ฝุ่นเจ้าปัญหา ภาค 1

ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 กลายเป็นมลพิษอากาศ (Air Pollution) ที่ก่อให้เกิดปัญหาเป็นวงกว้างกลายเป็นปัญหาระดับชาติไปเสียแล้ว เจ้าฝุ่นนี้สามารถผ่านเข้าไปในปอด (Respirable-sized particles) จะสะสมจนทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้

ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 กลายเป็นมลพิษอากาศ (Air Pollution)  ที่ก่อให้เกิดปัญหาระดับชาติไปเสียแล้ว การแก้ไขดูยากเสียเหลือเกิน กุมขมับแป๊บ!!! งั้นวันนี้แอดขอบรรยายลักษณะและโทษของฝุ่นเจ้าปัญหา ให้ฟังอีกครั้งหนึ่งว่าทำไมจะต้องตื่นตัว และ Part ต่อไป แอดจะนำเสนอเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันนะคะ อย่าลืมติดตามชมกันค่ะ

ลักษณะของฝุ่น (Particulate Matter Characteristic)

ฝุ่น เป็นอนุภาคที่ฟุ้งกระจายในอากาศ เกิดจากการบด ตี ทุบ กระแทก หรือทำให้แตกด้วยความร้อนของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ฝุ่นเป็นอนุภาคที่มีขนาดตั้งแต่ 0.1 – 100 ไมครอน โดยทั่วไปมักนิยมแบ่งอนุภาคออกเป็น 3 ช่วงขนาด คือ ฝุ่นละอองแขวนลอยรวม (Total Suspended Particulate: TSP) มีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน, ฝุ่นละอองที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ (Respirable dust)  มีขนาดตั้งแต่ 10 ไมครอน (PM10) และฝุ่นละอองที่มีขนาดตั้งแต่ 2.5 ไมครอน (PM2.5) ลงไป

ลองนึกภาพถึงเส้นผมของคนเรา   โดยเฉลี่ยผมจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 ไมครอน ซึ่งใหญ่กว่าอนุภาคละเอียดมากกว่า 30 เท่า (US:EPA)

PM2.5 เป็นอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดจาก ควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน และนอกจากนี้ ก๊าซ SO2 NOx และ สาร VOC จะทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดฝุ่นละเอียดนี้ได้

ฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถผ่านเข้าไปในปอด (Respirable-sized particles) จะสะสมจนทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้นั้น คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดตั้งแต่ 10 ไมครอน (PM10) ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพนั้น จะขึ้นกับปัจจัย 4 ประการ แต่ละปัจจัยก็จะมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่

  1. ชนิดของอนุภาคที่ได้รับ
  2. ระยะเวลาที่ได้รับ (ปี)
  3. ความเข้มข้นของอนุภาคในบรรยากาศ
  4. ขนาดของอนุภาคที่ได้รับ

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เมื่อหายใจเข้าไปในปอดจะเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่ได้รับฝุ่น PM10 ในระดับหนึ่งจะทำให้เกิดโรค Asthma และฝุ่น PM 2.5 ในบรรยากาศ จะมีความสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอดที่เข้ามารักษาที่ห้องฉุกเฉิน เพิ่มอาการของโรคทางเดินหายใจ ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด และเกี่ยวโยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหืดหอบ และเด็กจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าปกติด้วย จากการศึกษาพบว่าฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานครมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยโดยมีระดับความรุนแรงใกล้เคียงกับผลการศึกษาจากเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยระดับของฝุ่นละอองขนาดเล็กอาจทำให้คนในเขตกรุงเทพมหานคร ตายก่อนเวลาอันควร ถึง 4,000 – 5,000 ราย ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังพบว่าการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (นพภาพร และคณะ, 2547)

เหตุผลอีกอย่างหนึ่งคือ เนื้อเยื่อปอด มีคุณสมบัติดูดซึมได้ดี ปอดของคนเรามีพื้นที่ประมาณ 55-75 ตารางเมตร ในขณะที่ผิวหนังของคนมีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางเมตร เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าสู่ปอดแล้ว อาจเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะติดค้างอยู่ที่ปอด ทำให้เกิดอันตรายบริเวณนั้น ฝุ่นละอองนอกจากเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจแล้ว อาจเข้าสู่ร่างกายได้โดยการกินและดูดซึมทางผิวหนังได้อีกด้วย (ประมุข, 2529 – 2530)

ฟังดูแล้ว รู้สึกปอดเริ่มผิดปกติ (ด้วยความกังวล) ขึ้นมาทันที..เรามาหาทางป้องกันตัวเองกันต่อไปนะคะ…

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security