ข้อดีข้อเสียของการใช้ถังเก็บน้ำใต้ดิน

น้ำใต้ดิน

               ถังเก็บน้ำใต้ดิน ถือเป็นวิธีการจัดการน้ำรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างเป็นอย่างมาก เพราะน้ำคือทรัพยากรสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพราะเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกประเภท รวมทั้งมนุษย์ด้วย ซึ่งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการกักเก็บน้ำสมัยใหม่ ทำให้ภาวะคลาดแคลนน้ำเกิดขึ้นได้ยากขึ้น แต่ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งปัญหาการขาดแคลนน้ำก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ จึงเกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น ซึ่งการใช้ถังสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ใต้ดินก้เป็นอีกวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ประเภทของถังเก็บน้ำใต้ดินโดยทั่วไปมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

  1. ถังเก็บน้ำแบบคอนกรีต มักมีรูปแบบไม่แน่นอนสามารถปรับขึ้นรูปได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีความแข็งแรงทนทาน สามารถกักเก็บน้ำได้ในปริมาณมาก ๆ
  2. ถังเก็บน้ำแบบพลาสติก มักประกอบขึ้นจากพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความคงทน แข็งแรง ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย ตัวถังสามารถรองรับแรงกด และแรงกระแทกได้ดี

ข้อดีของถังเก็บน้ำใต้ดิน

  1. เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก เพราะเมื่อถังบรรจุน้ำถูกนำไปเก็บเอาไว้บริเวณใต้ดินย่อมส่งผลให้พื้นที่หน้าดินยังว่าง สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
  2. อุณหภูมิน้ำในถังเก็บค่อนข้างคงที่ ในกรณีของถังเก็บน้ำที่อยู่บนผิวดินมักต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด สภาพอากาศที่แปรปรวน เผชิญพายุฝนฟ้าคะนอง หรือลมแรง ๆ ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำในแต่ละช่วงวันมีความแตกต่างกันมาก หลายครั้งอาจทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงจนยากต่อการนำไปใช้งาน แต่เมื่ออยู่ใต้ดินปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำค่อนข้างคงที่

ข้อเสียของถังเก็บน้ำใต้ดิน

  1. การติดตั้งค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน เนื่องจากถังเก็บน้ำประเภทนี้จำเป็นต้องทำการขุดผิวดิน เพื่อฝังตัวถังเก็บน้ำลงไปใต้ดิน ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมผิวดินค่อนข้างนาน ยิ่งเป็นถังเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ รองรับน้ำที่มีน้ำหนักมาก ๆ ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมฐานรากของพื้นที่รองรับถังให้แข็งแรงมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ใช้เวลาในการติดตั้งนานมากขึ้นเท่านั้น
  2. การดูแลรักษาทำได้ยาก แม้ว่าถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดินจะเป็นถังสำหรับจัดเก็บน้ำสะอาด แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษา และทำความสะอาดอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำที่จัดเก็บอยู่ในถังจะยังคงมีคุณภาพดีตลอดการใช้งาน โดยเฉพาะถังเก็บน้ำใต้ดินที่ทำจากคอนกรีตที่แม้จะแข็งแรงทนทาน แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาดินทรุดในบริเวณที่ติดตั้งถังเก็บน้ำเอาไว้ เกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำระบบกันซึมเพื่อป้องกันปัญหาเอาไว้ด้วย

               อย่างไรก็ดีถังกักเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นบนดินหรือใต้ดินก็ล้วนมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาตามอายุการใช้งานด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงนอกเหนือจากข้อดีข้อเสียของถังเก็บน้ำที่เลือกใช้งานแล้วยังควรพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้เพิ่มเติม

  1. ปริมาณน้ำที่ใช้งาน เนื่องจากถังเก็บน้ำคืออุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้งานเพื่อกักเก็บน้ำให้ดเพียงพอกับการใช้งาน ดังนั้นการเลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานจึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก โดยปริมาณการใช้น้ำของแต่ละคนเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 200 ลิตรต่อวันต่อคน ขนาดของถังเก็บน้ำใต้ดินจึงต้องนำปริมาณนี้ไปรวมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว และจำนวนวันที่ต้องการสำรองน้ำเอาไว้ให้เพียงพอ ตัวอย่างเช่นกรณีในบ้านมีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 4 คน ก็จะมีความจำเป็นในการใช้น้ำต่อวันอยู่ที่ 200 x 4 หรือก็คือ 800 ลิตร เมื่อต้องการเก็บน้ำเอาไว้ใช้สำรองอย่างน้อย 10 วัน ถังเก็บน้ำก็ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 800×10 หรือเท่ากับ 8,000 ลิตรนั่นเอง
  2. การรักษาคุณภาพของน้ำที่จัดเก็บ คุณภาพของน้ำจะสัมพันธ์กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้ประกอบเป็นถังน้ำใต้ดิน โดยมีหลักการพิจารณาและคำนึงถึงความปลอดภัย ดังนี้
  3. วัสดุประกอบถังมีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ต้องปราศจากการปนเปื้อนของสารพิษอย่างตะกั่ว ปรอทและโลหะหนัก
  4. การเลือกถังเก็บน้ำที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือมีคุณภาพในระดับ Food Grade สามารถนำน้ำที่จัดเก็บในถังไปประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัย
  5. การเลือกถังเก็บน้ำใต้ดินจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต โดยเทคนิคการประกอบถังเก็บน้ำแบบที่เรียกว่า Compounding หรือนำความร้อนสูงมาทำให้เกิดแรงดันบีบอัดเนื้อสีให้ผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับเม็ดพลาสติก ทำให้สีไม่หลุดลอกเมื่อสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน ๆ น้ำที่เก็บเอาไว้จึงไร้สารปนเปื้อน
  6. ถังเก็บน้ำแบบทึบแสง แสงคือองค์ประกอบสำคัฯที่ตะไคร่น้ำใช้ในการเจริญเติบโต ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำใต้ดินแต่ก็ควรทำจากวัสดุที่ทึบแสงเพื่อป้องกันการเกิดตะไคร้น้ำที่ส่งผลต่อโรคในระบบทางเดินอาหารและโรคผิวหนังได้

               เมื่อทราบเทคนิคและรายละเอียดของถังเก็บน้ำใต้ดินตามที่กล่าวมาแล้ว เชื่อว่าผู้ที่สนใจคงสามารถเลืกใช้งานถังเก็บน้ำได้เหมาะสมกับการใช้งาน และลักษณะพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งได้เป็นอย่างดีแล้ว และสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยคือการรักษาความสะอาดของถังเก็บน้ำ เพราะจะส่งผลต่อสุขภาพและอนามัยของผู้ใช้งานน้ำที่กักเก็บเอาไว้โดยตรงอีกด้วย


สนใจ Siammat บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม กำจัดกากอุตสาหกรรม และ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มลพิษดินและ น้ำใต้ดิน

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security