ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม
สารบัญ

ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้

1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่

-ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ

-ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ

-ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม

2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท

4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ 3 ปี นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม อาจไม่พิจารณาต่อทะเบียนให้ ถ้าตรวจสอบพบข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขอต่อใบอายุใบทะเบียน

5. ผู้ที่สอบไม่ผ่านสามารถสมัครสอบได้ในครั้งต่อไป

6. ขั้นตอนของผู้ที่สอบผ่านการสอบมาตรฐานประเภทนั้นๆ สามารถขึ้นทะเบียนได้ตามขั้นตอนดังนี้

            *เข้าไปที่ เว็ปไซด์  ประกาศรับสมัครสอบ http://nsers.diw.go.th/Nsers

            *เลือกสมัครสอบทาง Internet และ Print ใบสมัครสอบ

            *ส่งหลักฐานการสมัครสอบ และสำเนาเอกสารการชำระเงิน จากทางธนาคารส่งไปยัง 

“ ตู้ ปณ.101 ที่ทำการไปรษณีย์เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 “

            *ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบและผังที่นั่งสอบ

            *ทำการสอบ

            *ประกาศผลสอบ

คุณสมบัติผู้สมัคร

ผู้สมัครสอบมาตรฐานผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ต้องมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1.ผู้สมัครสอบมาตรฐานผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ต้องสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำในระดับวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ)

2.ผู้สมัครสอบมาตรฐานผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเงื่อนไขดังนี้

-สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือ สาขาวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) สาขาสิ่งแวดล้อม

-สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือ วิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ) สาขาใดๆที่มีวิชาเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ ซึ่งวิชาที่สามารถนำมานับหน่วยกิตได้ต้องเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ อากาศ และกากอุตสาหกรรม เท่านั้น

-สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) หรือ วิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ) สาขาใดๆ ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษจากหน่วยงานฝึกอบรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรองเท่านั้น

**กรณีที่ผู้สมัครสอบ มีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อกำหนดทั้ง 2 ข้อดังกล่าวข้างต้น ไม่มีสิทธิ์สมัครสอบเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ**

-ข้าราชการกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบไม่มีสิทธิ์สมัครสอบ

-ผู้ที่สมัครสอบ ต้องมีใบสำเร็จการศึกษาที่ระบุวันที่จบสมบูรณ์แล้วเท่านั้น และในกรณีที่ฝึกอบรม ต้องมีใบรับรองการฝึกอบรมแล้วเท่านั้น

**หากใบสำเร็จการศึกษายังไม่ได้ระบุวันที่จบ หรือในกรณ๊ฝึกอบรม ยังไม่มีใบรับรองมาสามารถสมัครสอบเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้**

ในโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ไว้คอยดูแล ปฏิบัติหน้าที่ ตรวจสอบคุณภาพทางมลพิษเพื่อได้ตามมาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดไว้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ต้องได้รับการสอบ และได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎของกระทรวงอุตสาหกรรม


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสีย งานทำความสะอาดบ่อพักน้ำเสีย ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม โดยมีใบอนุญาตบุคลากรตามที่กฎหมายกำหนด ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภท
2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท
4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ 3 ปี นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม อาจไม่พิจารณาต่อทะเบียนให้ ถ้าตรวจสอบพบข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขอต่อใบอายุใบทะเบียน
5. ผู้ที่สอบไม่ผ่านสามารถสมัครสอบได้ในครั้งต่อไป
6. ขั้นตอนของผู้ที่สอบผ่านการสอบมาตรฐานประเภทนั้นๆ

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

ขยะอันตราย

การจัดการขยะอันตรายสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineขยะอันตราย หรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม วิธีง่าย

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security