พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined Space คือ
สถานที่ที่มีทางเข้าออกอย่างจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติน้อย ส่งผลให้อาจมีออกซิเจนไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย อย่างการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษ หรือไวไฟ ตัวอย่างสถานที่ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่อับอากาศได้แก่ถังน้ำมัน ถ้ำ ถังหมักปุ๋ย ไซโลชนิดต่าง ๆ ห้องที่ทางเดินที่อยู่ใต้ดิน ท่อ ถัง บ่อ อุโมงค์ เตา ภาชนะหรือโครงสร้างอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ ซึ่งหากพิจารณาว่าเป็นพื้นที่อับอากาศก็ควรเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศที่ทางเข้าออกมีจำกัดมักส่งผลให้การช่วยเหลือทำได้ยากและลำบาก
ล้างพื้นที่อับอากาศมีความจำเป็นหรือไม่ ทำไมต้องล้างพื้นที่อับอากาศ
อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะทำให้ยาก แต่การล้างทำความสะอาดพื้นที่อับอากาศก็ยังมีความสำคัญและจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ โดยเหตุผลที่ทำให้งานล้างพื้นที่อับอากาศมีความจำเป็นนั้นมีดังต่อไปนี้
- ความสะดวกในการทำงาน เนื่องจากในพื้นที่อับอากาศมักเกิดความเสี่ยงที่จะมีการสะสมของเศษวัสดุต่าง ๆ อยู่ภายในได้ง่าย เพราะช่องทางการเคลื่อนไหวมีจำกัด ซึ่งเมื่อเศษวัสดุเหล่านี้สะสมไปนาน ๆ ก็จะส่งผลให้กลายเป็นสิ่งกีดขวางกระบวนการภายในพื้นที่อับอากาศได้
- สุขอนามัยที่ดี แม้จะเป็นพื้นที่อับอากาศที่มีทางเข้าออกจำกัด ก็ยังมีโอกาสที่จะมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ อย่างฝุ่นละออง ก๊าซ หรือไอน้ำเสียเข้ามาสะสมให้เกิดความสกปรก เกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำงานล้างพื้นที่อับอากาศเพื่อขจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้
- เพื่อรักษาคุณภาพ วัตถุดิบหลายชนิดที่ต้องเก็บในพื้นที่อับอากาศมักต้องการสภาวะพิเศษ เช่นแป้งในไซโลจะต้องอยู่ในสภาพแห้ง เพื่อรักษาคุณภาพไม่ให้เกิดเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชที่จะเข้ามาเจริญเติบโต จำเป็นต้องมีการควบคุมความชื้น และอุณหภูมิให้ได้ จึงต้องล้างทำความสะอาดเพื่อลดสิ่งสกปรกที่ไปอุดตันทางระบายอากาศต่าง ๆ ให้หมดไป
- ยืดอายุการใช้งาน ภายในพื้นที่อับอากาศหลายประเภทนั้นจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นไซโลเก็บข้าวเปลือกที่ต้องมีปั๊มไว้ช่วยขับเคลื่อนข้าวเปลือกไปใช้งาน หรือภายในบ่อบำบัดน้ำเสียที่จะต้องมีเครื่องเติมออกซิเจน ซึ่งหากไม่มีการปฏิบัติงานล้างพื้นที่อับอากาศก็มีโอกาสที่เครื่องจักรเหล่านี้จะทำงานผิดปกติ หรือเสียหายได้
- รักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี หากไม่ล้างทำความสะอาดพื้นที่อับอากาศก็อาจทำให้ภายในพื้นที่เกิดการสะสมของตะไคร่น้ำ หรือก๊าซที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ จึงนำเป็นความจำเป็นที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
เหตุผลที่งานล้างพื้นที่อับอากาศมีอันตราย
- พื้นที่คับแคบยากต่อการเคลื่อนไหว เมื่ออยู่ในพื้นที่จำกัดก็จะทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ยาก ทำให้การล้างทำความสะอาดในพื้นที่อับอากาศต้องอาศัยทักษะพิเศษ หรืออุปกรณ์เฉพาะ และควรผ่านการฝึกอบรมให้ความรู้อย่างเหมาะสม
- การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศมักทำได้อย่างจำกัด สารทำความสะอาดหลายชนิดมักมีกลิ่นแรง หรือหากความเข้มข้นไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตามผิวหนังได้ จึงต้องทำความสะอาดอย่างระมัดระวัง
- เครื่องจักรที่อยู่ในพื้นที่อับอากาศจะเคลื่อนย้ายลำบาก เกิดแรงกระแทกได้ง่าย ไฟฟ้ารั่ว และเกิดประกายไฟ การใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี และเพิ่มความระมัดระวังสูงจึงควรทำโดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในงานล้างพื้นที่อับอากาศเป็นอย่างมาก
- อันตรายจากปริมาณออกซิเจนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ต้องไม่ลืมว่าออกซิเจนในพื้นที่อับอากาศนั้นมีจำกัด ดังนั้นจึงต้องมีการจำกัดและควบคุมจำนวนคนที่จะเข้ามาล้างทำความสะอาด และควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทำความสะอาดที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
- ความเสี่ยงหากโครงสร้างยุบตัว หรือพังทลาย อุบัติเหตุในพื้นที่อับอากาศหลายครั้งเกิดจากการมีเศษวัสดุตกหล่นใส่ อาจเนื่องมาจากโครงสร้างภายในพื้นที่อับอากาศเกิดความเสียหาย หรือเศษวัสดุต่าง ๆ ภายในพื้นที่อับอากาศหลุดร่วงลงมา ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานล้างพื้นที่อับอากาศจึงควรมีความพร้อมในการสวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม
ผู้ปฏิบัติงานล้างทำความสะอาดพื้นที่อับอากาศจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตัวให้เหมาะสม
เมื่อทราบถึงอันตรายต่าง ๆ ภายในพื้นที่อับอากาศแล้ว ผู้ปฏิบัติงานล้างทำความสะอาดพื้นที่อับอากาศจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตัวให้เหมาะสม ดังนี้
- ตรวจสอบสภาพร่างกายให้พร้อมกับการปฏิบัติงาน ควรมีสุขภาพร่างกาย และภาวะจิตใจที่ปกติ ไม่มีอาการกลัวที่มืด ที่แคบหรือกลัวความสูง
- อุปกรณ์การทำงาน และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลควรมีสภาพเหมาะสมในทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
- ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนปฏิบัติงานต้อมีความปลอดภัย ควรมีออกซิเจนมากกว่า 19.5% หรือไม่เกิน 23.5% ผู้ปฏิบัติงานควรมีอุปกรณ์ตรวจวัดอากาศก่อนและจบการทำงาน
- ตรวจสอบว่าพื้นที่อับอากาศมีสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือไม่ เพื่อเตรียมการป้องกันและรับมือก่อนทำงานล้างพื้นที่อับอากาศอย่างถูกวิธี
- เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นในพื้นที่อับอากาศ ควรรีบช่วยเหลือผู้บาดเจ๊บด้วยการนำตัวออกมาจากพื้นที่อับอากาศให้เร็วที่สุด และผู้ช่วยเหลือควรมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตเพื่อป้องกันอันตรายกับตนเองด้วย
- แต่งกายด้วยอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ชุด Safety แว่นตากันสารพิษ หมวกนิรภัย ถุงมือป้องกันสารเคมี ถังอากาศ และเข็มขัดป้องกันการตกจากที่สูง (ถ้าจำเป็น)
- ผู้ปฏิบัติงานควรทราบภาษามือที่จำเป็น เพื่อให้สื่อสารกับผู้อื่นได้ตลอดเวลา อย่างการการชูนิ้วชี้ขึ้น แสดงว่าผู้ปฏิบัติงานมีสติดีอยู่ แต่หากนิ้วชี้ตกลง แสดงว่ามีคนหมดสติ หรือจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถใช้งานในพื้นที่อับอากาศให้พร้อม
เพราะแม้ว่าภายในพื้นที่อับอากาศจะมีอันตราย แต่งานล้างพื้นที่อับอากาศก็มีความจำเป็นที่ทำให้งานในพื้นที่อับอากาศมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินในขณะที่อยู่ภายในพื้นที่อับอากาศได้ตลอดเวลา