การเตรียมความพร้อมเมื่อต้องทำงานพื้นที่อับอากาศ

ทำงานในที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined space คือ

สถานที่ที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานหลายด้าน แต่เนื่องจากหลายพื้นที่ก็ไม่สามารถหฃีกเลี่ยงลักษณะของการเป็นพื้นที่ Confined space ได้ เกิดเป็นความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ยิ่งในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ความจำกัดของพื้นที่จะทำให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงต้องเรียนรู้ถึงอันตายต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่ลักษณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

ทำงานในที่อับอากาศ

อันตายต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่อับอากาศ

  1. ภาวะขาดออกซิเจน
    สาเหตุที่ผู้ปฏิบัติงานมักเสียชีวิตในพื้นที่อับอากาศนั่นก็คือการที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอกับการมีชีวิต ซึ่งพื้นที่ลักษณะนี้โดยมากจะมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่า 19.5 % นั่นเอง ซึ่งหากออกซิเจนถูกแทนที่ด้วยก๊าซบางชนิดอย่างมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ หรือไนโตรเจนก็อาจทำให้เกิดการระเบิด กัดกร่อน หรือทำให้เหล็กเกิดสนิมได้ง่ายอีกด้วย
  2. ความเสี่ยงต่อการเผาไหม้
    พื้นที่อับอากาศมักมีความเสี่ยงที่จะจุดติดไฟ และการระเบิดได้ง่าย เพราะก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟและระเบิดได้ จะไม่สามารถถูกระบายออกไปได้ เมื่อเกิดการสะสมจนก๊าซติดไฟมีความเข้มข้นสูงก็จะมีโอกาสที่จะติดไฟหรือระเบิดได้ง่าย (LEL)
  3. สารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    เมื่อมีค่าความเข้มข้นของสารเคมีบางชนิดสะสมมากเกินไปก็จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานได้ โดยสารพิษหลายชนิดนั้นไม่สามารถมองเห็นหรือได้กลิ่น จึงเกิดความเสี่ยงที่ผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสโดยไม่รู้ตัว ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดอันตรายได้ 2 แบบ คืออาการระคายเคือง ตามผิวหนัง และเกิดปัญหาการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หรือระบบประสาท ซึ่งหากรุนแรงก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  4. อันตรายทางกายภาพ
    เมื่อมีการทำงานหรือใช้เครื่องจักรในพื้นที่อับอากาศก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้มากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติงานมักจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก เมื่อมีวัตถุใดตกหล่นลงมาก็จะยากที่จะหลีกหนีหรือหลบเลี่ยงได้ หรือผู้ปฏิบัติงานอาจตกจากที่สูงเมื่อเคลื่อนย้ายร่างกายไม่ถูกวิธีได้ มีโอกาสที่จะมีกระแสไฟรั่วไหลทำให้ผู้ปฏิบัติงานถูกดูดช็อตได้ง่าย หรือเมื่อมีเหงื่อออกมามากเมื่ออากาศถ่ายเทไม่สะดวกก็ยิ่งง่ายต่อการลื่นไถลเมื่อเดินหรือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ยิ่งมีแสงสว่างน้อย ๆ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายทางกายภาพได้มากยิ่งขึ้น

ความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ


เมื่อมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานี้ง่ายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศอย่างรอบคอบ และพิจารณาถึงอันตรายต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ดังมีรายละเอียด ดังนี้

  1. การตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบว่ามีสารที่เป็นอันตาย หรือมีปริมาณของออกซิเจนอยู่ในพื้นที่เป็นอย่างไร เพื่อหาวิธีการจัดการให้สภาพอากาศอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยมากที่สุด
  2. จัดเตรียมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อไม่สามารถคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ควรมีการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นเอาไว้ล่วงหน้า เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของคนที่จะให้ความช่วยเหลือ ซึ่งควรผ่านการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม มีผู้ควบคุมดูแลการเข้า – ออกในพื้นที่อับอากาศตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานที่สูญหาย หรือเป็นอันตรายโดยที่ผู้ควบคุมงานไม่ทราบ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานให้พร้อมอยู่เสมอ มีอุปกรณ์สำหรับช่วยชีวิตที่เหมาะสม ตรงตามลักษณะการปฏิบัติงาน และสามารถช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที
  3. ความพร้อมของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อน ฝุ่นละอองปริมาณมาก การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดให้มีการเดินสายไฟฟ้าในสถานที่อับอากาศด้วยวิธีการที่ปลอดภัย ไม่มีการรั่วไหลหรือฉีกขาดได้ง่าย
  4. การจัดเตรียมผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสม สามารถอบรมสอนงานให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์ป้องกัน และคุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  5. กำหนดข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ รวมถึงการจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นให้ชัดเจน และมองเห็นได้ตลอดเวลา
  6. ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ทราบถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงานควรทราบถึงวิธีการทำงาน วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และวิธีการการอพยพออกจากพื้นที่เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
  7. การจัดเตรียมถังดับเพลิงให้มีจำนวนเพียงพอ และมีความพร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
  8. การทำงานในพื้นที่อับอากาศนั้นควรมีผู้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 3คน แบ่งตามหน้าที่คือผู้ควบคุมงาน ซึ่งควรผ่านการฝึกอบรมเรื่องการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงาน และทีมงานที่คอยดูแลด้านความปลอดภัย

               อย่างไรก็ตามเมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันในพื้นที่อับอากาศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทั้งอุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ มาเป็นอย่างดดี การตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ หรือจัดเตรียมอุปกรณ์ให้แสงสว่างได้อย่างเหมาะสม และมีแสงสว่างที่มากเพียงพอ รวมถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินจึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะเหตุไม่คาดฝันอาจใช้เวลาในการเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที แต่ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security