รูปแบบระบบเติมน้ำใต้ดินมีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไร

น้ำใต้ดิน

               น้ำใต้ดิน คือ น้ำที่ถูกกักเก็บเอาไว้ระหว่างช่องว่างของเม็ดแร่ ดินและหิน ซึ่งน้ำอาจไม่ลักษณะไม่อิ่มตัวหากช่องว่างที่กักเก็บไว้มีการเคลื่อนไหวระหว่างน้ำและอากาศมักเรียกว่าน้ำในดิน หรือ Soil Water แต่หากน้ำที่อยู่ใต้ดินอยู่ลึกลงไปมากจนอยู่ระหว่างช่องว่าง รอยแตกหรือโพรงของชั้นหินมักเรียกว่าน้ำบาดาล หรือ Ground Water ซึ่งหินที่โอบอุ้มน้ำที่อยู่ภายใต้ดินในลักษณะนี้มักมีลักษณะเป็นหินอุ้มน้ำเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ น้ำในบริเวณลักษณะอิ่มตัว แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมโดยรอบ หรือที่เรียกว่าวัฎจักรของน้ำระหว่างไอน้ำ น้ำบนดิน และน้ำที่อยู่ใต้ดินนั่นเอง

               อย่างไรก็ดีบางครั้งน้ำใต้ดินอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างผิดปกติ อาจเนื่องมาจากมีการดึงไปใช้งานมากผิดปกติ หรือเกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่องนานหลายปี เกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องนำระบบเติมน้ำใต้ดินมาใช้แก้ไขปัญหาน้ำที่อยู่ใต้ดิน โดยวัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเติมน้ำที่ชั้นใต้ดินนั้นได้แก่

  1. ฟื้นฟูและแก้ไขระดับน้ำที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาระดับน้ำที่อยู่ใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือเกิดภัยแล้งยาวนานมาหลายปี
  2. บรรเทาปัญหาอุทกภัย เป็นวิธีการแก้ปัญหาวิกฤ๖น้ำหลากในช่วงฤดูมรสุม โดยกักเก็บน้ำที่ท่วมล้นในช่วงที่เกิดอุทกภัยมากักเก็บเอาไว้ที่ชั้นใต้ดินแทน เพื่อให้กลายเป็นแหล่งน้ำทดแทนในช่วงที่น้ำเกิดปัญหาขาดแคลน
  3. ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม เป็นปัญหาที่พบได้ในบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล เมื่อน้ำใต้ดินที่เป็นน้ำจืดมีน้อยมากกว่าน้ำเค็ม ก็อาจจะถูกน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามา ส่งผลให้น้ำในบริเวณดังกล่าวกลายสภาพเป็นน้ำกร่อย ซึ่งส่งผลเสียร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว จำเป็นต้องมีการเติมน้ำเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
  4. รักษาสมดุลน้ำในพื้นที่บริเวณต่าง ๆ การที่น้ำที่อยู่ใต้ดินลดระดับลงนอกจากจะส่งผลเสียต่อการใช้น้ำของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แล้ว ยังส่งผลต่อแรงดันที่อยู่ภายใต้ชั้นดิน และระดับของชั้นผิวดินโดยตรง จึงต้องเติมน้ำเพื่อรักษาสมดุลระหว่างน้ำและดินให้คงอยู่ตลอดไป

               อย่างไรก็ดีการเติมน้ำลงไปที่ชั้นใต้ดิน จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนมาเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถรักษาระดับน้ำได้อย่างพอดี มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องยาวนาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยการสำรวจลักษณะพื้นที่ในบริเวณที่ต้องการจัดระบบเติมน้ำใต้ดินมาเป็นอย่างดีด้วย เพราะปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติมน้ำนั้น ได้แก่

  • ลักษณะของชั้นหินหรือชั้นดินที่อุ้มน้ำ
  • ลักษณะภูมิประเทศ
  • คุณสมบัติของดินและหิน
  • การใช้ประโยชน์ในพื้นดินบริเวณดังกล่าว
  • ความต้องการในการใช้น้ำ

               รูปแบบของระบบเติมน้ำใต้ดินที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

  1. การเติมผ่านบ่อน้ำบาดาลระดับลึก เป็นการส่งแรงอัดน้ำให้กักเก็บในชั้นบาดาลระดับลึก จุดประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามที่ต้องการ
  2. การเติมผ่านบ่อน้ำบาดาลเพื่อใช้ในบริเวณอื่น คล้ายกับระบบเติมน้ำใต้ดินระบบแรก แต่จะเป็นการกักเก็บเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่บริเวณอื่นแทน
  3. การเติมน้ำผ่านสระหรือบ่อที่เตรียมเอาไว้ สระจะต้องถูกออกแบบมาแล้วว่าเหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ ขนาดของสระมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเติมน้ำ พื้นดินที่เป็นตะกอนดินทรายจะช่วยให้การเติมน้ำทำได้เร็วขึ้น ปริมาณและคุณภาพน้ำต้องมีความเหมาะสมจึงจะสามารถใช้ในการเติมน้ำได้
  4. ระเบียงเติมน้ำ เป็นระบบเติมน้ำใต้ดินที่ใช้วัสดุพรุนน้ำมาทำเป็นร่องคูน้ำ ซึ่งเมื่อได้รับน้ำที่เติมเข้ามาก็จะถูกซึมผ่านลงชั้นใต้ดินด้วยแรงโน้มถ่วง เป็นวิธีที่ใช้พื้นที่และค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย
  5. การเติม และบำบัดน้ำผ่านชั้นดินและชั้นหินอุ้มน้ำ เป็นการหมุนเวียนน้ำที่ผ่านระบบบำบัดอย่างเหมาะสมแล้ว โดยปล่อยน้ำให้ซึมผ่านสระกักเก็บที่เตรียมไว้ มีการอาศัยชั้นดินและชั้นหินในการกรองและปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ไหลลงใต้ดินเพิ่มเติม บางครั้งน้ำที่ซึมลงไปจะถูกสูบขึ้นมาใช้งานใหม่ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพให้ดีก่อนนำมาใช้งานด้วย
  6. ฝายเติมน้ำ เป็นการกักเก็บน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินให้สามารถซึมผ่านลงไปสู่ชั้นใต้ดิน ซึ่งระบบเติมน้ำใต้ดินวิธีดังกล่าวต้องมีปริมาณน้ำตามธรรมชาติที่เพียงพอ ชั้นหิมอุ้มน้ำในพื้นที่ดังกล่าวควรมีคุณสมบัติให้น้ำซึมผ่านได้ดี น้ำผิวดินบริเวณดังกล่าวควรมีลักษณะไหลล้น หรือเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะลาดชัน
  7. การเก็บเกี่ยวน้ำฝน ในฤดูน้ำหลากที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมขังให้พื้นที่ อาจแก้ไขและหาทางกักเก็บน้ำที่มากผิดปกติเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในภายหลังด้วยการทำบ่อน้ำตื้น หรือหลุมที่บรรจุกรวดหรือทรายเอาไว้ เพื่อให้เกิดการซึมผ่านลงสู่ชั้นใต้ดิน
  8. การระบายจากแหล่งกักเก็บน้ำ เป็นระบบเติมน้ำใต้ดินที่ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งอัตราการปล่อยน้ำต้องสัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่ซึมผ่าชั้นผิวดินเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
  9. การเติมน้ำผ่านบ่อแห้ง มักทำในลักษณะของบ่อน้ำตื้นและปล่อยให้น้ำซึมผ่านชั้นดินด้วยแรงโน้มถ่วง ซึ่งบ่อจะช่วยให้น้ำผ่านเข้าสู่ชั้นบาดาลได้ง่ายและเร็วขึ้นจึงต้องมีการควบคุมคุณภาพน้ำให้ดี
  10. เขื่อนใต้ดิน เป็นการสร้างอ่างกักเก็บน้ำเอาไว้ที่ชั้นใต้ดิน มีการทำผนังขวางเส้นทางการไหลของน้ำบาดาล เพื่อเพิ่มระดับน้ำ แต่ต้องอาศัยการออกแบบทางโครงสร้างที่มั่นคงเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มลพิษดินและ น้ำใต้ดิน

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security