ผู้ควบคุมมลพิษคือใคร มีความสำคัญอย่างไร

ผู้ควบคุมมลพิษคือใคร มีความสำคัญอย่างไร

ผู้ควบคุมมลพิษ คือ

               ผู้ควบคุมมลพิษ คือผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการจัดการและดูแลมลพิษที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่นี้จำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดกสนกับมลพิษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยสามารถแบ่งตามประเภทของมลพิษที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

  1. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ
  2. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ
  3. ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายหรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือ สิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม กำหนด
โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายหรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

               โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายหรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือ สิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม กำหนด คุณสมบัติของผู้ควบคุม ผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545 ในกฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุประเภทและขนาดของโรงงานที่จะต้องมีผู้ควบคุมมลพิษ ประเภทใดบ้าง

               อย่างไรก็ดีการเป็นผู้ควบคุมมลพิษนั้นจะมีคุณสมบัติตรงตามกับที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดด้วย โดยจะต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกับหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมทดสอบด้วย โดยแบบทดสอบจะแบ่งประเภทของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษเป็น 3 ประเภทตามที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วขั้นต้น ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งแสดงว่าคนผู้นั้นสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งอขงผู้ควบคุมระบบมลพิษได้ การสอบเป็นผู้ควบคุมระบบมลพิษสามารถสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท นอกจากนี้ผู้ควบคุมระบบมลพิษยังต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุก ๆ 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ซึ่งการพิจารณาอนุมัติจะขึ้นกับดุลยพินิจของกรมโรงอุตสาหกรรม ขึ้นกับข้อบกพร่องที่พบในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมมลพิษ กรณีที่ทดสอบไม่ผ่าน ผู้สนใจจะเป็นผู้ควบคุมมลพิษยังสามารถสมัครสอบในครั้งต่อไปได้ และ              

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำ อากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมนั้นมีดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาตรวจสอบชนิด ประเภทของเชื้อเพลิงและวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีการใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงาน
  2. ทำการประเมินและตรวจสอบลักษณะของมลพิษที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน รวมถึงพิจารณาประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล และปฏิบัติตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม คู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงาน และแผนการฉุกเฉินของโรงงานให้มีประสิทธิภาพ ติดตามป้องกันไม่ให้มีการปล่อยมลพิษผ่านทางลัด หรือช่องทางใด ๆ ที่ทำให้มลพิษแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม
  4. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบ งานควบคุม กำกับ ดูแลการทำงานของระบบบำบัดและป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เพื่อส่งให้ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมพิจารณา
  5. จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณและชนิดของสารที่ก่อให้เกิดมลพิษว่าจรงตามเกณฑ์ และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด การตรวจวิเคราะห์ต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมอนุมัติ ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อทราบผลการตรวจวิเคราะห์แล้วจะต้องทำการเก็บรักษาเอาไว้ เพื่อให้พร้อมจะส่งมอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบได้ตลอดเวลา
  6. หากผู้ควบคุมมลพิษไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนดได้ จะต้องมีบันทึกที่ระบุปัญหาและเหตุผลเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรายงานไปที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 15 วันทำการ นับจากวันที่ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามความรับผิดชอบที่กำหนด
  7. เมื่อผู้ควบคุมมลพิษไม่ประสงค์จะรับผิดชอบระบบป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้ ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าด้วยเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่จะไม่ดำเนินการอย่างงน้อย 7 วัน

               ในปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การจัดการกับมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดการที่ดีนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม และผู้คนที่พักอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ แล้ว หลายครั้งยังส่งผลดีต่อกระบวนการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จึงช่วยประหยัดปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ภายในโรงงานได้เป็นอย่างดี การจัดการอากาศที่ดียังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย และการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ดียังช่วยให้สามารถนำบางส่วนมาใช้ในการ Recycle จึงช่วยลดความจำเป็นในการซื้อหาทรัพยากร และยังประหยัดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้การตรวจประเมินและควบคุมอย่างสม่ำเสมอของผู้ควบคุมมลพิษจะช่วยให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ และเพื่อให้ผู้ควบคุมมลพิษสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สามารถควบคุมและบำบัดมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้ตรงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม ทดสอบ และขึ้นทะเบียนตามแนวทางที่กรมโรงงานกำหนด นอกจากนี้ทางโรงงานยังต้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งรวมถึงแผนการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันอย่างการเกิดเพลิงไหม้ เกิดเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล หรือการฟุ้งกระจายของสารเคมี เป็นต้น รวมถึงดำเนินการผึกอบรมและฝึกซ้อมตามความจำเป็นหรือตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม เกิดความพร้อมที่จะจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ดีที่สุด


ผู้ควบคุมมลพิษ คือ

ผู้ควบคุมมลพิษคือใคร มีความสำคัญอย่างไร

คือผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการจัดการและดูแลมลพิษที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำ อากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมนั้นมีดังต่อไปนี้

1. พิจารณาตรวจสอบชนิด ประเภทของเชื้อเพลิงและวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีการใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงาน
2. ทำการประเมินและตรวจสอบลักษณะของมลพิษที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน
3. ดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล และปฏิบัติตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม
4. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบ งานควบคุม กำกับ ดูแลการทำงานของระบบบำบัดและป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
5. จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณและชนิดของสารที่ก่อให้เกิดมลพิษว่าจรงตามเกณฑ์ และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด
6. หากผู้ควบคุมมลพิษไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนดได้ จะต้องมีบันทึกที่ระบุปัญหาและเหตุผลเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
7. เมื่อผู้ควบคุมมลพิษไม่ประสงค์จะรับผิดชอบระบบป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้ ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าด้วยเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่จะไม่ดำเนินการอย่างงน้อย 7 วัน


สนใจใช้บริการกับทาง Siammat ด้านบริการที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมมลพิษ

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security