บทบาทหน้าที่และความสำคัญของผู้ควบคุมมลพิษ

บทบาทหน้าที่และความสำคัญของผู้ควบคุมมลพิษ ผู้ควบคุมมลพิษคงเป็นตำแหน่งงานที่ใครหลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ตำแหน่งงานนี้ถือเป็นตำแหน่งสำคัญที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมปลดปล่อยของเสียและมลพิษต่าง ๆ ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมได้น้อยลง และมีกฎหมายบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดจำเป็นต้องจัดเตรียมบุคลากรในตำแหน่งนี้เอาไว้ให้พร้อม โดยบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานนั้น หมายความถึงผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ และดำเนินการเกี่ยวกับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษของโรงงาน โดยแบ่งเป็นประเภทของงานควบคุมมลพิษได้ดังนี้ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละตำแหน่งงานก็จะมีรายละเอียดการปฏิบัติงาน และมีภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องจัดเตรียมผู้ควบคุมมลพิษในตำแหน่งงานต่าง ๆ ดังนี้ ลำดับที่ ประเภทของโรงงาน ประเภทของผู้ควบคุมมลพิษ 1 โรงงานที่มีน้ำเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์ ที่มีปริมาณน้ำเสียตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ยกเว้นน้ำหล่อเย็น) หรือมีปริมาณความสกปรกก่อนการบำบัด (ค่า BOD เทียบกับอัตราการไหลของน้ำเสีย ตั้งแต่ 100 กิโลกรัม ต่อวันขึ้นไป ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ (เพิ่มเติมเฉพาะโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศ) 2 โรงงานที่ใช้สารหรือองค์ประกอบของสารโลหะ และสารพิษต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต และมีปริมาณน้ำเสียตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตร ต่อวันขึ้นไป ตัวอย่างเช่นสังกะสี แคดเมียม ไซยาไนด์ ฟอสฟอรัสในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ตะกั่ว ทองแดง บาเรียม เซเลเนียม […]