บทบาทหน้าที่และความสำคัญของผู้ควบคุมมลพิษ

บทบาทหน้าที่และความสำคัญของผู้ควบคุมมลพิษ

ผู้ควบคุมมลพิษคงเป็นตำแหน่งงานที่ใครหลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ตำแหน่งงานนี้ถือเป็นตำแหน่งสำคัญที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมปลดปล่อยของเสียและมลพิษต่าง ๆ ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมได้น้อยลง และมีกฎหมายบังคับให้ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดจำเป็นต้องจัดเตรียมบุคลากรในตำแหน่งนี้เอาไว้ให้พร้อม โดยบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานนั้น หมายความถึงผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ และดำเนินการเกี่ยวกับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษของโรงงาน โดยแบ่งเป็นประเภทของงานควบคุมมลพิษได้ดังนี้

โรงงานที่มีน้ำเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์
โรงงานปล่อยสารมลพิษ
  1. ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
  2. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ
  3. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ
  4. ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม

ซึ่งแต่ละตำแหน่งงานก็จะมีรายละเอียดการปฏิบัติงาน และมีภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องจัดเตรียมผู้ควบคุมมลพิษในตำแหน่งงานต่าง ๆ ดังนี้

ลำดับที่ประเภทของโรงงานประเภทของผู้ควบคุมมลพิษ
1โรงงานที่มีน้ำเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์ ที่มีปริมาณน้ำเสียตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ยกเว้นน้ำหล่อเย็น) หรือมีปริมาณความสกปรกก่อนการบำบัด (ค่า BOD เทียบกับอัตราการไหลของน้ำเสีย ตั้งแต่ 100 กิโลกรัม ต่อวันขึ้นไปผู้จัดการสิ่งแวดล้อมผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ (เพิ่มเติมเฉพาะโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศ)
2โรงงานที่ใช้สารหรือองค์ประกอบของสารโลหะ และสารพิษต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต และมีปริมาณน้ำเสียตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตร ต่อวันขึ้นไป ตัวอย่างเช่นสังกะสี แคดเมียม ไซยาไนด์ ฟอสฟอรัสในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ตะกั่ว ทองแดง บาเรียม เซเลเนียม นิเกิล แมงกานีส โครเมียม วาเลนซี สารหนู และปรอทผู้จัดการสิ่งแวดล้อมผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ (เพิ่มเติมเฉพาะโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศ)
3โรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไปโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทุกประเภทที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไปโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีโรงงานปรับคุณภาพของเสีย และสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วโรงงานอุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย กลูโคส เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 20 ตันต่อวันขึ้นไปโรงงานจัดการกากของเสียและวัตถุอันตรายทุกขนาดโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเหล็กและเหล็กกล้า ประเภทต่าง ๆโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตปูนซีเมนต์ทุกขนาดโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุงแร่หรือหลอมโลหะที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไปโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตเยื่อกระดาษ ตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไปผู้จัดการสิ่งแวดล้อมผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หมายเหตุ สามารถพิจารณาการยกเว้นไม่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ อากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษ กากอุตสาหกรรม ได้หากโรงงานไม่ก่อให้เกิดมลพิษน้ำ อากาศ หรือกากอุตสาหกรรม

โรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่าง ๆ

  1. ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ควบคุมมลพิษที่มีหน้าที่
  2. บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของโรงงาน
  3. จัดเตรียมแผนการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม และคู่มือสำหรับจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงาน
  4. เตรียมพร้อมให้เจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานตรวจสอบโรงงานได้ตลอดเวลา
  5. เป็นผู้รับรองรายงานจากผู้ควบคุมมลพิษด้านน้ำ อากาศ หรือกากพิษอุตสาหกรรม
  6. พิจารณาจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษของโรงงาน
  7. จัดทำแผนปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษที่สามารถแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม ควบคุมการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เป็นผู้รับผิดชอบแจ้งเหตุฉุกเฉินกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมทันที โดยรายงานจะต้องระบุถึงปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงสาเหตุ วิธีการแก้ไข และผลการดำเนินงาน
  8. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ อากาศ หรือกากพิษอุตสาหกรรม เป็นผู้ควบคุมมลพิษที่มีหน้าที่
  9. พิจารณาตรวจสอบชนิด ประเภทของเชื้อเพลิง และวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงงาน ประเมิน
  10. ตรวจสอบลักษณะของมลพิษ ประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
  11. ควบคุม ดูแล ปฏิบัติการตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม คู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อม และแผนการในกรณีฉุกเฉินของโรงงานให้มีประสิทธิภาพ
  12. ป้องกันไม่ให้มีการระบายมลพิษอย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
  13. จัดทำรายงานการตรวจสอบ ควบคุม ดูแลการทำงานของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ก่อนส่งให้ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมพิจารณารับรอง
  14. จัดทำรายงานปริมาณสารมลพิษตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด หรือใช้บริการจากห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง และส่งให้เจ้าของกิจการโรงงานทราบ และเก็บรักษารายงานเอาไว้
  15. เตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา
  16. ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่
  17. ปฏิบัติงานประจำเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
  18. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
  19. ควบคุม ดูแลให้ระบบดูแลสิ่งแวดล้อมทำงานได้ตลอดเวลาทำการ
  20. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมมลพิษ เพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม
  21. รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ควบคุมมลพิษทราบทันทีในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น
  22. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติการ ปัญหา และอุปสรรคที่พบในการจัดการระบบด้านสิ่งแวดล้อมให้ทราบ เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุง และแก้ไข

ซึ่งหากผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนดได้ จะต้องมีการระบุปัญหา และเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมรายงานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบภายใน 15 วันทำการ นับจากวันที่ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือเมื่อไม่ประสงค์จะรับผิดชอบงานในระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมของโรงงานนั้น ๆ แล้ว ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันที่จะไม่รับผิดชอบงานดังกล่าว ยกเว้นผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security