจะถูกดูดเข้าไปอีกที
    ข้อเสีย • มีค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น เพราะเข็มปล่อยประจุไฟฟ้า ที่อยู่ภายในตัวเครื่องอาจจะเสียได้ตามอายุการใช้งาน

ลองนำไปพิจารณาเพิ่มเติมนะคะ แล้วพบกันใหม่กับบความรู้ที่นำมาแชร์

ที่มา: https://www.thanop.com/air-purifier

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security