สุขภาพกับการทำงานในการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในพื้นที่อับอากาศ ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกคับแคบ จึงเกิดการระบายความร้อน และอากาศที่ไม่เพียงพอ จนเกิดการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษ สารไวไฟ ปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ตัวอย่างพื้นที่ลักษณะนี้ได้แก่ถังน้ำมัน ถังสำหรับหมักดอง ไซโล ท่อขนาดใหญ่ ถังน้ำ ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา หรือห้องใต้ดิน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้แก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถระบายไปได้ ผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวอาจสูดดมเอาแก๊สพิษต่าง ๆ เข้าไปในร่างกาย หรืออาจมีแก๊สที่ติดไฟสะสมจนเป็นอันตรายได้ และยิ่งเป็นอันตราย เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในขณะที่กำลังเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ การที่ผู้อื่นจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้นั้นถือเป็นเรื่องยาก และอาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติ นอกจากนี้การทำงานในพื้นที่จำกัดอย่างสถานที่อับอากาศมักส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานต้องอยู่ในท่าทางหรือลักษณะที่ผิดปกติ การรับสารพิษทีละน้อยแต่สะสมครั้งละนาน หรือได้รับออกซิเจนในปริมาณน้อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างมาก
ดังนั้นสุขภาพร่างกายของผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จึงควรมีความสมบูรณ์ และไม่มีความเสี่ยงของโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจถูกกระตุ้นให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ซึ่งได้แก่
อาการกำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ มักส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกที่เป็นอันตราย เป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เกิดเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะขาดเลือดไปบางขณะในขณะที่เข้าไปทํางานในสถานที่อับอากาศที่มีสภาวะออกซิเจนต่ำ และจัยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นหากผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเคยเจ็บหน้าอกโดยไม่ทราบสาเหตุอยู่แล้ว จึงควรหลักเลี่ยงไม่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากหลอดลมอักเสบและตีบแคบลงกว่าปกติ ทําให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบได้ง่าย หายใจเร็ว และเวลาหายใจเกิดเสียงหวีด อาการของโรคหอบหืดมีระดับความรุนแรงหลายระดับ มักถูกกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นเมื่อปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่มีระดับออกซิเจนต่ำ หรือได้รับสารเคมีที่ฤทธิ์ก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินได้
- โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่มักรุนแรงขึ้นเมื่อปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานได้รับมลพิษในอากาศ ส่งผลให้เกิดอาการหอบเหนื่อย ไอ และมีเสมหะเพิ่มขึ้น หากปล่อยไว้ไม่รีบทำการรักษา หรือยังปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศอย่างต่อเนื่อง อาการของโรคอาจยิ่งรุนแรงมากขึ้น โดยมากหากตรวจพบว่าเป็นโรคหอบหืดแพทย์จะแนะนำให้หยุดปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศก่อน
- กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ ได้แก่โรคพาร์กินสันซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเกิดอาการสั่น เกร็ง เคลื่อนไหวได้ช้า เดินลำบาก ที่มักเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม แต่อาการมักถูกกระตุ้นเมื่อใช้แรงงานกล้ามเนื้ออย่างหนักมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้แรงเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายในพื้นที่อับอากาศ
- โรคปวดข้อหรือข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นอาการที่เกิดได้เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะที่ผิดปกติ หรือการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงกล้ามเนื้อหรือข้อต่อบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมากผิดปกติ เช่นกระดูกสันหลัง สะโพก เข่า ข้อเท้า ซึ่งการทำงานในพื้นที่อับอากาศที่การเคลื่อนไหวร่างกายไม่สามารถทำงานได้สะดวก มักส่งผลให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อต้องรองรับน้ําหนักมากขึ้น จุงรู้สึกปวดหรือเกิดอาการอักเสบรุนแรงมากขึ้น
- โรคกลัวที่แคบ เป็นภาวะความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศซึ่งมักมีลักษณะเป็นสถานที่มืดและคับแคบเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งหากเกิดอาการแล้วก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และการตัดสินกับสถานการณ์ต่าง ๆ อาจผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วย
- โรคลมชักและอาการชัก การทํางานในที่อับอากาศ ซึ่งมักเกิดสภาวะขาดอากาศ สามารถกระตุ้นให้อาการชักเกร็งรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยโรคนี้หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการอาจรุนแรงจนเกิดเนื้องอกในสมอง เกิดการติดเชื้อในสมองได้ โดยมากผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักจะได้รับคำแนะนำทางการแพทย์ไม่ให้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
อย่างไรก็ดีเพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพร่างกายจะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศควรเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยว่าอาการของโรคนั้นมีความเสี่ยงสูงมากหรือไม่ หรืออาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ โดยจะพิจารณาให้ทำการตรวจประเมินสุขภาพถี่มากขึ้นได้ ซึ่งการตรวจสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานมีกำหนดเอาไว้ในกฎกระทรวงเรื่องกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ผู้ตรวจและรับรองผลสุขภาพคนทํางานในที่อับอากาศต้องเป็นแพทย์ หรือหมายถึง “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 โดยจะเป็นการประเมินด้วยคำถามทางสุขภาพ การตรวจสอบร่างกายทางกายภาพ การวินิจฉัยจากเลืดด การเอ็กซเรย์ การตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของดวงตาและหู รวมถึงการตรวจสอบคลื่นหัวใจด้วย
สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย และ งานใน พื้นที่อับอากาศ โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”
ติดต่อเราได้ที่
Head Office
02-8137550-1
02-8137552
Amata City Chonburi
089-2012642