การตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียควรมีรายละเอียดใดบ้าง

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำเสียคืออะไร

              น้ำเสียคือน้ำที่ได้รับผลกระทบด้านคุณภาพจากการใช้งานของมนุษย์ โดยทั่วไปมีที่มาจากแหล่งน้ำเสียใหญ่ ๆ 2 แหล่งคือแหล่งชุมชนภาคครัวเรือน และจากโรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งน้ำเสียที่เกิดขึ้นจะต้องถูกส่งไปบำบัดที่โรงงานบำบัดน้ำเสีย หรือปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรืออาจมีการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการที่จะทราบได้ว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดนั้นมีคุณภาพที่ดีเพียงพอหรือไม่ก็ต้องพิสูจน์ด้วยการตรวจวัดคุณภาพน้ำให้ดีเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้

การบำบัดน้ำเสีย

น้ำเสียจากแหล่งชุมชน คืออะไร

               น้ำเสียจากแหล่งชุมชน คือน้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจําวัน หรือกิจกรรมที่เป็นอาชีพ น้ำเสียที่เกิดขึ้นมักประกอบไปด้วยเศษอาหาร และน้ำที่ผ่านการชําระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ จากครัวเรือน และอาคารสถานที่ต่าง ๆ โดยน้ำจะมีสาร หรือสิ่งปฏิกูลปนเปื้อนอยู่ ได้แก่ น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ปัญหาของน้ำเสียในลักษณะนี้มักเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของชุมชน การปนเปื้อนเหล่านี้จะส่งผลให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถนําใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ และยังทำให้เกิดมลพิษอย่างกลิ่นเหม็น และเชื้อโรคต่าง ๆ สิ่งเจือปนในน้ำเสียจากชุมชนมักประกอบด้วย สารอินทรีย์ สารเคมี ของแข็ง สารแขวนลอย น้ำมัน ไขมัน เกลือหรือแร่ธาตุต่าง ๆ และเพื่อการบําบัดที่มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นต้องตรวจวัดคุณภาพน้ำ เพื่อกำหนดมาตรการในการบำบัดอย่างเหมาะสม

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

              น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม จะมีกฎหมายกําหนดประเภทและขนาดกิจการโรงงานที่สร้างมลพิษ ซึ่งจะต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสียก่อนปล่อยออกไปยังแหล่งน้ำธรรมชาติ โรงงานอุตสาหกรรมที่มีปริมาณน้ำเสียตรงตามที่กฎหมายกําหนด จะต้องมีการบันทึกข้อมูลแสดงผลการทํางานของระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รายละเอียดตามกรมโรงงานกำหนด และหากตรวจวัดคุณภาพน้ำเสียพบไม่ตรงตามเกณฑ์ที่ทางกรมโรงงานกำหนด โรงงานอุตสาหกรรมนั้นต้องรับผิดชอบปรับปรุง แก้ไข ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบบําบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแต่ละโรงงานก็จะมีกระบวนการบำบัดน้ำเสียแตกต่างกันไปตามประเภทของสารปนเปื้อนในน้ำเสีย และปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น และยังช่วยให้เตรียมความพร้อมอย่างบ่อพักน้ำเสีย และขนาดของเครื่องจักรต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

กรรมวิธีการบำบัดน้ำเสีย

               กรรมวิธีการบำบัดน้ำเสียทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชนนั้นสามารถแยกได้ 3 ประเภท ตามรูปแบบของกระบวนการบำบัดดังนี้

  1. การบำบัดทางกายภาพ นับเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นพื้นฐานที่ใช้บำบัดน้ำเสียในขั้นต้น เพื่อให้พร้อมกับการบำบัดน้ำเสียในขั้นตอนต่อไป ได้แก่การดักขยะ หรือเศษตะกอนที่มีขนาดใหญ่ออกไป กระบวนการกำจัดคราบไขมัน และน้ำมัน กระบวนการเร่งการตกตะกอนของสารแขวนลอยต่าง ๆ โดยใช้สารเคมี และช่วยขจัดสารพิษจำพวกโลหะหนักออกไปจากน้ำเสียได้อีกด้วย รวมถึงการปรับปรุงให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเสียอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  2. การบำบัดทางชีวภาพ หากตรวจวัดคุณภาพน้ำเสียจะพบการปนเปื้อนทางชีวภาพ และจุลินทรีย์เหล่านั้นล้วนส่งผลให้คุณภาพน้ำแย่ลงได้หากมีปริมาณที่มากเกินควบคุม ระบบบำบัดทางชีวภาพจึงมักเป็นการสร้างสมดุลระหว่างเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี และเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้น้ำเสียให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้ โดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะคือบ่อบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน และบ่อบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน การเลือกใช้จะขึ้นกับคุณภาพของน้ำที่ตรวจวัดได้
  3. การกำจัดตะกอน เป็นกรรมวิธีบำบัดตะกอนที่ได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ และกระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ซึ่งตะกอนที่ได้มักจะยังมีความชื้นสูงอยู่จึงต้องกำตัดน้ำและความชื้นออกจากกากตะกอนเหล่านี้เสียก่อน เมื่อได้ตะกอนที่แห้งดีแล้วก็จะช่วยลดปริมาตรของกากตะกอนที่เกิดขึ้น กระบวนการกำจัดความชื้นสามารถใช้เครื่องจักรต่าง ๆ อย่างเครื่องอัดตะกอน เครื่องรีดตะกอน หรือเครื่องเหวี่ยงตะกอน และควรมีการตรวจวัดคุณภาพเพื่อพิจารณาว่าตะกอนเหล่านั้นมีการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตรายหรือไม่ บางแห่งอาจใช้บริการจากโรงงานกำจัดกากตะกอนของเสียโดยเฉพาะ

               อาจกล่าวได้ว่าแม้ว่าน้ำเสียจะมีคุณภาพไม่เหมาะสมกับการบริโภคหรือใช้งานทั่วไปได้ แต่การบำบัดให้น้ำเสียมีคุณภาพที่ไม่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมก็ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งกระบวนการบำบัดจะมีประสิทธิภาพที่ดีหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำเสียในกระบวนการบำบัดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และหากปัญหาในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นตอนใด ขั้นตอนนั้น ๆ ควรมีการปรับปรุงและตรวจวัดค่าต่าง ๆ ของน้ำเพื่อยึนยันประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย

               มนุษย์ทุกคนล้วนมีส่วนในการสร้างมลพิษน้ำเสียด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นการจัดการกับน้ำเสียให้สามารถตรวจวัดคุณภาพน้ำให้มีความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก แม้แต่ในบ้านเรือนของแต่ละคนก็สามารถเริ่มต้นการบำบัดง่าย ๆ อย่างการกำจัดเศษอาหารก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ หรือใช้ถังดักไขมันดักคราบไขมันบางส่วนออกไปจากน้ำทิ้ง รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security