สิ่งที่จะพิจารณาเมื่อต้องการทำบ่อบำบัดน้ำเสีย

บ่อบำบัดน้ำเสีย

               น้ำเสีย คือน้ำที่ผ่านกระบวนการใช้งานของมนุษย์จนมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่เกิดในกิจวัตรประจำวันอย่างการประกอบอาหาร การอาบน้ำชำระร่างกาย หรือการซักทำความสะอาดเสื้อผ้า กระบวนการภาคการเกษตร รวมถึงกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมที่มักส่งผลให้เกิดปริมาณน้ำเสียในปริมาณมาก ๆ และเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมค่อนข้างสูง ซึ่งลักษณะและที่มาของน้ำเสียเหล่านี้คือตัวกำหนดว่าบ่อบำบัดน้ำเสียควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

น้ำเสีย คือน้ำที่ผ่านกระบวนการใช้งานของมนุษย์จนมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม

               การบำบัดน้ำเสียคือการนำน้ำเสียมาผ่านกระบวนการขจัดสิ่งสกปรก และสารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่ดีควรปรับให้คุณภาพของน้ำเสียให้ได้มาตรฐานตรงตามกับที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ หรือสามารถนำกลับไปใช้งานได้ใหม่โดยไม่ก่อให้เกิดอันตายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อกำหนดขนาดและลักษณะของบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ปริมาณของน้ำเสีย แน่นอนว่าปริมาณน้ำเสียในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์นั้นมีขนาดและปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งบ่อน้ำเสียที่ดีควรสามารถรองรับปริมาณน้ำเสียในระดับที่มากที่สุดได้อย่างเพียงพอ ป้องกันปัญหาน้ำเสียล้นออกมานอกบ่อ หรือขนาดของบ่อไม่เพียงพอกับการบำบัดน้ำที่เกิดขึ้นในกระบวนการของมนุษย์ได้ทั้งหมด การพิจารณาปริมาณน้ำเสียควรพิจารณาโอกาสการเกิดน้ำเวียที่มากที่สุด เช่นจำนวนคนทั้งหมดที่สามารถเข้าพักอาศัยอยู่ในอาคารสถานที่ต่าง ๆ หรือกระบวนการผลิตแบบเต็มกำลังในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ขนาดพื้นที่สำหรับติดตั้งบ่อบำบัดน้ำเสีย นอกจากปัจจัยเรื่องปริมาณน้ำเสียจะมีความสำคัญแล้ว ขนาดพื้นที่สำหรับบำบัดน้ำเสียก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้สามารถออกแบบรูปแบบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัด รีวมถึงกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้พื้นที่สำหรับติดตั้งบ่อน้ำเสียควรอยู่ในตำแหน่งที่สามารถรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่ต้องการบำบัดได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย ตัวอย่างตำแหน่งของบ่ำเสียที่พอจะเป็นตัวอย่างได้ก็คือบ่อดักไขมันที่ต้องอยู่ใต้อ่างล้างจานเพื่อรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างการประกอบอาหารนั่นเอง
  3. คุณสมบัติของผิวดินที่รองรับบ่อน้ำเสีย เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อย่ำน้ำเสียมีขนาดใหญ่ อาจเพื่อรองรับน้ำเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอาคารสำนักงาน หรือรองรับน้ำเวียในกระบวนการภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เพราะน้ำคือสสารที่มีน้ำหนักมาก หากคุณสมบัติของผิวดินที่รองรับบ่อมีลักษณะไม่แข็งแรงก็ย่อมเสี่ยงที่จะเกิดการยุบตัวได้ง่าย ก่อนการก่อสร้างบ่อบัดน้ำเสียมีควมมจำเป็นที่จะต้องวางพื้นที่ฐานรากให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นนั่นเอง
  4. คุณลักษณะของน้ำเสีย อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการต่าง ๆ นั้นมีลักษณะของสิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนต่าง ๆ แตกต่างกัน อย่างน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารมักมีไขมัน เศษอาหาร และสารอาหารที่จุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ในปริมาณสูงมาก ส่วนน้ำเสียที่เกิดในกระบวนการภาคเกษตรกรรมมักมีการปนเปื้อนของสารเคมีฆ่าแมลง กำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เป็นอันตรายได้ ด้วยรูปแบบของน้ำเสียที่แตกต่างกันเช่นน้ำทำให้ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งน้ำต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการกรองกากตะกอนหรือเศษอาหารก่อนเข้าบ่อบำบัดน้ำเสีย การใช้บ่อบำบัดด้วยจุลินทรีย์แบบสังเคราะห์แสงและแบบที่ไม่สังเคราะห์แสงผสมผสานกันเพื่อปรับคุณภาพน้ำให้มีความเหมาะสมนั่นเอง โดยคุณลักษณะของน้ำที่ใช้ประกอบการพิจารณากระบวนการบำบัดน้ำเสียนั่นได้แก่
  5. ค่า บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) คือปริมาณออกซิเจนในน้ำที่จุลินทรีย์ใช้เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโต มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร และเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียจำเป็นต้องตรวจวัดค่า บีโอดี หลังการบำบัดด้วย
  6. ค่า ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) คือปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารเคมีกับสารอินทรีย์ในน้ำ โดยทั่วไปค่า ซีโอดี มักมีค่าสูงกว่า บีโอดี เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นสามารถย่อยสลายได้ทั้งทางชีวภาพและสารอินทรีย์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้นั่นเอง
  7. ค่า พีเอช (pH) คือดัชนีชี้วัดความเป็นกรด ด่าง ของน้ำเสีย โดยค่าน้ำที่เหมาะกับการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตคือค่าที่ใกล้เคียงความเป็นกลาง แต่ในน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีบางชนิดอาจทำให้ค่า พีเอช ไม่เหมาะกับสิ่งมีชีวิตได้ จำเป็นต้องปรับค่า พีเอชในบ่อบำบัดน้ำเสียให้มีความเหมาะสมด้วย
  8. ปริมาณของแข็ง ( Solid ) คือปริมาณสสารที่มีลักษณะเป็นของแข็งทั้งที่สามารถละลายน้ำ หรือไม่ละลายน้ำ ของแข็งเหล่านี้อาจมีลักษณะเป็นสารแขวนลอย น้ำหนักเบา หรือน้ำหนักมากก็ได้ จำเป็นต้องกำจัดในกระบวนการต้น ๆ ของบ่อบำบัดน้ำเสียเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อเติมอากาศในการบําบัดน้ำเสียและท่อระบายน้ำเสียเกิดการอุดตัน
  9. ไขมันและน้ำมัน (Oil and Grasse) คือสารจําพวกน้ำมัน และไขมันที่เกิดขึ้นในการประกอบอาหาร คราบสบู่ที่เกิดจากการชําระล้างร่างกาย ฟองที่เกิดจากสารซักฟอก (พวกซัลเฟต) สารเหล่านี้มักมีน้ำหนักที่เบาและลอยน้ำได้ ทิ้งเป็นคราบสกปรกแขวนลอยอยู่บนผิวน้ำ กลายเป็นอุปสรรคกีดขวางไม่ให้ออกซิเจนเข้าสู่แหล่งน้ำได้ จำเป็นต้องขจัดออกไปอย่างเหมาะสม
  10. การจัดการกับกากตะกอน ไขมัน หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากการบำบัดน้ำเสีย นอกจากคุณภาพน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการในบ่อบำบัดน้ำเสียจะมีความสำคัญแล้ว การจัดการกับกากตะกอนและของเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการบำบัดของมีความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างกากตะกอนที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีเป็นพิษอย่างโลหะหนัก จำเป็นต้องส่งไปทำลายโดยหน่วยงานเฉพาะที่เหมาะสมต่อไป แต่ในระหว่างที่จัดเก็บในพื้นที่จะต้องจัดเตรียมออุปกรณ์และสถานที่ในการจัดเก็บอย่างเหมาะสมด้วย

               เมื่อทราบรายละเอียดที่ต้องพิจารณาเหล่านี้แล้ว ก็หวังว่าผู้ที่สนใจจะสามารถเลือกบ่อบำบัดบ้ำเสียที่เหมาะสมกับองค์กร สถานที่ของท่านได้ เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุก ๆ อย่างบนโลกใบนี้นั่นเอง


สนใจใช้บริการกับทาง Siammat ด้านการ บำบัดน้ำเสีย

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security