ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบปรับอากาศในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสถานการณ์ในช่วงปัจจุบัน มาทบทวน อัตราการนำเข้าของอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในและความดันสัมพันธ์ กันเถอะ
อัตราการนำเข้าของอากาศภายนอก อัตราการหมุนเวียนอากาศภายและความดันสัมพันธ์
ลำดับ | สถานที่ | อัตราการนำเข้าอากาศภายนอก ไม่น้อยกว่า จำนวนเท่าของปริมาตรห้อง ต่อ ชั่วโมง | อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในห้อง ไม่น้อยกว่า จำนวนเท่าของปริมาตรห้อง ต่อ ชั่วโมง | ความดันสัมพันธ์ กับพื้นที่ข้างเคียง |
1 | ห้องผ่าตัด | 5 | 25 | สูงกว่า |
2 | ห้องคลอด | 5 | 25 | สูงกว่า |
3 | ห้อง Nursery | 5 | 12 | สูงกว่า |
4 | ห้องอภิบาลผู้ป่วยพนัก (ICU) | 2 | 6 | สูงกว่า |
5 | ห้องตรวจรักษาผู้ป่วย | 2 | 6 | สูงกว่า |
6 | ห้องฉุกเฉิน (Trauma Room) | 5 | 12 | สูงกว่า |
7 | บริเวณพักคอย สำหรับแผนกผู้ป่วยนอกและห้องฉุกเฉิน | 2 | 12 | ต่ำกว่า |
8 | ห้องพักผู้ป่วย | 2 | 6 | สูงกว่า |
9 | ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ | 2 | 12 | ต่ำกว่า |
10 | ห้องแยกผู้ป่วยปลอดเชื้อ | 2 | 12 | สูงกว่า |
11 | ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) | 2 | 6 | ต่ำกว่า |
12 | ห้องชันสูตรศพ | 2 | 12 | ต่ำกว่า |
แหล่งที่มา : วสท.031001-59 : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
เพิ่มเติมสำหรับห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ดังนี้
- ระบบด้านลมปรับอากาศและระบายอากาศห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ต้องแยกอิสระโดยเด็ดขาด จากส่วนอื่นๆ ของอาคาร
- ห้ามต่อท่อลมระบายอากศทิ้งจากห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศกับท่อลมอื่นๆ ของอาคาร
- การควบคุมการไหลของอากาศ
-
- เพื่อให้อากาศไหลเข้าห้อง เมื่อมีรอยรั่ว ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ต้องมีความดันภายในห้องเป็นลบ หรือต่ำกว่าบริเวณข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.5 ปาสกาล และต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบความดัน ที่ประตูทางเข้าห้อง
- ห้ามออกแบบห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ที่สามารถปรับความดันให้เป็นบวกได้ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
- ประตูห้องต้องเป็นแบบที่ปะเก็นโดยรอบ เพื่อลดการรั่วซึมขณะปิดประตู
- เพื่อช่วยสนับสนุนห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ประตุห้องควรมี 2 ชั้น เพื่อสร้างให้เกิดโถงขนาดเล็กกับห้องผู้ป่วย ต้องเปิดเข้าห้องผู้ป่วย